การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ

สำหรับผู้สูงอายุนั้นจำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังในการออกกำลังกายเป็นพิเศษวัยสูงอายุ เป็นวัยที่ระบบต่าง ๆ ในร่างกายมีการเสื่อมสภาพ เนื่องจากร่างกายมีความเปลี่ยนแปลงไปมาก ทั้งยังพบว่าบางรายมีปัญหาทางด้านอารมณ์และจิตใจร่วมด้วย ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา สามารถป้องกันได้ด้วยการออกกำลังกาย ซึ่งต้องกระทำอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุหรือปัญหาอื่นที่เกี่ยวกับสุขภาพ ก่อนออกกำลังกายอาจต้องปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้ก่อน ในกรณีที่ผู้สูงอายุมีโรคประจำตัว

การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ แบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ ได้แก่

  1. เพิ่มการไหลเวียนโลหิต เพิ่มการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด (แอโรบิค)
  2. เพิ่มการทำงานของกล้ามเนื้อ ข้อต่อส่วนต่าง ๆ เป็นการออกกำลังกายฝืนแรงต้าน
  3. เหยียดยืดข้อต่อส่วนต่าง ๆ ป้องกันอาการข้อยืดติด
  4. ฝึกการทรงตัว

การออกกำลังกายของผู้สูงอายุ ช่วยชะลอความเสื่อมของระบบต่าง ๆ ทั้งยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงทนทานให้กับกล้ามเนื้อ ควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ให้มีความสมดุล ในบางครั้งยังช่วยให้ผู้สูงอายุได้เข้าสังคม กรณีออกกำลังกายนอกบ้าน จึงเป็นผลดีต่อสภาพจิตใจโดยตรง ประโยชน์ของการออกกำลังกายมีอยู่หลากหลาย สรุปได้ดังนี้

ประโยชน์ของการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ

  1. ช่วยชะลอความชรา
  2. ช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดทำงานได้ดี
  3. กล้ามเนื้อแข็งแรงและทนการทำงานได้นานขึ้น
  4. กล้ามเนื้อและข้อต่อยืดหยุ่นดีขึ้น
  5. การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ มีการประสานกันดีขึ้น
  6. ช่วยเรื่องการทรงตัว
  7. เพิ่มภูมิต้านทาน
  8. ช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น
  9. ช่วยลดน้ำหนักตัว
  10. ช่วยลดความเครียด
  11. ทำให้นอนหลับพักผ่อนดี

สำหรับการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ มีข้อควรระวังมากกว่าวัยอื่น เนื่องจากเป็นวัยที่กล้ามเนื้ออ่อนแอกว่าวัยอื่น การทรงตัวอาจทำได้ไม่ดีเท่ากับวัยอื่น และที่สำคัญผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีโรคประจำตัว ซึ่งเกี่ยวข้องกับการออกกำลังกายโดยตรง

การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ

ก่อนการออกกำลังกายผู้สูงอายุควรสำรวจสภาพร่างกายของตนเองให้ดีก่อน หากมีโรคประจำตัวควรพบแพทย์เจ้าของไข้เพื่อปรึกษาเกี่ยวกับการออกกำลังกายที่เหมาะสม เพราะบางโรคอาจกำเริบได้เมื่อออกกำลังกาย เช่น โรคความดันโลหิต ที่อาจเพิ่มสูงขึ้นเมื่อออกกำลังกาย จึงต้องควบคุมความดันให้อยู่ในระดับปกติก่อน จึงจะเหมาะสมต่อการออกกำลังกาย นอกจากนี้ผู้สูงอายุควรออกกำลังกายด้วยท่าง่าย ๆ เพื่อป้องกันอันตราย การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ สรุปได้ดังนี้

  1. ควรตรวจสุขภาพก่อนการออกกำลังกาย
  2. หลีกเลี่ยงท่าออกกำลังกายที่มีการเกร็งหรือเบ่งมากเกินไป ในบางรายอาจทำให้ความดันสูงขึ้นได้ โดยเฉพาะท่าที่ทำให้ต้องกลั้นหายใจ
  3. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่มีการปะทะ การแข่งขัน เพราะอาจเกิดอันตราย

สาธิตท่าออกกำลังกายที่เหมาะกับผู้สูงอายุ โดยสามารถบริหารได้ด้วยตัวเอง

1. ท่าบริหารข้อนิ้วมือ

  • ยกมือขึ้นระดับหน้าอก
  • กำนิ้วมือแล้วแบออก โดยพยายามแบออกให้เต็มที่ เพื่อบริหารข้อนิ้วมือ
  • กำแล้วแบสลับกันไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะรู้สึกเมื่อย

หมายเหตุ สามารถทำที่บ้านได้ หรือทำขณะนั่งดูโทรทัศน์ก็ได้ หากยกแขนขึ้นให้มืออยู่บริเวณเท่ากับไหล่ จะช่วยบริหารแขนและหัวไหล่ไปด้วย เพราะมีการเกร็งแขนและหัวไหล่

2. ท่าป้องกันหัวไหล่ติด

  • ยกแขนข้างใดข้างหนึ่งขึ้น ให้แขนแนบติดใบหู (หากไม่สามารถยกให้ติดใบหูได้ เป็นสัญญาณว่าไหล่เริ่มติด ให้ใช้มืออีกข้างช่วยดัน)
  • เหยียดให้เต็มที่
  • เมื่อรู้สึกเมื่อยให้คลายออกแล้วเหยียดอีกครั้ง ทำไปเรื่อย ๆ
  • ทำเหมือนเดิมกับแขนอีกข้าง

3. ท่าบริหารข้อมือ

  • ยกแขนขึ้นมา
  • กำมือแล้วหมุน
  • หมุนไปข้างหน้าและหมุนกลับ

ออกกำลังกายลดต้นขา

สำหรับสาวที่กำลังมองหาท่าออกกำลังกายที่ช่วงลดสัดส่วนเฉพาะทางนั้นและยิ่งถ้าเป็นต้นขาแล้วละก็ต้องลอง 4 ท่านี้ที่เราจะมามองกันเลยใส่กางเกงขาสั้นก็ไม่มั่นใจ กลัวเห็นต้นขาใหญ่ เซลลูไลต์ปลิ้น ไม่ได้การละ มาเริ่มปฏิบัติการออกกำลังกายลดต้นขา ลดขาใหญ่ ให้ขาเรียวสวย ได้รูป มั่นใจทุกย่างก้าวไปเลย

ท่าที่ 1 เริ่มต้นกระชับต้นขาแบบง่าย ๆ 

วิธีทำ

  1. นอนราบกับพื้น แล้วยกขาสองข้างขึ้นให้ตรงเสมอกัน
  2. จากนั้นให้ย่อขาลงมาสองข้างพร้อมกัน เข่าแบะออก ให้ส้นเท้าชิดกัน เกร็งไว้เล็กน้อยจะยิ่งเพิ่มความกระชับได้ดีขึ้น

ทำจำนวน : 10 ครั้ง 5 เซต อ่านต่อได้ที่

ท่าที่ 2 เพิ่มความยืดหยุ่น เลือดไหลเวียนดี ขาเรียวสวย

วิธีทำ

  1. นอนราบกับพื้น ยกขาสองข้างขึ้นให้ตรงเหมือนในท่าแรก
  2. จากนั้นให้อ้าขาออกกว้าง ในขั้นตอนนี้ขายังยืดตรงอยู่นะคะ ถ้าใครไม่ไหวก็ให้อ้าน้อย ๆ ก่อนได้ แล้วค่อย ๆ เพิ่มในครั้งต่อไป จากนั้นให้กลับไปทำซ้ำข้อ 1

ทำจำนวน : 10 ครั้ง 5 เซต

ท่าที่ 3 เพิ่มความแข็งแรง ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ๆ ให้ครบ

วิธีทำ

  1. นอนราบกับพื้น ยกขาสองข้างขึ้นเหยียดตรง สลับขาซ้ายและขวาให้ไขว้กันไว้ ในท่าเริ่ม
  2. ต่อมาให้สลับขาขวามาไขว้ขาซ้าย ทำสลับกันไปเรื่อย ๆ โดยพยายามเกร็งขาเอาไว้ให้เหยียดตรงตลอดเวลา

ทำจำนวน : 10 ครั้ง 5 เซต

ท่าที่ 4 เพิ่มความแข็งแรง ต้นขาดูกระชับขึ้น

วิธีทำ

  1. เริ่มจากนอนตะแคงซ้าย (หรือถ้าใครอยากจะเริ่มที่ขวาก็ไม่ว่ากันจ้า) ใช้ข้อศอกเท้าหัวไว้ จากนั้นให้ยกขาซ้ายขึ้นให้สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วพยายามเกร็งค้างไว้อย่างน้อย 3 วินาที แต่ถ้าใครไหว 5 วินาทีไปเลยจ้า กระชับแน่นอน
  2. จากนั้นให้เอาขาลง ทำครบ 10 ครั้ง แล้วสลับไปทำขาขวา

ทำจำนวน : 10 ครั้ง 5 เซต

วิธีออกกำลังกาย สำหรับมือใหม่

สำหรับเวลานี้การออกกำลังกายนั้นถือว่าเป็นที่ยอดฮิตอย่างมากและได้รับความนิยมและสำหรับใครที่เริ่มอยากออกกำลังกายนั้นแต่ผู้ที่ไม่เคยออกกำลังกายมาก่อนเลยอาจเกิดความสงสัยว่าควรเริ่มต้นอย่างไรดี ? เพราะการออกกำลังกายเพื่อผลลัพธ์ที่ดีนั้นจำเป็นต้องใช้เวลาและต้องมีวินัยเป็นอย่างมาก ซึ่งการศึกษาแนวทางสำหรับมือใหม่ด้านการออกกำลังกายนี้ จะช่วยเสริมสร้างนิสัยรักการออกกำลังกาย และช่วยส่งเสริมสุขภาพจากการออกกำลังอย่างถูกวิธีได้

การออกกำลังกายส่งผลดีต่อสุขภาพอย่างไร ?

มีงานวิจัยพบว่าการออกกำลังกายเป็นประจำส่งผลดีต่อสุขภาพและช่วยในการลดน้ำหนัก โดยจะช่วยควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม รักษามวลกล้ามเนื้อและระดับพลังงานในร่างกายให้คงที่ อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคและปัญหาสุขภาพบางอย่าง เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน และโรคอ้วน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีงานค้นคว้าที่พบว่าการออกกำลังกายอาจช่วยทำให้สภาพอารมณ์และสุขภาพจิตดี นอนหลับได้ดีขึ้น และอาจช่วยส่งเสริมให้มีเพศสัมพันธ์ได้ดีขึ้นอีกด้วย

คำแนะนำก่อนเริ่มออกกำลังกาย

ก่อนเริ่มออกกำลังกาย ควรปรึกษาแพทย์และเข้ารับการตรวจร่างกาย โดยเฉพาะผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับการใช้กำลังอย่างหนักและผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป ซึ่งการตรวจร่างกายจะช่วยให้แพทย์ตรวจพบปัญหาสุขภาพบางอย่างที่อาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บขณะออกกำลังกายได้ อีกทั้งยังช่วยให้สามารถวางแผนการออกกำลังกายได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัยด้วย

นอกจากนี้ เพื่อการออกกำลังกายอย่างถูกต้องและส่งผลดีต่อสุขภาพ ผู้ที่เริ่มต้นออกกำลังกายควรเตรียมตัวและปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้

ตั้งเป้าหมาย ก่อนเริ่มออกกำลังกาย ควรเขียนแผนการออกกำลังกายที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งไว้ โดยอาจเริ่มด้วยการตั้งเป้าหมายเล็ก ๆ ที่สามารถทำได้ แล้วค่อย ๆ ตั้งเป้าหมายให้ใหญ่ขึ้นเมื่อร่างกายปรับตัวได้และแข็งแรงขึ้น ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยให้ออกกำลังกายตามแผนที่วางไว้จนสำเร็จ รวมทั้งช่วยกระตุ้นและสร้างกำลังใจให้ตัวเองอีกด้วย

ฝึกออกกำลังกายให้เป็นนิสัย เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ทำตามเป้าหมายได้สำเร็จ ซึ่งการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเป็นระยะเวลานานจะช่วยสร้างนิสัยรักการออกกำลังกาย โดยมีงานวิจัยที่พบว่า การปรับเปลี่ยนลักษณะการใช้ชีวิตโดยหันมาดูแลสุขภาพตนเองเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้มีสุขภาพที่ดีในระยะยาว นอกจากนี้ การจัดตารางเวลาเพื่อออกกำลังกายหรือออกกำลังกายในเวลาเดิมทุกวันก็เป็นวิธีที่ดีที่จะช่วยเสริมสร้างการออกกำลังกายให้เป็นนิสัยในระยะยาวได้

วิธีฟิตร่างอย่างง่าย ๆ สำหรับผู้ที่เริ่มออกกำลังกายใหม่ ๆ

ผู้ที่ไม่เคยออกกำลังกายมาก่อนอาจเริ่มเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกายและสุขภาพที่ดี ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

คาร์ดิโอ เป็นวิธีที่ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น โดยอาจเริ่มออกกำลังกายแบบแอโรบิกอย่างการเดินหรือวิ่งประมาณ 20-30 นาที 4-5 ครั้งต่อสัปดาห์ และวัดว่าการออกกำลังกายที่ทำอยู่นั้นหนักเกินไปหรือไม่ด้วยการพูด หากสามารถพูดคุยได้ตามปกติโดยไม่หอบเหนื่อยจนเกินไปแสดงว่าออกกำลังกายอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม แต่หากยังสามารถร้องเพลงขณะออกกำลังกายได้ ควรเพิ่มความหนักหน่วงของการออกกำลังกายให้มากขึ้น

การฝึกกล้ามเนื้อ อาจเริ่มฝึกกล้ามเนื้อมัดใหญ่ โดยเลือกอุปกรณ์สำหรับฝึกกล้ามเนื้อที่สามารถยกได้เซ็ตละ 8-12 ครั้ง แล้วค่อย ๆ เพิ่มน้ำหนักหรือจำนวนครั้งให้มากขึ้น และเพื่อผลลัพธ์ที่ดีควรบริหารกล้ามเนื้อสัปดาห์ละ 2 ครั้ง แต่ห้ามฝึกกล้ามเนื้อกลุ่มเดียวกันติดกัน 2 วัน

การออกกำลังกายแบบยืดหยุ่น สถาบันอบรมผู้ฝึกสอนการออกกำลังกายแห่งสหรัฐอเมริกา (The American College on Exercise) แนะนำว่าควรยืดกล้ามเนื้อแบบอยู่กับที่ครั้งละ 10-30 วินาที สัปดาห์ละ 3-7 ครั้ง ซึ่งการออกกำลังกายแบบยืดหยุ่นนี้จะช่วยลดการสูญเสียมวลกระดูก ช่วยให้การทรงตัวดีขึ้น และลดความเสี่ยงของการหกล้มในผู้สูงอายุอีกด้วย

ทั้งนี้ ก่อนเริ่มต้นออกกำลังกายควรอบอุ่นร่างกายประมาณ 5-10 นาที เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดและเตรียมร่างกายให้พร้อม เมื่อออกกำลังกายเสร็จก็ควรคลายกล้ามเนื้อเพื่อปรับอัตราการเต้นของหัวใจและความดันเลือดให้กลับมาเป็นปกติด้วย

เคล็ดลับ 8 ประการใน การดูแลสุขภาพ โดย หมอแดง ดื้อโรคยา

หากทุกคนปฏิบัติตามนี้ได้ย่อมจะมีสุขภาพแข็งแรง แม้ว่าตอนเริ่มต้นจะรู้สึกว่าทำยาก แต่จงจำไว้ว่าร่างกายเป็นเสาหลักที่ทำให้เราประสบ จึงต้องดูแลรักษาร่างกายซึ่งเปรียบเสมือนสิ่งล้ำค้าไว้ อาจจะต้องบังคับตัวเองบ้างก็มิใช่เรื่องยากเกินไป

เคล็ดลับ 8 ประการใน การดูแลสุขภาพ โดย หมอแดง ดิอโรคยา

ทุกวันนี้เวลาไปเดินตามห้างสรรพสินค้าที่มีสถานที่ออกกำลังกายตั้งอยู่ เมื่อลองมองเข้าไปเราจะเห็นได้ว่า มีคนหลากหลายวัยทั้งหญิงและชาย เข้าไปใช้บริการกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่น่ายินดี ที่คนยุคใหม่หันมาออกกำลังกายเพื่อสุขภาพกันมากขึ้น แต่ความจริงแล้ว การออกกำลังกายแต่เพียงอย่างเดียว อาจไม่สามารถตอบโจทย์สุขภาพดีได้ทั้งหมด

เมื่อใดก็ตามที่เรามุ่งเน้นการออกกำลังกาย สร้างกล้ามเนื้อ เผาผลาญไขมันอย่างหนัก แต่กลับยังมีพฤติกรรมการกินอยู่และการพักผ่อนที่ไม่เหมาะสม เช่น หลังออกกำลังกายอย่างหนัก สูญเสียเหงื่อมาก จึงทดแทนด้วยน้ำหวาน-เย็นขวดใหญ่ และ อาหารมื้อหนักที่อุดมด้วยเนื้อสัตว์แต่ขาดไฟเบอร์และวิตามิน-แร่ธาตุจากผักผลไม้ หรือบางท่านออกกำลังกายจัดหนักในเวลาค่ำยันดึก ที่ควรเป็นเวลาพักผ่อนนอนหลับมากกว่า

เพราะฉะนั้นหากต้องการมีสุขภาพดีแบบองค์รวม เรามีเคล็ดลับดีๆ ของหมอแดงมาฝากให้ลองนำไปปฏิบัติกัน นอกเหนือจากการออกกำลังกาย ดังนี้

1. ควรดื่มน้ำให้พอเพียงในแต่ละวัน ร่างกายประกอบด้วยน้ำ 70 กว่าเปอร์เซ็นต์ เลือดประกอบด้วยน้ำ 90 กว่าเปอร์เซ็นต์ ถ้าขาดน้ำ เลือดก็จะข้น หนืด ไหลเวียนไม่สะดวก หัวใจก็จะต้องทำงานหนักเพราะต้องปั๊มเลือดที่หนืดข้นไปเลี้ยงร่างกาย ตับไตก็จะทำงานหนัก ในการขับกรองของเสียออกจากเลือดที่หนืดข้น

เคล็ดลับ 8 ประการใน การดูแลสุขภาพ โดย หมอแดง ดิอโรคยา

การดื่มน้ำที่ถูกวิธี

– หลังตื่นนอนดื่ม 2-3 แก้ว ช่วยให้เลือดไม่หนืด และกระบวนการขับของเสียทำงานได้ดีขึ้น

– ระหว่างวันดื่มให้ได้ วันละ 1.5-2 ลิตร โดยวิธีการแบ่งดื่มครั้งละประมาณครึ่งแก้ว แต่ดื่มบ่อยๆ

– ก่อนและหลังอาหาร 30 นาที ไม่ควรดื่ม หากกระหายให้ใช้การจิบ เพื่อรักษาความเข้มข้นของน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร

*** หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเย็นจัด น้ำเย็นจัดจะลงไปดับไฟย่อยอาหาร (เจือจางน้ำย่อย) จนไฟมอด อาหารจึงไม่ย่อย พากันหมักจนเป็นแก๊สพิษขึ้นมา เผาปาก เผาคอ เผาต่อมไทรอยด์ ต่อมทอนซิลอักเสบ เป็นแผลในปากคอ มีกลิ่นปาก ***

เคล็ดลับ 8 ประการใน การดูแลสุขภาพ โดย หมอแดง ดิอโรคยา

2. อาหารเช้าคือมื้อที่สำคัญที่สุด ตามหลักนาฬิกาชีวิต ควรรับประทานมื้อเช้าในเวลา 7-9 โมงเช้า เพราะเป็นเวลาที่พลังชีวิตเดินผ่านเส้นลมปราณกระเพาะอาหาร…การทานอาหารเวลานี้ จะทำให้ร่างกายได้รับคุณค่าจากสารอาหารอย่างมีประสิทธิภาพสูงที่สุด คนที่ไม่ชอบทานอาหารมื้อเช้า มักทำร้ายร่างกายโดยไม่ตั้งใจเพราะ 

การอดอาหารในเวลาที่ร่างกายต้องการอาหารอย่างมาก นานวันเข้า จะทำให้เกิดความเสื่อมของเซลล์ เกิดการป่วยด้วยโรคต่างๆ เพราะอวัยวะภายในเสื่อมและหย่อนพิการลง จึงไม่ต้องแปลกใจว่า คนที่ไม่ชอบทานอาหารเช้า แต่ทดแทนด้วยกาแฟและอาหารที่ไม่มีประโยชน์ จะมีสุขภาพร่างกายที่อ่อนแอ อ่อนเพลียเรื้อรัง โรคกระเพาะถามหา และโลหิตจาง ดังนั้นอย่าลืมเติมสารอาหารที่มีประโยชน์ให้กับร่างกายทุกเช้า

เคล็ดลับ 8 ประการใน การดูแลสุขภาพ โดย หมอแดง ดิอโรคยา

3. ลดการบริโภคนม และผลิตภัณฑ์จากนม เพราะองค์ประกอบของนมวัวกับนมคนนั้นแตกต่างกันมาก นมวัวมีแคลเซียมมากกว่านมคนประมาณ 4 เท่า มีโปรตีนมากกว่า 3 เท่า แต่มีคาร์โบไฮเดรตเพียง 2 ใน 3 ของนมคน โครงสร้างและอัตราการเจริญเติบโตที่แตกต่างกัน ระหว่างลูกวัวกับทารก ทำให้องค์ประกอบเหล่านี้ มีสัดส่วนแตกต่างกัน

นมวัวเหมาะที่จะใช้เลี้ยงลูกวัว ซึ่งมีน้ำหนักแรกเกิดถึง 40 กิโลกรัม แค่อายุ 2 ปี น้ำหนักก็ขึ้นได้ถึง 900 กว่ากิโลกรัม ส่วนทารกมีน้ำหนักแรกเกิด 2 – 3 กิโลกรัม อยู่จนอายุ 20 ปี น้ำหนักตัวเฉลี่ยก็เพียง 68 กิโลกรัม ซึ่งเป็นอัตราการเจริญเติบโตที่แตกต่างกันมาก

เคล็ดลับ 8 ประการใน การดูแลสุขภาพ โดย หมอแดง ดิอโรคยา

 4. รับประทานเนื้อสัตว์ให้น้อยลง ทานผักให้มากขึ้น โครงสร้างของมนุษย์ไม่ใช่สัตว์กินเนื้อ เป็นสัตว์ประเภท กินผัก ผลไม้ เมล็ดธัญพืชเป็นอาหาร เพราะลำไส้ยาวกว่าสัตว์กินเนื้อมาก แต่น้ำย่อยมีความเข้มข้นน้อยกว่าถึง 20 เท่า การบริโภคเนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์ที่มาจากเนื้อสัตว์มากเกินไป ทำให้เส้นทางเดินอาหารอ่อนแอลง นำไปสู่ความผิดปกติของลำไส้ในแบบต่างๆ โปรตีนจากสัตว์เริ่มเน่าทันทีเมื่อสัตว์ถูกฆ่า ซึ่งผิดกับโปรตีนของพืชผักและธัญพืช จะไม่เน่าเสียก่อนที่จะกิน การแช่ตู้เย็น หรือสารกันบูดก็พอจะช่วยให้เนื้อสัตว์ไม่เน่าได้ แต่เมื่อถูกนำมาปรุงอาหารแล้วก็จะเริ่มเน่าเสียแล้ว

นอกจากนี้ยังมีโรคติดเชื้อในเนื้อสัตว์ สารพิษตกค้างในอาหารที่มาจากสัตว์ด้วย สัตว์ที่เลี้ยงเพื่อเป็นอาหารจะถูกเลี้ยงด้วยฮอร์โมนเพื่อจะได้อ้วนเร็วๆ แล้วต้องโตเร็วๆ ด้วย ก็ต้องใช้ยาปฏิชีวนะเร่ง ไก่ซึ่งเคยใช้เวลาเลี้ยง 8 เดือนกว่าจะนำมาขายเป็นไก่เนื้อได้ ในปัจจุบันเขาเลี้ยงกันแค่ 45 วันก็ขายได้ แล้วสารเคมีแปลกปลอมที่เร่งโต และยาปฏิชีวะนะที่สะสมอยู่ในเนื้อสัตว์จะมีมากเพียงใด

เคล็ดลับ 8 ประการใน การดูแลสุขภาพ โดย หมอแดง ดิอโรคยา

 5. ลดการบริโภคน้ำตาลลง เราทราบกันดีว่าน้ำตาลนั้นให้พลังงานแก่ร่างกาย เมื่อเรารู้สึกเหนื่อยถ้าได้ดื่มอะไรหวานๆ เช่น น้ำอัดลม น้ำหวาน เครื่องดื่มชูกำลังที่วางขายกันดาษดื่น เราก็จะรู้สึกสดชื่นมีกำลัง แต่สักพักก็จะรู้สึกเหนื่อยใหม่ ก็ดื่มกินกันใหม่ โดยไม่ได้คิดถึงโทษจาการบริโภคน้ำตาลมากเกินไป ปกติแล้วเราควรบริโภคน้ำตาลไม่เกิน 7 ช้อนชาต่อวัน 

เพื่อไม่ให้ตับอ่อนเราต้องทำงานหนักในการผลิตอินซูลินเพื่อมาจัดการกับน้ำตาล แต่ทุกวันนี้เราบริโภคน้ำตาลกันจนล้น เมื่อน้ำตาลมากเกินไป ร่างกายก็จะจัดการนำไปเก็บไว้ที่ตับและกล้ามเนื้อในรูปของไขมัน รอเวลาขาดแคลนจึงจะนำออกมาใช้

ไม่ใช่มีแค่โรคเบาหวานอย่างเดียว มีโรคอีกมากมายที่เกิดจาก “ความหวาน” นี้ ความหวานนี้เป็นอาหารที่เชื้อโรคต่างๆ ชอบมาก เชื้อรา แบคทีเรีย จุลินทรีย์ จะพากันเริงร่าเมื่อมีความหวาน สังเกตว่าเมื่อบริโภคหวาน ไม่ว่าจากน้ำตาลโดยตรง หรือจะเป็นผลไม้หวานมากๆ จะมีอาการคัน เชื้อรากำเริบ และจะรู้สึกเมื่อยเนื้อเมื่อยตัวมาก

รสหวานนั้นเป็นหยาง (ร้อน) เมื่ออาหารที่รับประทานเข้าไปไม่ย่อย และเมื่อไม่ย่อยบวกกับความหวานก็จะเกิดการหมัก กลายเป็นกรด เป็นแก๊สเสียขึ้น และถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย กระแสเลือด เมื่อร่างกายถูกหล่อเลี้ยงด้วยของเสียก็ย่อมเจ็บป่วย

6. ควรเข้านอนไม่เกิน 5 ทุ่ม ปัจจุบันเราต่างพากันขยายเวลากลางวันเข้าไปทดแทนเวลากลางคืน ไม่ยอมหลับยอมนอนกัน ดูทีวี เล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ เที่ยวกลางคืน หรือไม่ก็ทำงานกันทั้งคืน แล้วก็มานอนเอาตอนรุ่งสาง โดยมีความคิดว่า มันเงียบดี ไม่มีใครมารบกวน ได้งานเยอะ เห็นมาหลายรายว่าอยู่ได้ไม่กี่น้ำ ทำอยู่ได้ไม่กี่ปี ก็จะค่อยๆ สะสมความเจ็บป่วย มีโรคสะสมเพิ่มขึ้นๆ จนกระทั่งหนักหนาสาหัสนั่นแหละถึงจะรู้สึกตัว

ชีวิตของเรานั้น ต้องมีชีวิตอยู่จนกว่าจะหมดอายุไข เสื่อมตามวัย และเสียชีวิตไปเอง ดังนั้น ต้องดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ดำเนินชีวิตโดยยึดนาฬิกาแห่งชีวิตบ้าง เราควรจะนอนไม่เกิน 5 ทุ่ม

7. เอาพิษออกจากร่างกาย ปัจจุบันนี้เราต้องเผชิญกับ “พิษ” ที่มีอยู่รอบตัวเรา มีทั้งสารพิษ อากาศที่เป็นมลพิษ อาหารที่มีพิษ รวมทั้งพิษที่เราสร้างขึ้นเองในร่างกาย ที่เกิดจากการย่อยไม่ได้ ถ่ายไม่ดี อาหารก็คั่งค้างหมักหมมกลายเป็นสารพิษอยู่ในกระเพาะลำไส้ แล้วถูกดูดซึมเข้าไปหล่อเลี้ยงร่างกาย เข้าอยู่ในกระแสเลือด ร่างกายจึงอุดมด้วยพิษ การเอาพิษออกจากร่างกายทำให้หลากหลายวิธี เช่น

– สวนล้างลำไส้ พิษที่เยอะที่สุดคือลำไส้ใหญ่ ที่ยาวประมาณ 5-6 ฟุต ถ้าอาหารไม่ย่อยด้วยแล้ว อาหารที่ว่าดีๆ ที่รับประทานเข้าไปก็จะไหลมาคั่งค้างเน่าเหม็นอยู่ที่ลำไส้ใหญ่นี้ ถ้าเป็นไปได้ ลองหาเวลาเข้าคอร์สล้างพิษตับก็เป็นวิธีที่เร็วที่สุด
– อดอาหาร 24 ชั่วโมง โดยดื่มแต่น้ำเปล่า น้ำผลไม้ หรือผลไม้ชนิดเดียวทั้งวัน โดยมากจะใช้ มะละกอ แคนตาลูป หรือฝรั่ง เพื่อกระตุ้นให้กระบวนการขับพิษในร่างกายทำงาน
– นวดกดจุด นวดตัว นวดเท้า การกัวซา (ขูดพิษที่ผิวหนัง) เพื่อขับของเสีย
– รับประทานยาถ่ายหรือยาระบายบ้าง เช่น ส้มแขก มะขามแขก ธรณีสัณฑะฆาต จตุผลาธิกะ ตรีผลา หรือเบญจพันธุ์
– ทำ Oil Pulling

เคล็ดลับ 8 ประการใน การดูแลสุขภาพ โดย หมอแดง ดิอโรคยา

8. อย่าลืม แบ่งเวลาเพื่อออกกำลังกายในแต่ละวันแต่พอดี ไม่หักโหมหรือละเลย และหมั่นสร้างความดี ทำให้จิตใจสบาย ถ้ามีความเกลียดชังในหัวใจ โรคภัยจะมาเยือน

หากทุกคนปฏิบัติตามนี้ได้ย่อมจะมีสุขภาพแข็งแรง แม้ว่าตอนเริ่มต้นจะรู้สึกว่าทำยาก แต่จงจำไว้ว่าร่างกายเป็นเสาหลักที่ทำให้เราประสบ จึงต้องดูแลรักษาร่างกายซึ่งเปรียบเสมือนสิ่งล้ำค้าไว้ อาจจะต้องบังคับตัวเองบ้างก็มิใช่เรื่องยากเกินไป 

ถ้ายืนหยัดทำอย่างนี้อย่างต่อเนื่อง ปรับเปลี่ยนจนเกิดความเคยชิน การมีสุขภาพดีก็จะกลายเป็นเรื่องง่ายและติดเป็นนิสัย ทั้งนี้เพราะร่างกายของเราจะตอบสนองต่อตัวเราเอง

เคล็ดลับ 8 ประการใน การดูแลสุขภาพ โดย หมอแดง ดิอโรคยา

เคล็ดลับ 8 ประการใน การดูแลสุขภาพ โดย หมอแดง ดื้อโรคยา

วิธีดูแลสุขภาพ

เคล็ดลับ “ลดน้ำหนัก” ที่ไม่ใช่แค่ “กินน้อยลง-ออกกำลังกาย” ถึงจะเห็นผล

ไม่ใช่เพียงแต่กินให้น้อยลง และออกกำลังกายเท่านั้น หากคุณอยากลดน้ำหนักอย่างได้ผล และรวดเร็ว ยังมีเคล็ดลับเพิ่มเติมที่อยากแนะนำให่ได้ลองทำควบคู่กันไปด้วย

หลายคนอาจคิดว่า การลดน้ำหนัก หรือลดความอ้วน ทำได้ง่าย ๆ เพียงแค่กินอาหารให้น้อยลง และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่จริง ๆ แล้วยังมีเคล็ดลับเพิ่มเติมอีกเล็กน้อย ที่จะช่วยให้การลดน้ำหนักเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น (อีกนิด) และเห็นผลได้ไวขึ้น

เคล็ดลับ “ลดน้ำหนัก” ที่ไม่ใช่แค่ “กินน้อยลง-ออกกำลังกาย” ถึงจะเห็นผล

เคล็ดลับ “ลดน้ำหนัก” ที่คุณอาจไม่รู้

  • ลดกินเค็ม

ถึงแม้ว่าจะกินอาหารน้อยลงแล้ว แต่หากยังกินอาหารรสจัด โดยเฉพาะรสเค็มอยู่ ก็ยังเสี่ยงน้ำหนักลงยากขึ้น เพราะโซเดียมทำให้ตัวบวม โซเดียมที่สะสมอยู่ในร่างกายมากเกินความจำเป็นในปริมาณ 400 มิลลิกรัม ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเกือบ 1 กิโลกรัมได้เลยทีเดียว ดังนั้นใครที่ตั้งใจจะลดน้ำหนักด้วยการรับประทานส้มตำปูปลาร้า ยำต่าง ๆ โปรดระวังการปรุงรสด้วย อย่าปรุงรสจัดจนเกินไป
นอกจากนี้ การรับประทานรสเค็มมาก ๆ ยังเป็นการเพิ่มระดับเกรลิน (ฮอร์โมนหิว) จึงอาจทำให้เรายิ่งเจริญอาหารมากกว่าเดิมได้อีกด้วย
อยากจะแนะนำให้ลดการปรุงรสอาหาร ไม่ใช่แค่รสเค็ม รวมถึงรสหวาน (น้ำตาล) และมัน (จากไขมันไม่ดี) ด้วย

  • เน้นโปรตีนดี ไขมันดี แป้งเชิงซ้อน และใยอาหารสูง

ช่วงลดน้ำหนัก นอกจากจะจำกัดปริมาณอาหารที่รับประทานแล้ว ควรเน้นไปที่อาหารประเภทโปรตีนดี (ไขมันจากสัตว์น้อย เช่น อกไก่ ไข่ขาว เนื้อปลาเลาะหนัง ถั่วต่าง ๆ) ไขมันดี (น้ำมันมะกอก อะโวคาโด) แป้งเชิงซ้อน (ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท) และใยอาหารสูง (ธัญพืชต่าง ๆ ผักผลไม้สด ไม่คั้นแยกกาก) และอย่าลืมว่าต้องกินให้ครบ 5 หมู่ทุกมื้อ

  • รับประทานอาหารให้เป็นเวลา

อยากให้ลืมเรื่องการแบ่งมื้ออาหารออกเป็นหลาย ๆ มื้อเพื่อให้ท้องอิ่มอยู่ตลอดเวลาไปก่อน เพราะจริง ๆ แล้วการปล่อยให้ร่างกายเข้าสู่โหมด fasting หรืออดอาหารบ้าง จะส่งผลดีต่อร่างกายได้มากกว่า รวมถึงช่วงที่ลดน้ำหนักด้วย เพราะฉะนั้นการรับประทานให้ตรงเวลา ไม่มีมื้อย่อย มื้อของว่าง มื้อสาย หรือมื้อดึก จะช่วยให้ลดน้ำหนักได้ดีขึ้นมากกว่า

เคล็ดลับ “ลดน้ำหนัก” ที่ไม่ใช่แค่ “กินน้อยลง-ออกกำลังกาย” ถึงจะเห็นผล
  • ออกกำลังกายทั้งคาร์ดิโอ และเวทเทรนนิ่ง

หลายคนที่กำลังลดน้ำหนักอาจจะวิ่ง ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ หรือเต้นแอโรบิคเป็นบ้าเป็นหลัง ซึ่งเป็นการเผาผลาญพลังงานส่วนเกินของร่างกายออกไปอย่างได้ผล แต่อันที่จริงแล้วหากอยากออกกำลังกายด้วยคาร์ดิโออย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเผาผลาญพลังงานได้มากขึ้น แม้จะใช้เวลาเท่าเดิม จะต้องออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่งควบคู่กันไปด้วย เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง สามารถคาร์ดิโอได้ดียิ่งขึ้น เช่น กล้ามเนื้อขาแข็งแรง หัวใจแข็งแรง ก็จะสามารถวิ่งได้นานขึ้น ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ หรือแอโรบิคได้นานขึ้นนั่นเอง

สิ่งสำคัญที่สุดของการลดน้ำหนัก คือ การมีวินัยในตัวเอง ทำให้ได้แบบเดิมเรื่อย ๆ นาน ๆ ไม่ใจอ่อนเผลอกินอาหารพลังงานสูง หรืองดเว้นจากการออกกำลังกายไปนาน ๆ และต้องให้เวลากับการลดน้ำหนัก อย่าใจร้อน ไม่ควรน้ำหนักลดเกิน 1 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ และไม่เกิน 4 กิโลกรัมต่อเดือน เพราะหากน้ำหนักลดลงรวดเร็วเกินไป จะส่งผลเสียต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย และยังมีความเสี่ยงที่น้ำหนักจะกลับมาเท่าเดิม หรือมากกว่าเดิม เพราะการเผาผลาญพลังงานในร่างกายเปลี่ยนไปได้อีกด้วย

สิ่งที่ไม่ควรทำเพื่อลดน้ำหนัก

1.อดอาหาร: การอดอาหารทำให้น้ำหนักลดลงในช่วงแรกเร็ว เนื่องจากการขาดน้ำ แต่ในความเป็นจริงปริมาณไขมันสะสมในร่างกายไมได้ลดลงด้วยเลย ซึ่งในทางตรงกันข้าม หากกลับมากินอาหารเหมือนเดิม จะทำให้น้ำหนักเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมด้วย

2.กินยาลดความอ้วน: ยาลดความอ้วน ทำให้ความอยากอาหารลดลง ยาลดความอ้วนบางชนิดมีการผสมสารที่เป็นอันตรายเพื่อกระตุ้นร่างกายให้เพิ่มการใช้พลังงาน ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง และหัวใจขาดเลือด หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ จนถึงเสียชีวิตได้ โดยภาพรวมยาลดอ้วนนั้นมีอันตรายมากกว่าประโยชน์ที่ได้รับ ดังนั้นจึงไม่ควรใช้ยาลดความอ้วนโดยไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลรักษาของแพทย์อย่างใกล้ชิด