อัพเดตเทรนด์การดูแลสุขภาพปี 2020

อัพเดตเทรนด์การดูแลสุขภาพปี 2020

การดูแลสุขภาพด้วยการเลือกรับประทานอาหาร

  • การทานอาหารพร้อมทานที่มี 5 ปัจจัยหลักเพื่อสุขภาพ คือ มีปริมาณน้ำตาลที่น้อย มีไขมันอิ่มตัวต่ำ ไขมันรวมต่ำ มีใยอาหารสูง และมีโปรตีนในปริมาณที่เพียงพอ
  • การทานโปรตีนทดแทนเนื้อสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นโปรตีนจากพืชตระกูลถั่ว เห็ด และสาหร่าย รวมถึงการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากพืชเมล็ดถั่ว ตลอดจนโปรตีนจากการหมักเชื้อจุลินทรีย์
  • การใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล โดยในตอนนี้ทั่วโลกเริ่มตะหนักถึงผลกระทบและโรคร้ายที่มากับความหวานในน้ำตาล ซึ่งในช่วงปี 2019 กระแสความนิยมหันมาเลือกใช้หญ้าหวานสกัดแทนน้ำตาลเริ่มกลับมาอีกครั้ง ทั้งในอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งเชื่อว่าในปี 2020 กระแสลดน้ำตาลแทนที่ด้วยความหวานจากธรรมชาติก็จะยังคงได้รับการตอบรับที่ดีอย่างต่อเนื่อง 
  • การดื่มเครื่องดื่มเพื่อบำรุงสมอง ลำไส้ และผิว เพื่อตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ที่บริโภคผักและผลไม้น้อย โดยที่ไม่ลืมในเรื่องของการดูแลผิวพรรณด้วย 
  • การแปรรูปแมลง เนื่องจากแมลงเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง สามารถทดแทนเนื้อสัตว์ได้ และการเพาะเลี้ยงแมลงเพื่อนำมาบริโภคก็สร้างมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อมน้อยมาก อีกทั้งแมลงยังสามารถเพาะเลี้ยงให้เป็นอาหารที่ไร้กลูเตน เหมาะสำหรับคนแพ้กลูเตนที่มีอยู่มากในปัจจุบัน

สังคมผู้สูงอายุ และการวางแผนชีวิตหลังเกษียณ

ใน 2020 พบว่ามีแนวโน้มที่จะมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นถึง 30% วัยสูงอายุหรือวัยที่เกษียณอายุการทำงาน ถ้าเป็นระบบข้าราชการไทยก็จะเกษียณอายุอยู่ที่ 60 ปี การปลดจากภาระความรับผิดชอบในการทำงานประจำอาจจะส่งกระทบต่อจิตได้ ซึ่งเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้น วัยสูงอายุจึงเป็นวัยที่ต้องใส่ใจสุขภาพของร่างกายและจิตใจสูงกว่าวัยอื่นๆ 

แต่บุคคลในวัยเกษียณก็สามารถเลือกที่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีและยังคงมีความสุขได้ในห้วงเวลาของช่วงชีวิตบั้นปลาย หรืออาจมีความสุขมากขึ้นก็ได้ หากเรามีการดูแลและเตรียมตัวที่ดี ดังนี้

  1. การรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการหลีกเลี่ยงอาหารรสหวานจัด มันจัด เค็มจัดและอาหารที่มีสารปนเปื้อนต่างๆ เพื่อป้องการเกิดโรคตามมา เช่น เบาหวาน ความดัน ไขมัน และโรคหลอดเลือดในสมอง เป็นต้น
  2. การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อความแข็งแรงของหัวใจ กล้ามเนื้อกระดูกและยังส่งผลต่อสุขภาพจิตที่ดีด้วย
  3. ดูแลสุขภาพจิตและจัดการกับความเครียดในชีวิตประจำวันอย่างเหมาะสม ควรพักผ่อนนอนหลับอย่างเพียงพออย่างน้อยวันละ 6 – 8 ชั่วโมง และผ่อนคลายความตึงเครียด เช่น การนั่งสมาธิ จะช่วยให้สุขภาพกายและจิตใจแจ่มใสขึ้น
  4. ควรรับการตรวจสุขภาพร่างกายทั่วไปเป็นประจำทุกปี ถ้ามีอาการผิดปกติให้รีบปรึกษาแพทย์
  5. งด หรือหลีกเลี่ยงสารเสพติด เช่น บุหรี่แอลกอฮอล์ ฯลฯ
  6. ควรมีการเตรียมพร้อมสำหรับวัยเกษียณอายุแต่เนิ่นๆ ตั้งแต่อยู่ในวัยทำงาน ได้แก่ การเตรียมความพร้อมทางเศรษฐกิจคือมีระบบการออมเงินไว้ใช้ยามชรา การเตรียมความพร้อมด้านสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี ตลอดจนวางแผนการใช้เวลาหลังเกษียณให้เกิดประโยชน์และได้พัฒนาตนเองเพื่อชะลอการเสื่อมถอยของร่างกาย

ปัญหาฝุ่น PM 2.5

ฝุ่น PM 2.5 เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 5 โดย ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากมลพิษทางอากาศ 7 ล้านคน ซึ่ง 91% เกิดในประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิกตะวันตก

หากดูจากค่าความเข้มของฝุ่น PM 2.5 ในกทม. ย้อนหลังจะพบแนวโน้มฝุ่นพิษเกิดขึ้นในช่วงเดือนม.ค.ถึง มี.ค. ซึ่งเด็กและผู้สูงอายุจัดเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ฝุ่น PM 2.5 ยังเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปอด โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดในสมอง และโรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ ดังนั้น เราจึงป้องกันตัวเองได้โดยการ ให้สวมหน้ากากมาตรฐาน N95 เพราะหน้ากาก N95 ผลิตจากเส้นใยพิเศษที่สามารถกรองฝุ่น ทำให้ป้องกันฝุ่นขนาด PM 2.5 ไมครอน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อัพเดตเทรนด์การดูแลสุขภาพปี 2020

การดูแลสุขภาพ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *