ทำไมเราถึงอ้วน?

คนส่วนใหญ่มักคิดว่า ความอ้วน เกิดจากกรรมพันธุ์ จริงอยู่ที่ว่า กรรมพันธุ์เป็นส่วนหนึ่งที่เป็นปัจจัยส่งเสริมให้อ้วนได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว โรคอ้วนมักเกิดจากพฤติกรรมของคนเราเองเสียมากกว่า คือ กินมากเกินไป ไม่ค่อยออกกำลังกาย ซึ่งมีส่วนน้อยที่อาจเกิดจากการที่มีฮอร์โมนผิดปกติ หรือกินยากลุ่มเสตียรอยด์ และยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุของโรคอ้วนได้ ดังนี้

ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของโรคอ้วน

1. กิจวัตรประจำวัน: ในปัจจุบันคนส่วนใหญ่ทำงานในออฟฟิศมากกว่างานที่ใช้แรง ทำให้การใช้พลังงานในแต่ละวันลดน้อยลง บางคนกินอาหารหนักมื้อเย็น บ้างก็ใช้เวลากับงานทั้งวัน กินจุกจิก และขาดการออกกำลังกาย 2. เพศ: เพศหญิงมีโอกาสอ้วนมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากผู้ชายมีกล้ามเนื้อมาก ทำให้เกิดการเผาผลาญพลังงานมากกว่า 3. อายุ: เมื่ออายุมากขึ้น มวลกล้ามเนื้อจะน้อยลง ระบบเมตาบอลิซึ่มของร่างกายน้อยลง ทำกิจกรรมต่างๆ ลดลง ทำให้มีการใช้พลังงานน้อย พลังงานจึงถูกเก็บในของรูปไขมันแทน

ภาวะเจ็บป่วยทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการมีน้ำหนักเกินและโรคอ้วน Cushing’s syndrome (พบได้น้อย เป็นผลมาจากการที่ต่อมหมวกไตผลิตฮอร์โมน cortisol มากเกินไป มีการผลิตฮอร์โมน cortisol จากเซลล์ที่ผิดปกติส่วนอื่นของร่างกาย หรือได้รับฮอร์โมน cortisol จากภายนอก) การขาด Growth hormone (ขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโต) Hypogonadism (มีภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ) Hypothyroidism (ฮอร์โมนthyroidต่ำ) Insulinoma (เนื้องอกบริเวณตับอ่อนที่มีผลต่อการหลั่งอินซูลิน)


ยาที่ก่อให้เกิดโรคอ้วน

ยาบางอย่างมีผลทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น โดยมากมักจะเพิ่มความอยากอาหารและก่อให้เกิดโรคอ้วน ได้แก่ ยารักษาโรคเบาหวานบางชนิด หากพบว่ามีภาวะน้ำหนักเกินอาจปรับเปลี่ยนยาเป็นกลุ่มอื่นหรืออาจจำเป็นต้องใช้
Thiazolidinediones (Actos และ Avandia)
Steroids
ยาคุมกำเนิดบางชนิด
ยารักษาโรคจิตเวช และอาการซึมเศร้า ได้แก่ lithium, antipsychotics และ antidepressants
ยากันชัก (ใช้รักษาโรคลมชัก epilepsy และภาวะอื่นๆ) เช่น sodium valproate และ carbamazepine

อาจมียาทดแทนอื่นๆที่ไม่ทำให้น้ำหนักเพิ่มหรืออาจลดปริมาณยาที่กินลง โดยคำแนะนำของแพทย์ ไม่ควรหยุดหรือลดยาด้วยตัวคุณเอง