4 แนวโน้มพลิกโฉมการดูแลสุขภาพของ AEC

001

บทความจากนิตยสาร CAT MAGAZINE ฉบับที่ 44 ประจำเดือนเมษายน-มิถุนายน กล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า แม้ในภาวะที่เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจในภูมิภาคจะไม่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินธุรกิจมากนัก แต่มีธุรกิจอยู่กลุ่มหนึ่งที่ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องในย่าน AEC นั่นก็คือ “ธุรกิจด้านการดูแลสุขภาพ” อย่างไรก็ตาม การดูแลสุขภาพทั้งในประเทศไทยเองและในย่าน AEC ก็พบกับความท้าทายต่างๆ มากมาย การยกระดับการดูแลสุขภาพนั้นต้องอาศัยปัจจัยหลายๆ ด้านทำงานร่วมกัน

แนวโน้มต่างๆ 4 ด้านที่เป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งจะเข้ามามีบทบาทต่อการพัฒนาการให้บริการและดูแลสุขภาพในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้มีอะไรบ้าง มาลองดูกัน

1. Smart Health หัวใจสำคัญของการเป็นสมาร์ตเนชั่น

การดูแลสุขภาพอย่างชาญฉลาด หรือ Smart Health เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการสร้างสมาร์ตเนชั่น (Smart Nation) ของสิงคโปร์ ซึ่งจะเห็นได้จากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของกระบวนการด้านการดูแลสุขภาพและข้อมูลดิจิทัลที่มีปริมาณมหาศาลเกิดขึ้นจากแพทย์และผู้ป่วยในสิงคโปร์รัฐบาลได้คาดการณ์ว่าในปี 2563 ค่าใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพจะเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าคิดเป็น 12 พันล้านเหรียญสิงค์โปร์ ซึ่งก่อให้เกิดความท้าทายตามมาอย่างต่อเนื่องในเรื่องการให้บริการด้านการดูแลสุขภาพที่มีคุณภาพสูงขึ้นในราคาไม่แพง แต่จะทำเช่นนั้นได้ การดูแลสุขภาพอย่างชาญฉลาดก็ถือเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง

ในปี 2559 ผู้บริโภคจะกลายเป็นผู้ริเริ่มร้องขอบริการที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพเพิ่มมากขึ้นโดยอาศัยสมาร์ตแอปบนอุปกรณ์พกพา และพอร์ทัลบริการด้านการดูแลสุขภาพผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวจะช่วยอุดช่องว่างระหว่างผู้ให้การดูแล/แพทย์กับผู้ป่วย ทำให้พวกเขาติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์กันได้อย่างราบรื่น และบ่อยขึ้นข้อมูลที่ชาญฉลาดจะเป็นอีกหนึ่งแนวโน้มด้านการดูแลสุขภาพที่กำลังเติบโตในปี 2559 โดยมุ่งเน้นไปที่การเก็บรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทำให้สามารถรักษาเป็นรายบุคคล และปรับปรุงการดูแลสุขภาพโดยรวมของประชากรทั้งหมดได้

002

2. การดูแลสุขภาพอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญ

ข้อมูลจากเว็บไซต์ thetechrevolutionist.com ระบุว่าประมาณร้อยละ 75 ของค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ตลอดช่วงชีวิตของแต่ละคนจะถูกใช้ไปในช่วง 6 เดือนสุดท้ายก่อนเสียชีวิตสำหรับในประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่สายไปแล้ว และสิ้นเปลืองเกินไป อย่างไรก็ตามด้วยเงื่อนไขของการใช้ชีวิตที่ดีขึ้น และความก้าวหน้าทางการแพทย์ทำให้เราสามารถจะมีชีวิตอยู่ถึงอายุ 80 ปี หรือมากกว่านั้น

แทนที่จะต้องเสียค่ารักษาอาการเจ็บป่วยเป็นเงินก้อนใหญ่เพื่อซื้อช่วงชีวิตพิเศษในบั้นปลายของชีวิต จะเห็นได้ว่าคนเริ่มตระหนักถึงส่วนผสมที่เป็นความลับของการใช้ชีวิตที่ยืนยาว และการมีสุขภาพดี โดยเสียค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อยด้วยการดูแลร่างกายของพวกเขาทุกวัน ซึ่งการดูแลสุขภาพด้วยวิธีการดังกล่าวนี้จะได้รับความนิยมจากคนทั่วไปมากขึ้น

3. การดูแลสุขภาพแบบดิจิทัลได้รับความไว้วางใจเพิ่มขึ้น

การดูแลสุขภาพผ่านเทคโนโลยีจะสร้างประโยชน์ต่างๆ ให้แก่ประชากรในย่าน AEC มากยิ่งขึ้น ปัจจุบันอุปกรณ์ Wearable และ Smart Devices ต่างๆ ได้ถูกนำไปใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ก็มาพร้อมกับแอปพลิเคชันด้านการดูแลสุขภาพที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกันด้วยอุปกรณ์และแอปพลิเคชันเหล่านี้ ข้อมูลสุขภาพและการรักษา จะถูกแปรเปลี่ยนไปสู่ข้อมูลดิจิทัล อันส่งผลให้ประชากรในย่าน AEC เข้าถึงและได้รับบริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพมากขึ้น

นวัตกรรมดิจิทัลอื่นๆ ด้านการดูแลสุขภาพ เช่น EMRs การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ การดูแลสุขภาพ/การแพทย์จากระยะไกล เป็นการเริ่มต้นรูปแบบใหม่ของ Digital Workflow สำหรับมืออาชีพด้านการดูแลสุขภาพและผลักดันให้มีการดูแลผ่านระบบดิจิทัลมากขึ้น ความเชื่อมั่นของผู้ป่วยที่มีต่อการดูแลสุขภาพผ่านระบบดิจิทัลเหล่านี้ก็จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน

นอกจากนี้บริษัทต่างๆ จะมีการนำอุปกรณ์ด้านสุขภาพแบบดิจิทัลมาใช้งานกันมากขึ้นเพือ่ ติดตามสขุ ภาพของพนักงาน บริษัทวิจยั ทางการตลาดชั้นนำของโลกอย่างการ์ทเนอร์ คาดการณ์ว่าในปี 2561 จะมีคนมากถึง 2 ล้านคนต้องสวมอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพหรือการออกกำลังกายเพราะเป็นส่วนหนึ่งของเงื่อนไขในการจ้างงาน

003

4. มีการทำงานร่วมกันเพิ่มขึ้น

ในปี 2559 เราจะได้เห็นการทำงานร่วมกันข้ามหน่วยงานที่แตกต่างกันเพิ่มมากขึ้นเพื่อร่วมกันเสริมสร้างประสบการณ์ที่ดีในการดูแลสุขภาพแก่ผู้ป่วย ยกตัวอย่างเช่นผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ และบริษัทที่ให้บริการรถรับส่งผู้ป่วยทำงานร่วมกันเพื่อทำให้การมาพบแพทย์มีความสะดวกมากขึ้น หรือการเป็นพันธมิตรระหว่างบริษัทเทคโนโลยีกับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพเพื่อเปิดบริการอิเล็กทรอนิกส์ (e-Services) รวมถึงการเก็บรวบรวม และการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น

การนำนวัตกรรมต่างๆ มาใช้ในการให้บริการสุขภาพทั้งในปัจจุบันและอนาคตในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้จะมีปริมาณและความหลากหลายขึ้น ได้เห็นถึงการจับมือเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์เพื่อรับมือกับความต้องการผลิตภัณฑ์และบริการด้านการดูแลสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้นในปีนี้การเป็นพันธมิตรกันของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน จะกลายเป็นบรรทัดฐานสำหรับการดูแลสุขภาพของพวกเราต่อไป

4 แนวโน้มพลิกโฉมการดูแลสุขภาพของ AEC

การดูแลสุขภาพ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *