เคล็ดลับ 8 ประการใน การดูแลสุขภาพ โดย หมอแดง ดื้อโรคยา

หากทุกคนปฏิบัติตามนี้ได้ย่อมจะมีสุขภาพแข็งแรง แม้ว่าตอนเริ่มต้นจะรู้สึกว่าทำยาก แต่จงจำไว้ว่าร่างกายเป็นเสาหลักที่ทำให้เราประสบ จึงต้องดูแลรักษาร่างกายซึ่งเปรียบเสมือนสิ่งล้ำค้าไว้ อาจจะต้องบังคับตัวเองบ้างก็มิใช่เรื่องยากเกินไป

เคล็ดลับ 8 ประการใน การดูแลสุขภาพ โดย หมอแดง ดิอโรคยา

ทุกวันนี้เวลาไปเดินตามห้างสรรพสินค้าที่มีสถานที่ออกกำลังกายตั้งอยู่ เมื่อลองมองเข้าไปเราจะเห็นได้ว่า มีคนหลากหลายวัยทั้งหญิงและชาย เข้าไปใช้บริการกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่น่ายินดี ที่คนยุคใหม่หันมาออกกำลังกายเพื่อสุขภาพกันมากขึ้น แต่ความจริงแล้ว การออกกำลังกายแต่เพียงอย่างเดียว อาจไม่สามารถตอบโจทย์สุขภาพดีได้ทั้งหมด

เมื่อใดก็ตามที่เรามุ่งเน้นการออกกำลังกาย สร้างกล้ามเนื้อ เผาผลาญไขมันอย่างหนัก แต่กลับยังมีพฤติกรรมการกินอยู่และการพักผ่อนที่ไม่เหมาะสม เช่น หลังออกกำลังกายอย่างหนัก สูญเสียเหงื่อมาก จึงทดแทนด้วยน้ำหวาน-เย็นขวดใหญ่ และ อาหารมื้อหนักที่อุดมด้วยเนื้อสัตว์แต่ขาดไฟเบอร์และวิตามิน-แร่ธาตุจากผักผลไม้ หรือบางท่านออกกำลังกายจัดหนักในเวลาค่ำยันดึก ที่ควรเป็นเวลาพักผ่อนนอนหลับมากกว่า

เพราะฉะนั้นหากต้องการมีสุขภาพดีแบบองค์รวม เรามีเคล็ดลับดีๆ ของหมอแดงมาฝากให้ลองนำไปปฏิบัติกัน นอกเหนือจากการออกกำลังกาย ดังนี้

1. ควรดื่มน้ำให้พอเพียงในแต่ละวัน ร่างกายประกอบด้วยน้ำ 70 กว่าเปอร์เซ็นต์ เลือดประกอบด้วยน้ำ 90 กว่าเปอร์เซ็นต์ ถ้าขาดน้ำ เลือดก็จะข้น หนืด ไหลเวียนไม่สะดวก หัวใจก็จะต้องทำงานหนักเพราะต้องปั๊มเลือดที่หนืดข้นไปเลี้ยงร่างกาย ตับไตก็จะทำงานหนัก ในการขับกรองของเสียออกจากเลือดที่หนืดข้น

เคล็ดลับ 8 ประการใน การดูแลสุขภาพ โดย หมอแดง ดิอโรคยา

การดื่มน้ำที่ถูกวิธี

– หลังตื่นนอนดื่ม 2-3 แก้ว ช่วยให้เลือดไม่หนืด และกระบวนการขับของเสียทำงานได้ดีขึ้น

– ระหว่างวันดื่มให้ได้ วันละ 1.5-2 ลิตร โดยวิธีการแบ่งดื่มครั้งละประมาณครึ่งแก้ว แต่ดื่มบ่อยๆ

– ก่อนและหลังอาหาร 30 นาที ไม่ควรดื่ม หากกระหายให้ใช้การจิบ เพื่อรักษาความเข้มข้นของน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร

*** หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเย็นจัด น้ำเย็นจัดจะลงไปดับไฟย่อยอาหาร (เจือจางน้ำย่อย) จนไฟมอด อาหารจึงไม่ย่อย พากันหมักจนเป็นแก๊สพิษขึ้นมา เผาปาก เผาคอ เผาต่อมไทรอยด์ ต่อมทอนซิลอักเสบ เป็นแผลในปากคอ มีกลิ่นปาก ***

เคล็ดลับ 8 ประการใน การดูแลสุขภาพ โดย หมอแดง ดิอโรคยา

2. อาหารเช้าคือมื้อที่สำคัญที่สุด ตามหลักนาฬิกาชีวิต ควรรับประทานมื้อเช้าในเวลา 7-9 โมงเช้า เพราะเป็นเวลาที่พลังชีวิตเดินผ่านเส้นลมปราณกระเพาะอาหาร…การทานอาหารเวลานี้ จะทำให้ร่างกายได้รับคุณค่าจากสารอาหารอย่างมีประสิทธิภาพสูงที่สุด คนที่ไม่ชอบทานอาหารมื้อเช้า มักทำร้ายร่างกายโดยไม่ตั้งใจเพราะ 

การอดอาหารในเวลาที่ร่างกายต้องการอาหารอย่างมาก นานวันเข้า จะทำให้เกิดความเสื่อมของเซลล์ เกิดการป่วยด้วยโรคต่างๆ เพราะอวัยวะภายในเสื่อมและหย่อนพิการลง จึงไม่ต้องแปลกใจว่า คนที่ไม่ชอบทานอาหารเช้า แต่ทดแทนด้วยกาแฟและอาหารที่ไม่มีประโยชน์ จะมีสุขภาพร่างกายที่อ่อนแอ อ่อนเพลียเรื้อรัง โรคกระเพาะถามหา และโลหิตจาง ดังนั้นอย่าลืมเติมสารอาหารที่มีประโยชน์ให้กับร่างกายทุกเช้า

เคล็ดลับ 8 ประการใน การดูแลสุขภาพ โดย หมอแดง ดิอโรคยา

3. ลดการบริโภคนม และผลิตภัณฑ์จากนม เพราะองค์ประกอบของนมวัวกับนมคนนั้นแตกต่างกันมาก นมวัวมีแคลเซียมมากกว่านมคนประมาณ 4 เท่า มีโปรตีนมากกว่า 3 เท่า แต่มีคาร์โบไฮเดรตเพียง 2 ใน 3 ของนมคน โครงสร้างและอัตราการเจริญเติบโตที่แตกต่างกัน ระหว่างลูกวัวกับทารก ทำให้องค์ประกอบเหล่านี้ มีสัดส่วนแตกต่างกัน

นมวัวเหมาะที่จะใช้เลี้ยงลูกวัว ซึ่งมีน้ำหนักแรกเกิดถึง 40 กิโลกรัม แค่อายุ 2 ปี น้ำหนักก็ขึ้นได้ถึง 900 กว่ากิโลกรัม ส่วนทารกมีน้ำหนักแรกเกิด 2 – 3 กิโลกรัม อยู่จนอายุ 20 ปี น้ำหนักตัวเฉลี่ยก็เพียง 68 กิโลกรัม ซึ่งเป็นอัตราการเจริญเติบโตที่แตกต่างกันมาก

เคล็ดลับ 8 ประการใน การดูแลสุขภาพ โดย หมอแดง ดิอโรคยา

 4. รับประทานเนื้อสัตว์ให้น้อยลง ทานผักให้มากขึ้น โครงสร้างของมนุษย์ไม่ใช่สัตว์กินเนื้อ เป็นสัตว์ประเภท กินผัก ผลไม้ เมล็ดธัญพืชเป็นอาหาร เพราะลำไส้ยาวกว่าสัตว์กินเนื้อมาก แต่น้ำย่อยมีความเข้มข้นน้อยกว่าถึง 20 เท่า การบริโภคเนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์ที่มาจากเนื้อสัตว์มากเกินไป ทำให้เส้นทางเดินอาหารอ่อนแอลง นำไปสู่ความผิดปกติของลำไส้ในแบบต่างๆ โปรตีนจากสัตว์เริ่มเน่าทันทีเมื่อสัตว์ถูกฆ่า ซึ่งผิดกับโปรตีนของพืชผักและธัญพืช จะไม่เน่าเสียก่อนที่จะกิน การแช่ตู้เย็น หรือสารกันบูดก็พอจะช่วยให้เนื้อสัตว์ไม่เน่าได้ แต่เมื่อถูกนำมาปรุงอาหารแล้วก็จะเริ่มเน่าเสียแล้ว

นอกจากนี้ยังมีโรคติดเชื้อในเนื้อสัตว์ สารพิษตกค้างในอาหารที่มาจากสัตว์ด้วย สัตว์ที่เลี้ยงเพื่อเป็นอาหารจะถูกเลี้ยงด้วยฮอร์โมนเพื่อจะได้อ้วนเร็วๆ แล้วต้องโตเร็วๆ ด้วย ก็ต้องใช้ยาปฏิชีวนะเร่ง ไก่ซึ่งเคยใช้เวลาเลี้ยง 8 เดือนกว่าจะนำมาขายเป็นไก่เนื้อได้ ในปัจจุบันเขาเลี้ยงกันแค่ 45 วันก็ขายได้ แล้วสารเคมีแปลกปลอมที่เร่งโต และยาปฏิชีวะนะที่สะสมอยู่ในเนื้อสัตว์จะมีมากเพียงใด

เคล็ดลับ 8 ประการใน การดูแลสุขภาพ โดย หมอแดง ดิอโรคยา

 5. ลดการบริโภคน้ำตาลลง เราทราบกันดีว่าน้ำตาลนั้นให้พลังงานแก่ร่างกาย เมื่อเรารู้สึกเหนื่อยถ้าได้ดื่มอะไรหวานๆ เช่น น้ำอัดลม น้ำหวาน เครื่องดื่มชูกำลังที่วางขายกันดาษดื่น เราก็จะรู้สึกสดชื่นมีกำลัง แต่สักพักก็จะรู้สึกเหนื่อยใหม่ ก็ดื่มกินกันใหม่ โดยไม่ได้คิดถึงโทษจาการบริโภคน้ำตาลมากเกินไป ปกติแล้วเราควรบริโภคน้ำตาลไม่เกิน 7 ช้อนชาต่อวัน 

เพื่อไม่ให้ตับอ่อนเราต้องทำงานหนักในการผลิตอินซูลินเพื่อมาจัดการกับน้ำตาล แต่ทุกวันนี้เราบริโภคน้ำตาลกันจนล้น เมื่อน้ำตาลมากเกินไป ร่างกายก็จะจัดการนำไปเก็บไว้ที่ตับและกล้ามเนื้อในรูปของไขมัน รอเวลาขาดแคลนจึงจะนำออกมาใช้

ไม่ใช่มีแค่โรคเบาหวานอย่างเดียว มีโรคอีกมากมายที่เกิดจาก “ความหวาน” นี้ ความหวานนี้เป็นอาหารที่เชื้อโรคต่างๆ ชอบมาก เชื้อรา แบคทีเรีย จุลินทรีย์ จะพากันเริงร่าเมื่อมีความหวาน สังเกตว่าเมื่อบริโภคหวาน ไม่ว่าจากน้ำตาลโดยตรง หรือจะเป็นผลไม้หวานมากๆ จะมีอาการคัน เชื้อรากำเริบ และจะรู้สึกเมื่อยเนื้อเมื่อยตัวมาก

รสหวานนั้นเป็นหยาง (ร้อน) เมื่ออาหารที่รับประทานเข้าไปไม่ย่อย และเมื่อไม่ย่อยบวกกับความหวานก็จะเกิดการหมัก กลายเป็นกรด เป็นแก๊สเสียขึ้น และถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย กระแสเลือด เมื่อร่างกายถูกหล่อเลี้ยงด้วยของเสียก็ย่อมเจ็บป่วย

6. ควรเข้านอนไม่เกิน 5 ทุ่ม ปัจจุบันเราต่างพากันขยายเวลากลางวันเข้าไปทดแทนเวลากลางคืน ไม่ยอมหลับยอมนอนกัน ดูทีวี เล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ เที่ยวกลางคืน หรือไม่ก็ทำงานกันทั้งคืน แล้วก็มานอนเอาตอนรุ่งสาง โดยมีความคิดว่า มันเงียบดี ไม่มีใครมารบกวน ได้งานเยอะ เห็นมาหลายรายว่าอยู่ได้ไม่กี่น้ำ ทำอยู่ได้ไม่กี่ปี ก็จะค่อยๆ สะสมความเจ็บป่วย มีโรคสะสมเพิ่มขึ้นๆ จนกระทั่งหนักหนาสาหัสนั่นแหละถึงจะรู้สึกตัว

ชีวิตของเรานั้น ต้องมีชีวิตอยู่จนกว่าจะหมดอายุไข เสื่อมตามวัย และเสียชีวิตไปเอง ดังนั้น ต้องดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ดำเนินชีวิตโดยยึดนาฬิกาแห่งชีวิตบ้าง เราควรจะนอนไม่เกิน 5 ทุ่ม

7. เอาพิษออกจากร่างกาย ปัจจุบันนี้เราต้องเผชิญกับ “พิษ” ที่มีอยู่รอบตัวเรา มีทั้งสารพิษ อากาศที่เป็นมลพิษ อาหารที่มีพิษ รวมทั้งพิษที่เราสร้างขึ้นเองในร่างกาย ที่เกิดจากการย่อยไม่ได้ ถ่ายไม่ดี อาหารก็คั่งค้างหมักหมมกลายเป็นสารพิษอยู่ในกระเพาะลำไส้ แล้วถูกดูดซึมเข้าไปหล่อเลี้ยงร่างกาย เข้าอยู่ในกระแสเลือด ร่างกายจึงอุดมด้วยพิษ การเอาพิษออกจากร่างกายทำให้หลากหลายวิธี เช่น

– สวนล้างลำไส้ พิษที่เยอะที่สุดคือลำไส้ใหญ่ ที่ยาวประมาณ 5-6 ฟุต ถ้าอาหารไม่ย่อยด้วยแล้ว อาหารที่ว่าดีๆ ที่รับประทานเข้าไปก็จะไหลมาคั่งค้างเน่าเหม็นอยู่ที่ลำไส้ใหญ่นี้ ถ้าเป็นไปได้ ลองหาเวลาเข้าคอร์สล้างพิษตับก็เป็นวิธีที่เร็วที่สุด
– อดอาหาร 24 ชั่วโมง โดยดื่มแต่น้ำเปล่า น้ำผลไม้ หรือผลไม้ชนิดเดียวทั้งวัน โดยมากจะใช้ มะละกอ แคนตาลูป หรือฝรั่ง เพื่อกระตุ้นให้กระบวนการขับพิษในร่างกายทำงาน
– นวดกดจุด นวดตัว นวดเท้า การกัวซา (ขูดพิษที่ผิวหนัง) เพื่อขับของเสีย
– รับประทานยาถ่ายหรือยาระบายบ้าง เช่น ส้มแขก มะขามแขก ธรณีสัณฑะฆาต จตุผลาธิกะ ตรีผลา หรือเบญจพันธุ์
– ทำ Oil Pulling

เคล็ดลับ 8 ประการใน การดูแลสุขภาพ โดย หมอแดง ดิอโรคยา

8. อย่าลืม แบ่งเวลาเพื่อออกกำลังกายในแต่ละวันแต่พอดี ไม่หักโหมหรือละเลย และหมั่นสร้างความดี ทำให้จิตใจสบาย ถ้ามีความเกลียดชังในหัวใจ โรคภัยจะมาเยือน

หากทุกคนปฏิบัติตามนี้ได้ย่อมจะมีสุขภาพแข็งแรง แม้ว่าตอนเริ่มต้นจะรู้สึกว่าทำยาก แต่จงจำไว้ว่าร่างกายเป็นเสาหลักที่ทำให้เราประสบ จึงต้องดูแลรักษาร่างกายซึ่งเปรียบเสมือนสิ่งล้ำค้าไว้ อาจจะต้องบังคับตัวเองบ้างก็มิใช่เรื่องยากเกินไป 

ถ้ายืนหยัดทำอย่างนี้อย่างต่อเนื่อง ปรับเปลี่ยนจนเกิดความเคยชิน การมีสุขภาพดีก็จะกลายเป็นเรื่องง่ายและติดเป็นนิสัย ทั้งนี้เพราะร่างกายของเราจะตอบสนองต่อตัวเราเอง

เคล็ดลับ 8 ประการใน การดูแลสุขภาพ โดย หมอแดง ดิอโรคยา

เคล็ดลับ 8 ประการใน การดูแลสุขภาพ โดย หมอแดง ดื้อโรคยา

วิธีดูแลสุขภาพ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *