10 พฤติกรรม “กิน” ที่ทำลายสุขภาพมากที่สุด

สุขภาพที่ดี เริ่มต้นจากอาหารที่ดี แต่หากเรามีพฤติกรรมการกินที่ไม่ดี ก็อาจส่งผลเสียต่อร่างกายของเราได้อย่างชัดเจน เพราะฉะนั้นเรามาเช็กกันดีกว่าว่าที่เรากินอยู่ทุกวันนี้ เป็นพฤติกรรมการกินที่กำลังทำลายสุขภาพของเราอยู่หรือเปล่า

10 พฤติกรรม “กิน” ที่ทำลายสุขภาพมากที่สุด

  1. “กินคาวตามด้วยหวาน” แม้ว่าโบราณจะบอกว่ากินคาวไม่กินหวานสันดานไพร่ แต่อันที่จริงแล้วไม่จำเป็นต้องกินของหวานหลังกินข้าวเสมอไป โดยเฉพาะการกินของหวานหลังข้าวทุกมื้อ สามารถกินของหวานได้ แต่อย่ามากจนเกินไป
  2. “ไม่มันไม่กิน” เนื้อสัตว์ต้องชุ่มฉ่ำด้วยไขมันเพื่อให้ได้รสสัมผัสที่นุ่มลิ้น การติดกินอาหารมันทำให้อ้วนได้ไม่รู้ตัว ลองกินเนื้อสัตว์ที่มีไขมันต่ำ เช่น ไก่ (ไม่กินหนัง) และปลาดูบ้าง
  3. “ติดปรุง” สั่งอาหาร ไม่ทันได้ชิม ก็ราดน้ำปลา สาดน้ำตาล รดน้ำส้มจนติดมือ ควรลองกินอาหารโดยไม่ปรุง หรือปรุงเพิ่มให้น้อยที่สุดดูบ้าง เพราะส่วนใหญ่แม่ครัวพ่อครัวเขาก็ปรุงมาให้แล้วทั้งนั้น
  4. “กินแต่อาหารสะดวกซื้อ” ความรีบเร่งไม่มีเวลาของชาวเมือง อาจทำให้เราซื้ออาหารสำเร็จรูป หรืออาหารแช่แข็งมารับประทานกันอยู่บ่อยๆ อันที่จริงแล้วอาหารเหล่านี้มักมีคุณค่าทางสารอาหารน้อยกว่าอาหารปรุงสดใหม่ๆ และยังมีปริมาณโซเดียมเยอะอีกด้วย
  5. “ชอบอย่างไร ก็จะกินอย่างนั้น” การกินแต่อาหารที่ชอบซ้ำๆ ทำให้ร่างกายของเราได้รับแต่สารอาหารเดิมๆ ซ้ำๆ ไม่หลากหลาย และไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  6. “ไม่กินผักผลไม้” การไม่กินผักผผลไม้ ทำให้ได้รับวิตามิน และเกลือแร่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย รวมไปถึงขาดกากใยอาหารที่จะช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีอีกด้วย
  7. “ไม่กินอาหารเช้า” อาหารทั้ง 3 มื้อสำคัญต่อร่างกายไม่ใช่แค่ในตำรา มื้อเช้าช่วยให้เราทำกิจกรรมในตอนเช้าได้อย่างดี ทั้งเรียน ทำงาน
  8. “ติดเครื่องดื่ม” เครื่องดื่มอื่นๆ มักมีส่วนผสมของน้ำตาล หากเราติดเครื่องดื่มเป็นประจำทุกวัน อาจทำให้เราได้รับพลังงานมากเกินไปในแต่ละวันจนทำให้เสี่ยงโรคอ้วน หรือไขมันอุดตันเส้นเลือดได้
  9. “ติดแอลกอฮอล์” แอลกอฮอล์เป็นตัวการร้ายที่ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม ดังนั้นจึงไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป 
  10. “กินอาหารสุกๆ ดิบๆ” อาหารสุกๆ ดิบๆ เสี่ยงพยาธิ และเชื้อโรคต่างๆ ที่ไม่ได้ถูกกำจัด หรือฆ่าให้ตายด้วยความร้อน ดังนั้นควรปรุงอาหารให้สุกก่อนกินทุกครั้ง


นอกจากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการกินให้ถูกต้องแล้ว ควรออกกำลังกายเป็นประจำ พักผ่อนให้เพียงพอ และตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพื่อคอยเช็กสุขภาพอยู่ตลอด เมื่อมีความผิดปกติจะได้ตรวจพบ และรีบรักษาได้อย่างทันท่วงที

กิน “วิตามิน” พร้อมอาหาร VS ตอนท้องว่าง ให้ผลต่างกัน ?

วิตามินมีอยู่ 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ละลายในน้ำกับละลายในไขมัน วิธีการกินวิตามิน ทั้ง 2 แบบนี้ก็ต้องมีวิธีกินที่แตกต่างกันแน่นอน จึงจะให้ผลเริ่ดที่สุด มาดูกันดีกว่าว่ากินยังไงกันบ้าง


วิตามินกลุ่มละลายในไขมัน

วิตามินเอ ช่วยในเรื่องของระบบสายตา และเสริมสร้างเนื้อเยื่อ

วิตามินอี ซึ่งดูแลเรื่องเม็ดเลือดแดงและผิวหนัง แต่นอกจากวิตามินยอดฮิตทั้ง 2 แบบ ยังมีวิตามินอื่น ๆ อยู่ในกลุ่มนี้ด้วย นั่นคือวิตามินดี และเค การกินวิตามินเอและอี รวมถึงวิตามินตัวอื่น ๆ ที่ละลายได้ดีในไขมัน ควรกินหลังอาหารจะดีที่สุด เนื่องจากจะสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดีกว่าการกินในช่วงท้องว่าง

วิตามินเหล่านี้ส่วนใหญ่มักจะอยู่ในรูปแคปซูลนิ่ม (Soft Gelatin Capsule) เมื่อกลืนเข้าไป เปลือกแคปซูลนิ่มจะแตก วิตามินก็จะละลายไปกับไขมันในอาหารแล้วดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย

วิตามินเสริมอย่าง Co Q10 ก็ควรกินหลังอาหาร เนื่องจากจะสามารถดูดซึมได้ดีขึ้น พร้อมกับไขมันในอาหารที่คุณรับประทานเช่นกัน


วิตามินกลุ่มละลายในน้ำ

วิตามินซี ที่สาว ๆ ชอบทานเผื่อให้ผิวดูสดใสเปล่งปลั่ง ยังช่วยป้องกันไข้หวัดได้ด้วย จะกินช่วงไหนของวันก็ได้ แต่ควรกินในเวลาเดียวกันอย่างสม่ำเสมอในทุก ๆ วัน จะได้ผลมากที่สุด

วิตามินบีรวม วิตามินบีมีอยู่หลายชนิด แต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติต่างกันออกไป เช่น วิตามินบี 1 ช่วยบำรุงประสาท วิตามินบี 2 ช่วยบำรุงผิวพรรณ วิตามินบี 3 ช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอล และดูแลเรื่องระบบย่อยอาหาร วิตามินบี 5 ช่วยให้ลดความตึงเครียด วิตามินบี 9 หรือกรดโฟลิก ช่วยชะลอการหงอกของเส้นผมและบำรุงผิวพรรณ ฯลฯ ซึ่งเราควรกินวิตามินบีรวมโดยไม่แยกชนิด เพราะจะออกฤทธิ์ได้ดีกว่า ส่วนเวลาในการกินนั้นควรเป็น 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมงก่อนอาหาร เพราะร่างกายจะดูดซึมไปใช้ได้ทีที่สุด

สารสกัดจากเมล็ดองุ่น หรือ Grape Seed สามารถกินพร้อมน้ำเปล่าเวลาไหนก็ได้ แต่ควรเป็นเวลาเดียวกันกับที่กินในทุก ๆ วัน

ทำไมเราถึงอ้วน?

คนส่วนใหญ่มักคิดว่า ความอ้วน เกิดจากกรรมพันธุ์ จริงอยู่ที่ว่า กรรมพันธุ์เป็นส่วนหนึ่งที่เป็นปัจจัยส่งเสริมให้อ้วนได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว โรคอ้วนมักเกิดจากพฤติกรรมของคนเราเองเสียมากกว่า คือ กินมากเกินไป ไม่ค่อยออกกำลังกาย ซึ่งมีส่วนน้อยที่อาจเกิดจากการที่มีฮอร์โมนผิดปกติ หรือกินยากลุ่มเสตียรอยด์ และยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุของโรคอ้วนได้ ดังนี้

ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของโรคอ้วน

1. กิจวัตรประจำวัน: ในปัจจุบันคนส่วนใหญ่ทำงานในออฟฟิศมากกว่างานที่ใช้แรง ทำให้การใช้พลังงานในแต่ละวันลดน้อยลง บางคนกินอาหารหนักมื้อเย็น บ้างก็ใช้เวลากับงานทั้งวัน กินจุกจิก และขาดการออกกำลังกาย 2. เพศ: เพศหญิงมีโอกาสอ้วนมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากผู้ชายมีกล้ามเนื้อมาก ทำให้เกิดการเผาผลาญพลังงานมากกว่า 3. อายุ: เมื่ออายุมากขึ้น มวลกล้ามเนื้อจะน้อยลง ระบบเมตาบอลิซึ่มของร่างกายน้อยลง ทำกิจกรรมต่างๆ ลดลง ทำให้มีการใช้พลังงานน้อย พลังงานจึงถูกเก็บในของรูปไขมันแทน

ภาวะเจ็บป่วยทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการมีน้ำหนักเกินและโรคอ้วน Cushing’s syndrome (พบได้น้อย เป็นผลมาจากการที่ต่อมหมวกไตผลิตฮอร์โมน cortisol มากเกินไป มีการผลิตฮอร์โมน cortisol จากเซลล์ที่ผิดปกติส่วนอื่นของร่างกาย หรือได้รับฮอร์โมน cortisol จากภายนอก) การขาด Growth hormone (ขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโต) Hypogonadism (มีภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ) Hypothyroidism (ฮอร์โมนthyroidต่ำ) Insulinoma (เนื้องอกบริเวณตับอ่อนที่มีผลต่อการหลั่งอินซูลิน)


ยาที่ก่อให้เกิดโรคอ้วน

ยาบางอย่างมีผลทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น โดยมากมักจะเพิ่มความอยากอาหารและก่อให้เกิดโรคอ้วน ได้แก่ ยารักษาโรคเบาหวานบางชนิด หากพบว่ามีภาวะน้ำหนักเกินอาจปรับเปลี่ยนยาเป็นกลุ่มอื่นหรืออาจจำเป็นต้องใช้
Thiazolidinediones (Actos และ Avandia)
Steroids
ยาคุมกำเนิดบางชนิด
ยารักษาโรคจิตเวช และอาการซึมเศร้า ได้แก่ lithium, antipsychotics และ antidepressants
ยากันชัก (ใช้รักษาโรคลมชัก epilepsy และภาวะอื่นๆ) เช่น sodium valproate และ carbamazepine

อาจมียาทดแทนอื่นๆที่ไม่ทำให้น้ำหนักเพิ่มหรืออาจลดปริมาณยาที่กินลง โดยคำแนะนำของแพทย์ ไม่ควรหยุดหรือลดยาด้วยตัวคุณเอง

วิธีการดูแลสุขภาพ

วิธีการดูแลสุขภาพกับ 5 วิธี ทำตามแล้วเปลี่ยนชีวิตเลย

สุขภาพที่ดีใคร ๆ ก็อยากมี แต่วิถีการใช้ชีวิตในปัจจุบันมีสิ่งยั่วยุต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นอาหารการกิน การเสพสื่อโซเชียล ไม่ค่อยมีเวลาออกกำลังกาย สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นต้นเหตุที่ทำให้สุขภาพของเราทรุดโทรมทั้งนั้น ดังนั้นผมจึงมีวิธีสร้างสุขภาพดีง่าย ๆ ที่อยากบอกต่อ ซึ่งหากคุณสาว ๆ ได้ทำตามล่ะก็ รับรองเลยว่า สุขภาพจะดีขึ้นแน่นอน

1. การเลือกรับประทานอาหาร

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า อาหารเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญต่อร่างกาย การจะเกิดผลดีหรือผลเสียนั้น ขึ้นอยู่กับการเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสม เพราะร่างกายจะนำไปพัฒนาและซ่อมแซมในส่วนต่าง ๆ ควรลดอาหารที่มีแคลอรีสูง ของทอด ปิ้ง-ย่าง หรืออาหารที่มีไขมันเยอะ เพราะหากร่างกายเผาผลาญไม่หมดก็จะกลายเป็นไขมันสะสมในร่างกายในที่สุด ทางที่ดีควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ในปริมาณที่เหมาะสม เลือกรับประทานแต่อาหารที่มีประโยชน์

2. บริหารสมอง

การบริหารสมองก็เป็นอีกวิธีที่จะช่วยเสริมสร้างสุขภาพที่ดีได้ ลองหาเกมฝึกสมองมาเล่น เช่น เกมอักษรไขว้ เกมจำตำแหน่งภาพ เกมจับผิด เกมซูโดกุ หรือเกมหมากรุกจีน เป็นต้น ควรหันมารับประทานผลไม้พวก ส้ม องุ่น เบอร์รี่ให้มากขึ้นด้วย เพราะผลไม้จำพวกนี้มีสารช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดอาการหลง ๆ ลืม ๆ ได้ หรือการหัวเราะก็ช่วยให้เลือดไหลเวียนดียิ่งขึ้น เพราะร่างกายจะหลั่งสารเคมีในระบบประสาทที่ทำให้ผ่อนคลาย ซึ่งจะส่งผลดีทั้งร่างกาย จิตใจ อีกทั้งคนรอบข้างก็จะมีความสุขตามไปด้วย

3. พักสายตาจากการเสพสื่อโซเชียล

ทุกวันนี้ไม่ว่าจะหันไปทางไหนหรือทำอะไรก็ต้องถ่ายรูป แชร์ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ไม่ให้พลาดเหตุการณ์สำคัญ ๆ ซึ่งถ้าใช้ในปริมาณที่เหมาะสมก็จะให้ผลดีแก่เรา แต่ถ้าใช้มากเกินไปนอกจากจะทำให้เป็นคนติดโซเชียลแล้ว ยังอาจทำให้กล้ามเนื้อดวงตาเมื่อยล้า หรือตาแห้งเพราะต้องคอยจ้องอยู่ที่หน้าจอเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดอาการเบลอ สายตาพร่ามัว หรือสายตาสั้นได้ ทางที่ดีควรพักสายตา และบริหารดวงตาของเราด้วย เช่น กระพริบตา กลอกตาไปมาเพื่อป้องกันตาแห้ง หรือมองไปยังวัตถุที่อยู่ไกล ก็จะช่วยให้ผ่อนคลายดวงตาลงได้ และถ้าลดโซเชียลลงบ้าง ก็จะทำให้ไม่ต้องเครียดจากการเสพข่าว สุขภาพจิตดีขึ้น

4. ออกกำลังกาย

การออกกำลังกายนอกจากจะได้สุขภาพที่ดี เพราะอวัยวะภายในร่างกายจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังทำให้เรามีภูมิต้านทานห่างไกลโรคภัยต่าง ๆ สุขภาพจิตก็ดีตามไปด้วย ควรออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาทีหลังเลิกงาน ลองเดินออกกำลังกายที่สวนสาธารณะใกล้บ้านก็ได้ หรือจะวิ่ง จะแอโรบิค ก็ล้วนแต่ทำให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดีทั้งนั้น แต่หากใครไม่มีเวลาออกกำลังกายจริง ๆ งานบ้านก็อาจจะช่วยได้เหมือนกัน เช่น ทำสวน กวาดบ้าน ถูบ้าน ล้างรถ ก็ถือเป็นการออกกำลังกายไปในตัว ทั้งยังทำให้บ้านสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อยอีกด้วย

5. พักผ่อนให้เพียงพอ

เมื่อทำกิจวัตรต่าง ๆ ในแต่ละวันเสร็จเรียบร้อยแล้ว การพักผ่อนที่ดีที่สุด คือ การนอน เพราะร่างกายจะได้ซ่อมแซมฟื้นฟูได้อย่างเต็มที่ ควรนอนให้ครบ 8 ชั่วโมงและนอนให้เป็นเวลา เพราะหากนอนดึกเกินไป ร่างกายอาจเหนื่อยล้าได้ อีกทั้งยังมีผลเสียตามมา เช่น มีริ้วรอย เสี่ยงต่อโรคภัยต่าง ๆ ทางที่ดีควรพักผ่อนให้เพียงพอ เมื่อตื่นขึ้นมารับวันใหม่ ร่างกายจะได้สดชื่นและตื่นตัวตลอดทั้งวัน สุขภาพร่างกายก็จะดีตามไปด้วย

เห็นไหม แค่วิธีง่าย ๆ แค่นี้ก็ทำให้คุณมีสุขภาพที่ดีขึ้นได้แล้ว อาจจะต้องใช้ความพยายามสักหน่อย อาจรู้สึกฝืนตัวเองสักนิดในช่วงแรก แต่รับรองได้เลยว่า ความพยายามไม่ศูนย์เปล่าแน่นอน ถือเป็นกำไรเสียด้วยซ้ำ!

ลดน้ำหนักอย่างไรให้ได้ผลดี?

การลดน้ำหนักที่ได้ผลดีที่สุด คือ การควบคุมอาหารควบคู่ไปกับการออกกำลังกาย หากทำเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งมักไม่ได้ผลดี ซึ่งการควบคุมอาหาร ที่แนะนำ คือ กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ลดปริมาณในแต่ละมื้อลง โดยเฉพาะมื้อเย็น ควรกินเป็นอาหารเบาๆ พลังงานต่ำ ไม่ควรอดอาหารเป็นมื้อๆ เพราะจะทำให้หิวและกินมากขึ้นในมื้อต่อไป

แนะนำใช้หลัก “หนักเช้า เบาเที่ยง เลี่ยง(หนัก)เย็น” ควรเน้นกินผัก เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เลือกกินอาหารที่ใช้วิธีนึ่ง ต้ม อบ แทนการผัดหรือทอด และหลีกเลี่ยงอาหารที่ให้พลังงานสูง เช่น ไขมัน และน้ำตาล เช่น น้ำผลไม้ น้ำอัดลม น้ำหวาน ไอศครีม ช็อคโกแลต ขนมหวานต่างๆ ผลไม้หวานจัด เป็นต้น

ในการควบคุมอาหารในปัจจุบัน มีหลากหลายวิธีให้ทำตาม ซึ่งทางที่ดีควรคำนวณปริมาณพลังงานที่ใช้ต่อวัน แล้วกำหนดสัดส่วนอาหารที่จะกินในแต่ละมื้อร่วมกับออกกำลังกาย ซึ่งการออกกำลังกายในคนอ้วน ควรเป็นการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยครึ่งชั่วโมงต่อวัน แต่จะให้ได้ผลดีควรออกกำลัง 1 – 1 ½ ชั่วโมงทุกวัน หากน้ำหนักมาก ควรหลีกเลี่ยงการวิ่ง หรือกระโดด ซึ่งจะทำให้กิดปัญหาเรื่องข้อเข่า ข้อเท้าได้

สิ่งที่ไม่ควรทำเพื่อลดน้ำหนัก

1.อดอาหาร: การอดอาหารทำให้น้ำหนักลดลงในช่วงแรกเร็ว เนื่องจากการขาดน้ำ แต่ในความเป็นจริงปริมาณไขมันสะสมในร่างกายไมได้ลดลงด้วยเลย ซึ่งในทางตรงกันข้าม หากกลับมากินอาหารเหมือนเดิม จะทำให้น้ำหนักเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมด้วย

2.กินยาลดความอ้วน: ยาลดความอ้วน ทำให้ความอยากอาหารลดลง ยาลดความอ้วนบางชนิดมีการผสมสารที่เป็นอันตรายเพื่อกระตุ้นร่างกายให้เพิ่มการใช้พลังงาน ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง และหัวใจขาดเลือด หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ จนถึงเสียชีวิตได้ โดยภาพรวมยาลดอ้วนนั้นมีอันตรายมากกว่าประโยชน์ที่ได้รับ ดังนั้นจึงไม่ควรใช้ยาลดความอ้วนโดยไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลรักษาของแพทย์อย่างใกล้ชิด

อ้วนแล้วส่งผลเสียอะไรบ้าง?

การมีน้ำหนักตัวมากเกินไปหรือปล่อยให้อ้วนนั้น ส่งผลเสียหลายอย่างทั้งด้านร่างกายและจิตใจ มีการศึกษาว่าภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตก่อนวัยอันควรมากกว่า 3 ล้านคน โดยตัวอย่างของโรคและภาวะผิดปกติที่ปัจจัยเสี่ยงจากการมีน้ำหนักเกินเกณฑ์ ก็เช่น

1.โรคข้อและกระดูก: ส่วนที่พบบ่อย คือ ข้อเข่าและข้อเท้าเสื่อม เพราะข้อต้องรับน้ำหนักมาก ทำให้ข้อเสื่อมก่อนวัยอันควรได้ อีกทั้งมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเก๊าท์มากขึ้นด้วย

2.โรคต่อมไร้ท่อ: คนที่อ้วนลงพุง (เอวใหญ่กว่า 35.5 นิ้ว ในเพศชาย และ 31.5 นิ้วในเพศหญิง) มีโอกาสเกิดโรคเบาหวานและไขมันในเลือดสูงมากขึ้น ผู้หญิงที่อ้วนมาก อาจมีประจำเดือนผิดปกติ มีเลือดระดูออกปริมาณมาก หรือประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ เนื่องจากการแปรปรวนของสมดุลฮอร์โมนเพศในร่างกาย ส่วนใหญ่เด็กหญิงที่มีน้ำหนักมากมักมีประจำเดือนครั้งแรกมักมาเร็วกว่าเด็กวัยเดียวกัน

3.โรคหัวใจและหลอดเลือด: คนที่อ้วนลงพุงมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง หลอดเลือดหัวใจ และหลอดเลือดสมอง โดยเฉพาะผู้ที่มีไขมันชนิด LDL และ ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ไขมันชนิดดี (HDL)ต่ำ ความดันโลหิตสูงและน้ำตาลในเลือดสูงโรคเบาหวาน

4.โรคระบบหายใจ: คนอ้วนอาจมีปัญหานอนกรน เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หรือ Obstructive sleep apnea ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน จึงเกิดอาการง่วงซึมในเวลากลางวัน และหากปล่อยไว้เป็นเวลานานก็จะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและโรคปอดได้

5.โรคผิวหนัง: มีโอกาสติดเชื้อราได้ง่าย มักพบบริเวณขาหนีบหรือรอยพับของผิวหนัง นอกจากนี้ยังมีโอกาสเกิดเส้นเลือดขอดตามขาได้ด้วย

6.โรคมะเร็ง: ความอ้วนมีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งในอวัยวะบางส่วนของร่างกาย เช่น มะเร็งเยื่อบุมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อลูกหมาก มะเร็งหลอดอาหาร หรือมะเร็งปอดในผู้ที่ไม่สุบบุหรี่ เป็นต้น

7.โรคนิ่วในถุงน้ำดี: มีความเสี่ยงในการเกิดโรคนิ่วในถุงน้ำดีและถุงน้ำดีอักเสบติดเชื้อมากขึ้น

8.มีปัญหาทางจิตใจและสังคม: มีปมด้อยเกี่ยวกับรูปร่าง เคลื่อนไหวร่างกายไม่สะดวก ไม่กระฉับกระเฉง อาจถูกล้อเลียนจากคนรอบข้าง หรือขาดโอกาสในการทำงานบางอย่าง

โรคอ้วน

ความอ้วน ถือเป็นการแสดงความสมบูรณ์ของอาหารการกิน รวมถึงความเป็นอยู่หรือฐานะของแต่ละบ้านในสมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบันอาจไม่ได้หมายความในแบบนั้นแล้ว เพราะอาหารต่างๆ ก็หาซื้อได้ง่ายขึ้น ประกอบกับสังคมบริโภคนิยมที่สนับสนุนการบริโภคที่เกินความจำเป็น โดยวัดความเจริญที่ปริมาณการบริโภค คือ คนบริโภคมากก็มีความสุขมาก

แต่ยิ่งกว่านั้นคือ พฤติกรรมของคนเราเองด้วยที่มักจะเลือกความรวดเร็วและสะดวกสบายต่อการใช้ชีวิต ทำให้อาหารสำเร็จรูปต่างๆ เป็นที่นิยมอยู่ไม่ขาดสาย ซึ่งอาหารสำเร็จรูปมักประกอบด้วยแป้งและไขมันเป็นจำนวนมากหรือที่เรียกว่า อาหารขยะ (junkfood)นั่นเอง นอกจากพฤติกรรมการบริโภคแล้ว การขาดการออกกำลังกายก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ส่งเสริมให้เป็นโรคอ้วนกันมากขึ้นด้วย

อ้วนหรือไม่ วัดได้จากอะไร?

ปัจจุบันมีการใช้การวัดค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI) เป็นเกณฑ์ประกอบการวินิจฉัยโรคอ้วน ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมแพร่หลาย ที่องค์การอนามัยโลกรับรอง

BMI คือ ค่าที่ได้มาจากการหารน้ำหนักซึ่งวัดเป็นกิโลกรัม ด้วยความสูงที่วัดเป็นเมตร ยกกำลังสอง ดังสูตร BMI = น้ำหนัก / (สูง)2 หน่วยเป็น กิโลกรัม/ตารางเมตร (Kg/m2)

ตารางประเมินค่าดัชนีมวลกาย (BMI)

ดัชนีมวลกายปกติของคนเอเชีย คือ 18.5 – 22.9 Kg/m2 ถ้ามากกว่านี้ ถือว่าเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน และโรคอื่นๆ อีกหลายชนิด

ดัชนีมวลกาย ส่วนใหญ่มักใช้เพื่อดูแนวโน้มการเป็นโรคอ้วนของประชากรโดยรวม หรือใช้เพื่อคัดสรรหาคนเป็นโรคอ้วนเบื้องต้น หากต้องการตรวจสุขภาพอย่างละเอียด จำเป็นต้องมีมาตรวัดอื่นประกอบด้วย เช่น วัดเส้นรอบเอว เป็นต้น

การรักษาโรคอ้วน

1. ในกรณีมีค่า BMI มากกว่า 27 Kg/m2 หรือมีโรคแทรกซ้อนที่รุนแรง แพทย์อาจให้ยาช่วยลดน้ำหนัก ซึ่งมีอยู่ 2 กลุ่ม ได้แก่
ยาที่ทำให้รู้สึกอิ่มนานขึ้น
ยาที่ลดการดูดซึมไขมันจากอาหาร
ยาทั้งสองมีผลข้างเคียง และการใช้ยาต้องอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์

2.ในกรณีมีค่า BMI มากกว่า 35 Kg/m2 หรือมีโรคแทรกซ้อนที่รุนแรง อาจรักษาโดยการผ่าตัดให้กระเพาะอาหารเล็กลง ทำให้ผู้ป่วยกินอาหารได้น้อยลงในแต่ละมื้อ รู้สึกอิ่มเร็วขึ้น น้ำหนักจึงลดลง แต่ก็ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารไปตลอดชีวิต

สรุป ในปัจจุบันอัตราคนเป็นโรคอ้วนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสาเหตุของโรคส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมการกิน และขาดการออกกำลังกาย แต่ก็มีปัจจัยอื่น ที่สามารถส่งผลให้เป็นโรคนี้ได้เช่นกัน ในปัจจุบันมีการใช้เกณฑ์ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นตัววัดเบื้องต้นว่ามีภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกินมาตรฐานหรือไม่ โดยค่าน้ำหนักหารด้วยส่วนสูงยกกำลังสอง สำหรับการรักษาโรคอ้วนนั้น ส่วนใหญ่จะเน้นให้ควบคุมอาหาร เลือกประเภทอาหาร และออกกำลังกาย แต่สำหรับผู้ที่มีภาวะอ้วนรุนแรงหรือมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคอ้วน อาจมีการใช้ยาหรือการผ่าตัดร่วมด้วย แต่ทางที่ดีที่สุด ก็คือพยายามควบคุมน้ำหนักตัวด้วยตัวเอง ดังนั้น ในคนอ้วน หรือคนที่รู้ตัวแล้วว่าน้ำหนักกำลังมากเกินไปแล้ว ก็ต้องคอยเฝ้าระวัง ดูแลเรื่องอาหาร และหมั่นออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนักให้ดี อย่าปล่อยให้เกิดปัญหาแล้วค่อยมาแก้ไขทีหลัง

เมนูอาหาร ไม่เกิน 150 แคลอรี่

เราจัดเมนูอาหาร ที่ปริมาณแคลอรี่ไม่เกิน 150 เพื่อให้คนที่รักสุขภาพ ต้องการลดน้ำหนัก อยากพุงยุบ ลองเลือกทานดู แล้วแต่ชอบนะ ส่วนข้าวมือเย็นแนะนำให้กินไม่เกิน 200-300 แคลอรี่

1.สลัด / สลัดกุ้ง / สลัดไก่ 100-150 แคลอรี่

อาหารสุขภาพและการดูแลตัวเอง

ไม่ต้องบอกก็รู้ค่ะว่ายังไงๆ เจ้า สลัดผัก ก็ต้องติด 1 ใน 10 ของเมนูอาหารเย็นที่เรานำมาฝากกันในวันนี้อย่างแน่นอนค่ะ สำหรับสาวๆที่อยากทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ แนะนำเป็นพวก สลัดกุ้ง หรือไม่ก็เป็น สลัดไก่ ค่ะ จะได้ครบทุกสารอาหาร มีโปรตีนด้วยนั่นเอง แต่สำหรับสาวๆที่อยากกินแล้วเบาสบายท้อง ก็เลือกทานสลัดผักล้วน ก็โอเคค่ะ บอกเลยว่ายิ่งเวิร์คสำหรับสาวๆที่ต้องการลดน้ำหนัก!

2.ยำปลากระป๋อง ไม่ถึง 100 แคลอรี่

อาหารสุขภาพและการดูแลตัวเอง

บอกเลยว่าทั้งอร่อยแซ่บแถมยังไม่อ้วนค่ะสำหรับเมนูนี้ นอกจากนี้ปลาซาร์ดีนยังเป็นอาหารชั้นดีสำหรับการบำรุงสมองอีกด้วยนะคะ เพราะอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งเจ้ากรดไขมันโอเมก้า 3 เป็นกรดไขมันสำคัญที่สมองและจอประสาทตาต้องการ งานนี้หุ่นเริ่ดแถมยังสมองดี ต้องเนื้อปลาเลยค่ะเยี่ยม!

3.น้ำพริก + ผัก150 แคลอรี่

อาหารสุขภาพและการดูแลตัวเอง

อีกหนึ่งเมนูทางเลือกสำหรับทุกคนที่ต้องหารลดหุ่น น้ำพริกและผักต้ม ก็ดีไม่น้อย เลือกทานน้ำพริกถ้วยเล็กสักถ้วย แกล้มกับผักแล้วแต่ความชอบของทุกคน หรือจะบวกข้าวสวยไปสัก 1 ทัพพี 60 แคลอรี่ ก็ยังถือว่าโอเค

4.แกงจืดเต้าหู้ไม่ใส่หมูสับ 80 แคลอรี่

อาหารสุขภาพและการดูแลตัวเอง

อีกหนึ่งเมนูทางเลือกสำหรับทุกคนที่ต้องหารลดหุ่น น้ำพริกและผักต้ม ก็ดีไม่น้อย เลือกทานน้ำพริกถ้วยเล็กสักถ้วย แกล้มกับผักแล้วแต่ความชอบของทุกคน หรือจะบวกข้าวสวยไปสัก 1 ทัพพี 60 แคลอรี่ ก็ยังถือว่าโอเค

5.ส้มตำ 120 แคลอรี่

อาหารสุขภาพและการดูแลตัวเอง

อีกหนึ่งเมนูทางเลือกสำหรับทุกคนที่ต้องหารลดหุ่น น้ำพริกและผักต้ม ก็ดีไม่น้อย เลือกทานน้ำพริกถ้วยเล็กสักถ้วย แกล้มกับผักแล้วแต่ความชอบของทุกคน หรือจะบวกข้าวสวยไปสัก 1 ทัพพี 60 แคลอรี่ ก็ยังถือว่าโอเค

6.ต้มเลือดหมูตำลึง หมูสับ (ไม่ใส่เครื่องใน)

อาหารสุขภาพและการดูแลตัวเอง

อีกหนึ่งเมนูทางเลือกสำหรับทุกคนที่ต้องหารลดหุ่น น้ำพริกและผักต้ม ก็ดีไม่น้อย เลือกทานน้ำพริกถ้วยเล็กสักถ้วย แกล้มกับผักแล้วแต่ความชอบของทุกคน หรือจะบวกข้าวสวยไปสัก 1 ทัพพี 60 แคลอรี่ ก็ยังถือว่าโอเค

7.แกงส้ม (ไม่ใส่ชะอม) 40 แคลอรี่

อาหารสุขภาพและการดูแลตัวเอง

อีกหนึ่งเมนูทางเลือกสำหรับทุกคนที่ต้องหารลดหุ่น น้ำพริกและผักต้ม ก็ดีไม่น้อย เลือกทานน้ำพริกถ้วยเล็กสักถ้วย แกล้มกับผักแล้วแต่ความชอบของทุกคน หรือจะบวกข้าวสวยไปสัก 1 ทัพพี 60 แคลอรี่ ก็ยังถือว่าโอเค

8.ไข่ต้ม 75 แคลอรี่

อาหารสุขภาพและการดูแลตัวเอง

อีกหนึ่งเมนูทางเลือกสำหรับทุกคนที่ต้องหารลดหุ่น น้ำพริกและผักต้ม ก็ดีไม่น้อย เลือกทานน้ำพริกถ้วยเล็กสักถ้วย แกล้มกับผักแล้วแต่ความชอบของทุกคน หรือจะบวกข้าวสวยไปสัก 1 ทัพพี 60 แคลอรี่ ก็ยังถือว่าโอเค

9.แอปเปิ้ล100 กรัม

อาหารสุขภาพและการดูแลตัวเอง

อีกหนึ่งเมนูทางเลือกสำหรับทุกคนที่ต้องหารลดหุ่น น้ำพริกและผักต้ม ก็ดีไม่น้อย เลือกทานน้ำพริกถ้วยเล็กสักถ้วย แกล้มกับผักแล้วแต่ความชอบของทุกคน หรือจะบวกข้าวสวยไปสัก 1 ทัพพี 60 แคลอรี่ ก็ยังถือว่าโอเค

10.ฝรั่ง1 ลูก 60 แคลอรี่

อาหารสุขภาพและการดูแลตัวเอง

อีกหนึ่งเมนูทางเลือกสำหรับทุกคนที่ต้องหารลดหุ่น น้ำพริกและผักต้ม ก็ดีไม่น้อย เลือกทานน้ำพริกถ้วยเล็กสักถ้วย แกล้มกับผักแล้วแต่ความชอบของทุกคน หรือจะบวกข้าวสวยไปสัก 1 ทัพพี 60 แคลอรี่ ก็ยังถือว่าโอเค