3 สูตรน้ำขิง ทำกินง่ายประโยชน์มหาศาล ลดน้ำหนัก แก้ปวดประจำเดือน แก้สิวฝ้ากระ

“ขิงเป็นสมุนไพรที่มีส่วนช่วยเพิ่มอัตราการทำงานของระบบเผาผลาญ จึงทำให้ร่างกายเกิดการเผาผลาญไขมันได้มากกว่าปกติ และมีส่วนช่วยในการลดน้ำหนักอย่างได้ผล”

แชร์เก็บไว้เลย 3 สูตรน้ำขิง ทำกินง่ายประโยชน์มหาศาล ลดน้ำหนัก แก้ปวดประจำเดือน แก้สิวฝ้ากระ

น้ำขิงช่วยลดน้ำหนักได้อย่างไร?

นักวิจัยชาวญี่ปุ่น L.K. Han ที่ได้ตีพิมพ์ประโยชน์ของสมุนไพรชนิดนี้ลงในวารสารวิชาการ Journal of the Pharmaceutical Society of Japan ในปี 2008 ไว้ว่า

“ขิงเป็นสมุนไพรที่มีส่วนช่วยเพิ่มอัตราการทำงานของระบบเผาผลาญ จึงทำให้ร่างกายเกิดการเผาผลาญไขมันได้มากกว่าปกติ และมีส่วนช่วยในการลดน้ำหนักอย่างได้ผล”

นอกจากนี้ การดื่มน้ำขิงอุ่นๆ ยังเป็นผลดีต่อระบบขับถ่าย ช่วยลดอาการท้องผูก และลดระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล อันเป็นสาเหตุของความเครียดได้เป็นอย่างดี เพราะเวลาที่เราเครียดก็จะยิ่งทำให้มีแนวโน้มกินอาหารที่มีแคลอรีสูงหรือกินของหวานเพิ่มมากยิ่งขึ้น จนทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้ ฉะนั้น น้ำขิงจึงเหมาะสำหรับสาวๆ ที่ต้องการดื่มลดน้ำหนักด้วยตัวเองอย่างมากที่สุด

ประโยชน์ด้านอื่นๆของน้ำขิง

นอกจากน้ำขิงจะดื่มลดน้ำหนักได้แล้ว ขิงยังเปี่ยมไปด้วยสรรพคุณทางยาหลายประการ ได้แก่

1. ช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และช่วยขับลม

2. ช่วยให้คนท้องลดอาการแพ้ท้อง หรือช่วยฟื้นฟูร่างกายหลังคลอดบุตร

3. ลดรอยสิวและฝ้ากระได้

4. แก้คลื่นไส้อาเจียน

5. ช่วยแก้ปวดประจำเดือน

6. ช่วยต่อต้านเชื้อโรค

เรียกได้ว่า น้ำขิงมีประโยชน์รอบด้านจริงๆ ดังนั้น มาลองดูสูตรน้ำขิงที่ทำเองกันง่ายๆที่บ้านดีกว่า จะได้รับประโยชน์ไปด้วยกัน

3 สูตรน้ำขิง ทำกินง่ายประโยชน์มหาศาล ลดน้ำหนัก แก้ปวดประจำเดือน แก้สิวฝ้ากระ

สูตรลดน้ำหนักด้วยน้ำขิง

ใครกำลังมองหาวิธีลดน้ำหนักด้วยตัวเองในแบบง่ายๆ แนะนำให้ลองทำน้ำขิงดื่มเพื่อเป็นสูตรลดน้ำหนักในแบบธรรมชาติกันดูดังนี้ค่ะ

สูตรที่ 1 สูตรน้ำขิงร้อนๆ ที่ได้จากขิงสด

ส่วนผสมที่ใช้ : ขิงสดบด 1 1/2 ช้อนชา + น้ำร้อน 1 แก้ว

วิธีทำ

1. ตักขิงสดที่บดแล้วใส่ลงไปในแก้วน้ำร้อนที่เตรียมไว้

2. คนให้ส่วนผสมเข้ากัน แล้วค่อยๆ จิบตามต้องการ

หมายเหตุ : สำหรับใครที่ต้องการจิบน้ำขิงแบบเข้มข้น สามารถเพิ่มปริมาณของขิงบดลงไปได้อีก

3 สูตรน้ำขิง ทำกินง่ายประโยชน์มหาศาล ลดน้ำหนัก แก้ปวดประจำเดือน แก้สิวฝ้ากระ

สูตรที่ 2 สูตรน้ำขิงผสมมะนาว (สูตรทานง่าย)

ส่วนผสมที่ใช้ : ขิงสดขนาด 1/2 นิ้ว + น้ำมะนาวหรือน้ำเลมอน + น้ำผึ้ง

วิธีทำ

1. เตรียมน้ำอุ่นใส่แก้วไว้ 1 ใบ

2. นำขิงมาแช่ลงในแก้วน้ำอุ่นประมาณ 3-5 นาที

3. เติมน้ำมะนาวลงไปเล็กน้อย หรือฝานมะนาวให้เป็นแผ่นบางๆ นำลงไปแช่ต่อในแก้วน้ำ

4. เติมน้ำผึ้งลงไปอีก 1/2 ช้อนชา เพื่อช่วยลดรสชาติเผ็ดร้อนจากขิง และยังช่วยให้ได้รสชาติที่หอมหวานกลมกล่อมยิ่งขึ้น

3 สูตรน้ำขิง ทำกินง่ายประโยชน์มหาศาล ลดน้ำหนัก แก้ปวดประจำเดือน แก้สิวฝ้ากระ
3 สูตรน้ำขิง ทำกินง่ายประโยชน์มหาศาล ลดน้ำหนัก แก้ปวดประจำเดือน แก้สิวฝ้ากระ

สูตรที่ 3 สูตรผสม

(เก็บไว้ชงทานได้นาน)

ส่วนผสมที่ใช้ : ขิงแก่ + ข่าแก่ +ตะไคร้

วิธีทำ

1. ล้างให้สะอาด ปอกเปลือกขิงและข่าออก

2. หั่นสมุนไพรแต่ละชนิดออกเป็นชิ้นบางๆ นำเข้าเตาอบอบด้วยอุณภูมิประมาณ 40-60 องศาเซลเซียส นาน 3 ชั่วโมงหรือวางสมุนไพรบนถาดแสตนเลสจากนั้นยกไปตากแดด 2 วัน จนกว่าสมุนไพรจะแห้ง

3. นำตัวยาที่ได้มาเทใส่โหลแก้วเก็บไว้ให้ปลอดจากความชื้น

4. หากจะใช้ดื่มให้หยิบตัวยาประมาณ 1 หยิบมือใส่ลงในแก้ว เทนำร้อนลงไปเกือบเต็มแก้ว ปิดฝาทิ้งไว้ 15 นาที และดื่มในขณะที่ยังอุ่นๆ จะให้ผลที่ดีที่สุด

ภูมิปัญญาอย่างไทย แต่ช่วยให้สุขภาพและคุณภาพชีวิตของคุณดีขึ้นได้จริงๆ ใครกำลังป่วย ใครกำลังต้องการลดความอ้วน หรือใครที่ต้องการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงจากภายใน สามารถใช้ทั้งสามสูตรนี้ได้เลยตามใจชอบ รับรองว่าดีทั้งนั้น

3 สูตรน้ำขิง ทำกินง่ายประโยชน์มหาศาล ลดน้ำหนัก แก้ปวดประจำเดือน แก้สิวฝ้ากระ

10 สัญญาณที่บอกว่าคุณหรือเขากำลังใกล้ตาย​​/ดร.สุพาพร เทพยสุวรรณ

10 สัญญาณที่บอกว่าคุณหรือเขากำลังใกล้ตาย​​/ดร.สุพาพร เทพยสุวรรณ

10 สัญญาณที่บอกว่าคุณหรือเขากำลังใกล้ตาย​​/ดร.สุพาพร เทพยสุวรรณ

ไม่มีใครสามารถพยากรณ์ถึงวันตายของตนเองได้ แต่ทั้งแพทย์และพยาบาลผู้ที่มีประสบการณ์กับคนไข้ที่ใกล้ตายเกือบจะทุกวันสามารถบอกถึงอาการของคนไข้ที่เริ่มหมดอายุขัยได้ อาการดังกล่าวเหล่านี้ เป็นอาการของวัยที่เสื่อมสภาพ แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนจะต้องมีอาการทั้งหมดดังที่จะกล่าวถึงนี้ แต่อาจจะมีอาการดังกล่าวรวมกัน 4-5 ข้อ ดังจะกล่าวต่อไปนี้ 
        1. เบื่ออาหาร ร่างกายของคนเราต้องการพลังงานเพื่อขับเคลื่อนต่อไป หากมีใครปฏิเสธอาหาร หรือน้ำ หรือทานอาหารได้ในปริมาณน้อย เช่น กินแค่ข้าวต้มถ้วยเล็กๆ ไม่ยอมทานเนื้อสัตว์ แม้ว่าจะเป็นอาหารโปรดที่เคยชอบทานก็ไม่อยากแตะ นั่นหมายถึงอาการของความตายเริ่มเข้ามาเยือนแล้ว คนส่วนใหญ่ที่ร่างกายเสื่อมสภาพ มักมีปัญหาเรื่องการกลืนอาหาร วิธีช่วยอาจทำได้โดย อย่าบังคับให้ทานอาหาร แม้ว่าผู้ดูแลอาจรู้สึกเครียดที่ญาติ หรือคุณพ่อ คุณแม่ไม่สามารถทานอาหารได้ แต่ใช้วิธีเสริมกำลังใจ หรือให้ทานไอศกรีม หรือจิบน้ำ หรือน้ำแข็ง ใช้ผ้าอุ่นๆ เช็ดบริเวณริมฝีปาก เพื่อเพิ่มความชุ่มชื่นและผ่อนคลาย              

       2. เหนื่อยง่ายและต้องการนอนมากกว่าปกติ คนไข้ที่เริ่มนอนในเวลากลางวันและกลางคืนเป็นเวลานาน มีการไหลเวียนของโลหิตน้อยลง และปฏิเสธไม่ทานอาหารและน้ำ และเริ่มขาดน้ำ ไม่สามารถตื่นและทำกิจกรรมได้ตามปกติ เริ่มเหนื่อย อ่อนเพลีย และเลื่อนลอย วิธีช่วยอาจทำได้โดย ให้นอนและหลีกเลี่ยงสิ่งรบกวนที่ทำให้ตื่น เมื่อคนไข้อยู่ในภาวะไม่รู้สึกตัว หรือโคม่าให้พูดคุยเหมือนคนไข้ได้ยินถึงแม้ว่าคนไข้จะไม่มีอาการตอบสนองก็ตาม              

        3. ร่างกายอ่อนแอไม่อยากเคลื่อนไหว เมื่อร่างกายเริ่มปฏิเสธอาหารทำให้ขาดพลังงานและนำไปสู่ความอ่อนแอ แทบไม่อยากจะยกศีรษะในขณะที่นอนและมีปัญหาการดื่มน้ำจากหลอด วิธีช่วยอาจทำได้โดย ทำให้คนไข้นอนในท่าที่สะดวกสบายมากที่สุดเท่าที่จะทำได้              

       4. สับสนและหลงลืม นอกจากอวัยวะเริ่มเสื่อมสภาพแล้ว สมองที่เคยทำงานได้อย่างดีก็เริ่มจำอะไรไม่ค่อยได้ ความทรงจำที่เหลือคือความฝังใจที่สดชื่นหรือขมขื่นในอดีต คนไข้อาจจำไม่ได้ว่าอยู่ที่ไหน จำชื่อคนอื่นไม่ได้ อาจพูดในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้หรือเหลวไหล สับสนเรื่องเวลา หรือจำไม่ได้ว่าทานอาหารหรือยัง วิธีช่วยอาจทำได้โดยช่วยเตือนความจำด้วยความใจเย็น และพูดกับคนไข้ด้วยเสียงอ่อนโยน และบอกชื่อของตัวเองให้คนไข้ทุกครั้งที่พบกัน เพื่อคนไข้จะจำได้              

       5. หายใจลำบาก การหายใจเข้าออกไม่สม่ำเสมอ ติดขัด และยากลำบาก เวลาหายใจสามารถได้ยินเสียงดังและหายใจเข้าลึก มีอาการหอบ หรือมีการหยุดหายใจเป็นช่วงๆ หยุดหายใจประมาณ 5 วินาที หรือนานถึง 1 นาที ก่อนจะหายใจแรงและลึกอีกครั้งและค่อยๆ หายไปอีก บางครั้งหายใจเข้าออกดังครืดคราด วิธีช่วยอาจทำได้โดย เตือนผู้เฝ้าไข้ให้ระวังและใส่ใจสังเกตอาการเหล่านี้ โดยพยายามให้คนไข้อยู่ในท่าที่สบายที่สุด นั่งในที่ที่สบาย หรือตั้งศีรษะให้อยู่ในที่ผ่อนคลาย หายใจสะดวก เช็ดริมฝีปากด้วยผ้าเปียก หรือทาลิปมันเพื่อช่วยให้ริมฝีปากสดชื่น หากมีเสมหะมากให้ขับออกโดยธรรมชาติ ในกรณีที่ไม่มีเครื่องดูดเสมหะ การใช้เครื่องช่วยหายใจอาจช่วยได้               

       6. ไม่เข้าสังคม เมื่อร่างกายเริ่มหมดสภาพ ผู้ที่ใกล้ตายจะหมดความสนใจกับสิ่งรอบตัว บางครั้งอาจพูดน้อยลง บ่นพึมพำ สมองทำงานไม่ฉับไว ไม่ตอบสนองต่อคำถาม หรืออาจจะเดินหนีไป ก่อนที่อาการไม่สุงสิงกับผู้คนจะเริ่มขึ้น บางครั้งคนที่ใกล้ตายอาจจะทำให้คุณประหลาดใจโดยแสดงพฤติกรรมบางอย่างที่ทำให้เราตื่นตกใจได้ สิ่งนี้อาจเกิดขึ้นไม่ถึงชั่วโมงหรืออาจทั้งวันก็ได้ วิธีช่วยอาจทำได้โดย ใช้เราเฝ้าสังเกตอาการเหล่านี้ และใช้วิธีสัมผัส ลูบเบาๆ ที่แขน พูดคุย เมื่อคนไข้เริ่มจำได้ถึงความหลังเก่าๆ ให้รีบตอบสนองทางบวกทันที เพราะความจำเหล่านี้อาจจะหายไปในพริบตา              

       7. การเปลี่ยนแปลงเรื่องการถ่ายปัสสาวะ ในขณะที่ผู้ป่วยไม่สนใจเรื่องการทานอาหารและการดื่ม ทำให้การขับถ่ายน้อยลงด้วย ความดันเลือดต่ำ เป็นขั้นตอนหนึ่งของผู้ที่กำลังสูญเสียชีวิต เมื่อถึงจุดนี้อาจไม่มีอะไรที่จะช่วยได้ และอาจมีอาการอย่างอื่นที่พอสังเกตเห็นด้วยเช่น ไตเริ่มไม่ทำงาน ให้สังเกตการถ่ายปัสสาวะ เมื่อเป็นสีน้ำตาล แดงหรือสีชา การสูญเสียการควบคุมปัสสาวะอาจเป็นอาการสุดท้ายของผู้ที่กำลังจะตาย วิธีช่วยอาจทำได้โดย บางครั้ง ทางการแพทย์อาจตัดสินใจใช้การช่วยระบายของเสียออกจากร่างกาย ถึงแม้ว่าอาจจะยังไม่ถึงชั่วโมงสุดท้ายของชีวิต แต่การมีไตที่ไม่ทำงานจะทำให้โลหิตเป็นพิษและอาจส่งผลให้เข้าสู่โคม่าก่อนเสียชีวิต              

       8. บวมที่เท้าและตามข้อต่อ เมื่อไตไม่สามารถฟอกเลือดได้ จะทำให้ไปสะสมในอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เช่น หัวใจ โดยเฉพาะข้อต่อและขา อาจเป็นบริเวณมือ หน้าและเท้ามีอาการบวมน้ำได้ วิธีช่วยอาจทำได้โดย เมื่อถึงขั้นนี้ปกติจะไม่มีการช่วยเหลืออะไรเป็นพิเศษ เพราะอาการบวมไม่เป็นสาเหตุของโรค แต่เป็นเพราะอาการชรา และการเสื่อมสภาพของร่างกาย              

       9. มือและเท้าเย็น หนึ่งชั่วโมงหรือ 2-3 นาทีก่อนเสียชีวิต ผู้ป่วยมักมีอาการมือและเท้าเย็นเนื่องจากเลือดไม่ไปเลี้ยงตามปลายประสาท ดังนั้น นิ้วมือ นิ้วเท้าจะเย็น เล็บอาจมีสีจาง หรือสีน้ำเงิน วิธีช่วยอาจทำได้โดย ห่มผ้าห่มอุ่นๆ ให้คนไข้เพื่อให้สบายตัวขึ้น              

       10. เส้นโลหิตดำเป็นลายพร้อย หรือกระด่างกระดำ ผิวหนังมีรอยดวง ด่างดำ ซีดหรือมีแต้มสีแดง สีน้ำเงินขึ้นเป็นจุดๆ เป็นอาการของผู้ที่จะเสียชีวิต สิ่งนี้เป็นผลจากการไหลเวียนหิตที่ล้มเหลว อาจปรากฏให้เห็นก่อนตามบริเวณเท้า              

สัญญาณของผู้ใกล้เสียชีวิตแต่ละคนนั้น อาจมีขั้นตอนที่แตกต่างกันไป สิ่งที่เขียนข้างบนนี้เป็นเพียงการให้ความรู้กับผู้อ่านในการสังเกตทั้งผู้ป่วยและคนชราที่อยู่ใกล้ตัวท่าน ผู้เขียนอยากให้ผู้อ่านดูแลผู้ที่กำลังจะสูญเสียชีวิตด้วยความรัก ความเมตตาและความอดทนจนถึงวันสุดท้ายของชีวิตเขา เพื่อที่คุณจะไม่ต้องมารู้สึกเสียใจในภายหลัง              

อาการหนาวใน สัญญาณอันตรายถ้าปล่อยไว้ไม่รีบรักษา

หนาวง่ายเกินไป หรือที่เรียกว่า ขี้หนาว แม้จะอยู่ในสถานที่มีคนอื่นอยู่ด้วย ในอุณหภูมิเท่ากัน ก็รู้สึกหนาวมากกว่าใคร บางครั้งจนทนไม่ไหว หนาวเหน็บไปถึงกระดูก เกิดจากสาเหตุอะไร เป็นอาการป่วยหรือเปล่า หรือเป็นอะไรกันแน่

อาการหนาวใน สัญญาณอันตรายถ้าปล่อยไว้ไม่รีบรักษา

อาการหนาวง่าย หนาวเกินไป แม้อุณหภูมิไม่ได้ต่ำจนเกินไปและคนอื่น ๆ ก็ไม่ได้หนาวมากมาย แล้วต้องรักษาอย่างไร

อาการหนาวจากสาเหตุ

1. เลือดจาง เลือดน้อย

ด้วยภาวะที่ร่างกายขาดธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของเม็ดเลือดแดง มีหน้าที่ช่วยขนส่งออกซิเจนเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดแดง และนำพาความร้อนและสารอาหารที่สำคัญเข้าสู่กระบวนการทำงานของเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกาย นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่า หากขาดธาตุเหล็กไป การทำงานดังกล่าวไม่เต็มประสิทธิภาพ ความอบอุ่นในร่างกายก็ลดน้อยลงไปด้วย

2. ผอมมากเกินไป
น้ำหนักที่ต่ำกว่ามาตรฐาน อาจส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถสร้างคามอบอุ่นได้อย่างเพียงพอ ความร้อนของระบบเผาผลาญน้อยลงจากการทานอาหารน้อย อีกทั้งในคนผอมมากๆ ร่างกายขาดไขมันที่จำเป็นต่อการให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย

3.ต่อมไทรอยด์ผิดปกติ

อาการหนาวเป็นพักๆ ร่วมด้วยผมเริ่มบาง ผิวแห้งมากขึ้น อาการอ่อนเพลีย อาจเข้าข่ายภาวะผิดปกติของต่อมไทรอยด์ ส่งผลให้ระบบเผาผลาญทำงานช้าลง ความร้อนในร่างกายจึงลดน้อยลงไปด้วย

4. ระบบไหลเวียนเลือดไม่ดี

โดยเฉพาะในคนที่มักจะมือเย็นเท้าเย็นบ่อยๆ อาจเกิดจากระบบไหลเวียนเลือดในร่างกายของคุณทำงานไม่ปกติ ทำให้ไม่สามารถไหลเวียนเลือดได้สะดวก ไม่ทั่วทั้งร่างกาย หรืออาจจะมีภาวะของโรคหลอดเลือดอุดตันตามตำแหน่งต่างๆ

5. โรคเรย์นอยด์ (Raynaud’s Disease)

ซึ่งเป็นสาเหตุให้เส้นเลือดบริเวณมือตีบ ส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ไม่ดี ทำให้เกิดอาการชาบริเวณนิ้วมือ ร่วมกับอาการนิ้วมือนิ้วเท้าเย็นตามมาด้วย

6. พักผ่อนไม่เพียงพอ
ยิ่งคุณนอนหลับได้ไม่เพียงพอ และยาวนานเท่าใด ยิ่งสะสมให้สมองรวมไปถึงระบบการเผาผลาญของร่างกายทำงานผิดปกติไปมากเท่านั้น ซึ่งก็นับเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ร่างกายอ่อนแอลง รู้สึกหนาวได้ง่ายๆ

อาการหนาวใน สัญญาณอันตรายถ้าปล่อยไว้ไม่รีบรักษา

7. ดื่มน้ำน้อยเกินไป

น้ำเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยควบคุมอุณหภูมิร่างกายให้เป็นปกติ เมื่อร่างกายไม่ได้รับน้ำอย่างเพียงพออาจเกิดได้ทั้งภาวะแปรปรวน ร้อนจัดและเย็นจัด และการขาดน้ำที่จำเป็นต่อระบบเผาผลาญ

8. ร่างกายขาดวิตามินบี 12

วิตามินบี 12 มีหน้าที่สำคัญเหมือนธาตุเหล็ก ในเรื่องช่วยลำเลียงออกซิเจนเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดแดง ซึ่งถ้าหลอดเลือดแดงทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ การไหลเวียนของเลือดก็จะติดขัด จึงทำให้ร่างกายหนาวเย็นได้ง่ายๆ

9. ผู้หญิงมักหนาวได้ง่ายมากกว่าผู้ชาย

ในเรื่องของฮอร์โมน และกลไกร่างกายของผู้หญิง ต้องคงความสมดุลของการไหลเวียนเลือดในสมอง และหัวใจอย่างเต็มที่ การไหลเวียนเลือดในส่วนประสาทมือและเท้าจึงถูกลดความสำคัญลงไป เป็นเหตุให้รู้สึกหนาวเย็นที่มือและเท้าเป็นพิเศษ ซึ่งเป็นจุดศูนย์รวมของเส้นประสาท

10. สัญญาณโรคเบาหวาน

ด้วยอาการปลายประสาทอักเสบที่อาจเกิดได้ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน จะส่งผลให้มือและเท้าของคุณไวต่อสิ่งเร้าและการสัมผัส โดยเฉพาะอากาศหนาว ร่วมด้วยอาการปวดปัสสาวะบ่อยๆ อ่อนเพลีย และรู้สึกคอแห้งถี่ขึ้น สัญญาณเหล่านี้อาจเป็นอาการเริ่มต้นของโรคเบาหวาน ต้องรีบไปพบแพทย์ด่วน

11. กล้ามเนื้ออ่อนแอเกินไป

เพราะกล้ามเนื้อเป็นอวัยวะที่มีการเผาผลาญมากที่สุดและมีการใช้กลูโคสมากที่สุดนั่นเอง จึงมีหน้าที่สำคัญช่วยรักษาความอบอุ่นของร่างกายได้ด้วย

12.หนาวสั่นในหญิงหลังคลอด

หลังคลอดฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะลดลง และกลไกของร่างกายจะกำจัดน้ำออกด้วย ส่งผลให้ร่างกายมีภาวะขาดน้ำ และเกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในร่างกาย เมื่อร่างกายขาดน้ำมาก จะมีไข้และทำให้เกิดอาการหนาวสั่นตามมาได้

อาการหนาวใน สัญญาณอันตรายถ้าปล่อยไว้ไม่รีบรักษา

วิธีป้องกันและรักษา

แนวทางคือการรักษาสุขภาพให้แข็งแรง สุขภาพดีเสมอ และรักษาได้จากสาเหตุที่เกิดขึ้นค่ะ

1. บำรุงร่างกายด้วยอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ เลือกทานไขมันดีจากพืช วิตามินบี12 ก็จำเป็น และหากคุณมีภาวะเลือดจาง ต้องเน้นอาหารประเภทธาตุเหล็กสูง

2. รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

4. พักผ่อนอย่างเพียงพอ

5. ดื่มน้ำให้ได้มากกว่า 8 แก้วต่อวัน

6. หากเกิดอาการหนาวสั่นที่ผิดปกติ หรือเข้าข่ายอาการของโรคร้าย ควรเข้าพบแพทย์

อาการหนาวใน สัญญาณอันตรายถ้าปล่อยไว้ไม่รีบรักษา

เคล็ดลับ

– ที่สำคัญคือการระวัง ไม่ให้เสียสมดุลร่างกายมากเกินไป บ่อย ซ้ำๆ เลี่ยงการดื่มทานอาหารเครื่องดื่มที่มีพลังเย็นมาก หรือร้อนมาก ในปริมาณมาก

– รักษาปรับสมดุลร่างกายได้โดย เลือกทานผลไม้ที่มีทั้งความชุ่มเย็นและความเผ็ดร้อน เช่นการทานสมุนไพรช่วย เช่น บัวบก พริกไทย

– หากอาการหนาวง่ายของคุณเกิดจากสาเหตุใดบ้างนั้น ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และรักษาร่างกายให้สุขภาพดีเสมอ ร่างกายจะได้มีความอบอุ่น ไม่รู้สึกหนาวง่ายๆ อีกต่อไปค่ะ

– ที่สำคัญคือการระวัง ไม่ให้เสียสมดุลร่างกายมากเกินไป บ่อย ซ้ำๆ เลี่ยงการดื่มทานอาหารเครื่องดื่มที่มีพลังเย็นมาก หรือร้อนมาก ในปริมาณมาก

– รักษาปรับสมดุลร่างกายได้โดย เลือกทานผลไม้ที่มีทั้งความชุ่มเย็นและความเผ็ดร้อน เช่นการทานสมุนไพรช่วย เช่น บัวบก พริกไทย

หากอาการหนาวง่ายของคุณเกิดจากสาเหตุใดบ้างนั้น ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และรักษาร่างกายให้สุขภาพดีเสมอ ร่างกายจะได้มีความอบอุ่น ไม่รู้สึกหนาวง่ายๆ อีกต่อไปค่ะ

อาการหนาวใน สัญญาณอันตรายถ้าปล่อยไว้ไม่รีบรักษา

การดูแลสุขภาพ วิธีดูแลตัวเอง

8 อาหารเย็นลดน้ำหนักกินแล้วหุ่นดีไม่มีพลาด

8 อาหารเย็นลดน้ำหนักกินแล้วหุ่นดีไม่มีพลาด

การควบคุมอาหารร่วมกับการออกกำลังกาย จัดว่าเป็นหัวใจในการลดน้ำหนักที่มีประสิทธิภาพ การเลือกทานอาหารมื้อเย็นให้ถูกต้อง จะช่วยทำให้การลดน้ำหนักเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว วันนี้เรามีเมนูอาหารเย็นลดน้ำหนักที่จะช่วยทำให้น้ำหนักตัวของคุณลดลงอย่างได้ผล ทำให้รูปร่างกระชับ ลองมาดูกันเลยดีกว่าว่ามีเมนูไหนบ้าง

1.ไข่น้ำ

ประเดิมเมนูแรกแบบเบาๆ ด้วยไข่กันก่อนเลย วิธีทำก็เจียวไข่หอมๆ แล้วหั่นเป็นชิ้นโยนลงไปในหม้อพร้อมสารพัดผัก ขนมาทั้งสวนเลยค่ะ หัวไชเท้า ผักกาดขาว ผักชี วุ้นเส้น หรือถ้าไม่อยากได้น้ำมันก็ไม่ต้องทอด รอน้ำเดือดร้อนๆ โยนผักลงไปแล้วตอกไข่ตามค่ะ เมนูนี้ ฟินแน่ ไม่แพ้แคลอรี่คอนเฟิร์ม

2. ยำวุ้นเส้น

ยำวุ้นเส้นเป็นอาหารลดน้ำหนักที่มีปริมาณแคลอรี่ต่ำดีต่อสุขภาพ เป็นเมนูที่ทำได้ง่ายมีรสชาติอร่อย เหมาะสำหรับผู้ที่กำลังไดเอต หากทานอย่างเป็นประจำ จะทำให้น้ำหนักตัวลดลงอย่างเห็นได้ชัด ยำวุ้นเส้นกินได้เรื่อยๆ เที่ยง เย็น ไม่ต้องกลัวอ้วน เพราะแคลอรีต่ำ นอกจากนี้ยังมียำตะไคร้ ยำสาหร่าย ยำสมุนไพร สารพัดจัดไปค่ะ เน้นผักเยอะๆ พริกเผ็ดร้อน มะนาวเปรี้ยวปรี๊ดเพิ่มวิตามินซี เผาผลาญพลังงานได้ดี

3.ต้มเลือดหมู

ต้มเลือดหมูจัดว่าเป็นอาหารลดน้ำหนักมือเย็นที่ดีอย่างหนึ่ง  ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยมารองรับอีกต่างหากว่าเป็นเมนูสุดยอด เพียงแต่คนที่เป็นโรคเก๊าต์ต้องระวังหน่อย เพราะในน้ำซุปในเครื่องในมีกรดยูริคสูง อาจไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคนี้เท่าไหร่

4.ส้มตำ

ส้มตำเป็นอาหารที่มีรสชาติอร่อย เป็นอาหารลดน้ำหนักที่ทุกคนทราบดี มีปริมาณแคลอรี่ต่ำ ความเผ็ดจากพริกที่อยู่ในส้มตำยังช่วยกระตุ้นการเผาผลาญพลังงานให้สูงขึ้น ทำให้ไขมันลดลงได้อย่างรวดเร็ว

5.แกงส้ม

แกงส้มเป็นอีกหนึ่งเมนูที่มีปริมาณแคลอรี่ต่ำมาก เหมาะสำหรับการทำเป็นอาหารลดน้ำหนักในมื้อเย็น หากไม่มีเวลาเข้าครัวทำเอง  ก็ลองหาซื้อได้จากร้านขายกับข้าว เพียงแค่นี้ก็ทำให้การลดน้ำหนักเป็นเรื่องง่ายแล้ว

6. จับฉ่าย

ใครกันหนอบอกว่าเมนูนี้ต้องกินช่วงกินเจเท่านั้น  ไม่จริงเลยค่ะ จับฉ่ายเป็นตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ สำหรับผู้ที่กำลังมองหาเมนู  ลดน้ำหนัก เพราะจับฉ่ายให้พลังงานเพียงแค่ 90 แคลอรี่เท่านั้นเป็นอีกหนึ่งเมนูที่ไม่ควรพลาดในช่วงลดน้ำหนัก

7. เส้นหมี่น้ำใส

สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการทานก๋วยเตี๋ยว เส้นหมี่น้ำใสเป็นอาหารลดน้ำหนักที่ดีอีกหนึ่งเมนู เพราะมี  ปริมาณแคลอรี่เพียงแค่ 200 กิโลแคลอรี่เท่านั้น กินแล้วไม่ทำให้อ้วนแน่นอน

8.ต้มจืด

ต้มจืดเป็นอาหารลดน้ำหนักที่เหมาะสำหรับการทานเป็นมื้อเย็น เพราะทำให้รู้สึกสบายท้อง ทำให้เราได้ทานผักได้มากขึ้น จึงช่วยทำให้รู้สึกอิ่มท้องได้ง่าย แต่ได้รับปริมาณแคลอรี่เข้าไปเพียงน้อยนิดเท่านั้น จึงไม่ต้องกังวลว่าจะทำให้อ้วน

การใส่ใจการทานอาหารเย็นให้มากขึ้น จะช่วยทำให้การลดน้ำหนักเป็นเรื่องง่าย โดยการเลือกทานอาหารลดน้ำหนัก ที่มีปริมาณแคลอรี่ต่ำจะช่วยทำให้รูปร่างกระชับ ไขมันส่วนเกินหายไปได้อย่างรวดเร็ว

สูตรเมนูอาหารลดน้ำหนักด้วยตัวเอง สำหรับคนลดน้ำหนัก 3 มื้อ เช้า กลาง วันเย็น

สูตรเมนูอาหารลดน้ำหนักด้วยตัวเอง สำหรับคนลดน้ำหนัก 3 มื้อ เช้า กลาง วันเย็น

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังต้องการลดน้ำหนักด้วยตัวเอง ด้วยวิธีควบคุมอาหาร บทความนี้จะได้นำเสนอเมนูลดน้ำหนัก 3 มื้อ เพื่อจะได้ศึกษาเป็นแนวทาง

ก่อนอื่นต้องทราบก่อนว่า การควบคุมอาหารเพื่อลดน้ำหนัก ไม่ใช่การอดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง แต่เป็นการบริหารการกินของตัวเองให้ลงตัว ไม่กินอาหารที่ให้พลังงานมากเกินไปจนเหลือเป็นพลังงานสะสมที่ทำให้อ้วน  โดยทั่วไปมักควบคุมพลังงานให้อยู่ที่วันละประมาณ 1200 แคลอรี่ นั่นหมายความว่า แต่ละมื้อ คุณสามารถกินอาหารที่ให้พลังงานได้ไม่เกิน 400 แคลอรี่ต่อมื้อ แต่ในความเป็นจริงแล้ว การใช้พลังงานแต่ละช่วงเวลาไม่เท่ากัน จึงควรจัดสรรปริมาณพลังงานให้กับช่วงเช้าและกลางวันมากหน่อย แล้วค่อยใช้ส่วนที่เหลือสำหรับมื้อเย็น

เมนูมื้อเช้าแนะนำ

  1. ข้าวต้มหรือข้าวสวย ไม่เกิน 80 แคลอรี่ (ข้าวประมาณ 1 ทัพพี)+ ผัดผักรวม 200 แคลอรี่+ นม low fat 125 แคลอรี่ =405 แคลอรี่ หรือ
  2. โจ๊กหมูใส่ไข่ 230 แคลอรี่ +หมูปิ้ง 2 ไม้ 150 แคลอรี่ + น้ำเต้าหู้ 75 แคลอรี่=455 แคลอรี่ หรือ
  3. แซนวิชทูน่า 180 แคลอรี่ + ไข่ดาว 165 แคลอรี่ + กาแฟร้อน 55 แคลอรี่ = 400 แคลอรี่ หรือ
  4. ก๋วยจั๊บ 240 แคลอรี่ + ขนมปังปิ้ง 80 แคลอรี่ + น้ำส้มคั้น 90 แคลอรี่=410 แคลอรี่

เมนูมื้อกลางวันแนะนำ

  1. ข้าวสวย 1 ทัพพี ไม่เกิน 80 แคลอรี่ + ปลานึ่ง 150 แคลอรี่ +ผัดผักกระเฉดน้ำมันหอย 175 = 405 แคลอรี่ หรือ
  2. เกาเหลาลูกชิ้นน้ำ 225 แคลอรี่ + ผลไม้รวม 80-100 แคลอรี่ = 325 แคลอรี่ หรือ
  3. ข้าวเหนียว 97 แคลอรี่ + ส้มตำ 80 แคลอรี่ + หมูปิ้ง 2 ไม้ 150 แคลอรี่ = 327 แคลอรี่ หรือ
  4. สุกี้ทะเล 280 แคลอรี่ + ผลไม้ 80 = 360 แคลอรี่

สำหรับคนทำงาน เผื่อพื้นที่ให้กาแฟสักถ้วย 55 แคลอรี่ ถ้าเป็นกาแฟเย็น 155 แคลอรี่ จะได้ทำงานได้อย่างสดชื่น

เมนูมื้อเย็นแนะนำ

มื้อเย็นต้องคล้อยตาม 2 มื้อก่อนหน้านี้ หากได้รับพลังงานไปมากแล้ว มื้อเย็นต้องลดให้อยู่ในเกณฑ์ จัดอาหารเบาๆ ย่อยง่ายจะดีกว่า

  1. ข้าวต้มหรือข้าวสวย ไม่เกิน 80 แคลอรี่ + แกงเลียงผักรวม 50 แคลอรี่ +ผลไม้สด
  2. แกงจืดหมูสับ 90 แคลอรี่ +สลัดผัก + ผลไม้สด
  3. กระเพาะปลา 150 แคลอรี่

กันปริมาณแคลอรี่เอาไว้ เผื่ออยากรับประทานอะไรเป็นพิเศษ ไม่ให้รู้สึกกระวนกระวายใจเพราะความอยากกิน

เมนูอาหารสำหรับลดน้ำหนักด้วยตัวเอง มีแนะนำกันหลายสูตร หาสูตรที่ชอบและเหมาะกับตัวเอง ตั้งใจจริงไม่ล้มเลิกกลางคัน น้ำหนักจะค่อยๆ ลดลง

สูตรเมนูอาหารลดน้ำหนักด้วยตัวเอง สำหรับคนลดน้ำหนัก 3 มื้อ เช้า กลาง วันเย็น

อาหารลดน้ำหนัก

7 วิธีดูแลสุขภาพจิต หลังเผชิญภาวะความโศกเศร้า

1. ยอมรับความจริง

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจว่าเหตุการณ์โศกเศร้าที่เผชิญอยู่เป็นความจริง เกิดขึ้นจริง ๆ และไม่ควรปิดกั้นการแสดงออกถึงความรู้สึกเศร้าโศก ทว่าก็ควรแสดงออกอย่างเหมาะสม พร้อมทั้งควรพูดคุยกับคนรอบข้าง เพื่อสร้างกำลังใจและแรงจูงใจซึ่งกันและกัน ประคับประคองความรู้สึกให้ผ่านพ้นความเศร้าไปให้ได้

2. อยู่อย่างมีสติ

จงดำเนินชีวิตอยู่ด้วยความมีสติ หมั่นสังเกตปฏิกิริยาทางจิตใจและพฤติกรรมของตัวเองและคนรอบข้างให้ดี หากมีอาการคิดวนเวียน วิตกกังวล ไม่อยากพบเจอใคร หมกมุ่นกับความคิดของตัวเอง นอนไม่หลับ ฝันร้าย หรือมีพฤติกรรมแปลก ๆ เช่น เริ่มพูดพึมพำกับตัวเอง เห็นภาพหลอน หูแว่ว หรือมีความคิดว่าไม่อยากมีชีวิตอยู่ ควรรีบมาพบจิตแพทย์

3. ระบายความรู้สึกออกมาบ้าง

การได้ระบายความเศร้าโศกเสียใจหรือความรู้สึกหม่น ๆ ในใจให้กับคนรอบข้างและคนใกล้ชิดบ้างจะช่วยให้ความรู้สึกเศร้าผ่อนคลายลงบ้างไม่มากก็น้อย นอกจากนี้การได้ปรับทุกข์ซึ่งกันและกันยังจะช่วยให้ต่างฝ่ายต่างเยียวยาจิตใจซึ่งกันและกันด้วยความเข้าอกเข้าใจอีกด้วย

4. พาตัวเองออกจากสิ่งที่ทำให้รู้สึกเศร้า

ถ้าความรู้สึกซึมเศร้าถาโถมจนเกินจะรับได้ไหวอีกต่อไป ควรกันตัวเองออกจากปัจจัยที่ทำให้เศร้า เช่น พยายามไม่รับข้อมูลข่าวสารใด ๆ ไม่ดูรูปภาพหรือคลิปวิดีโอที่ดูกี่ครั้งก็ร้องไห้ และควรพักใจอยู่นิ่ง ๆ กับตัวเองสักพัก

5. พยายามคิดถึงแต่เรื่องดีๆ ที่มีต่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสูญเสีย

หากรู้สึกคิดถึงคนที่เราเพิ่งสูญเสียไป ให้เปลี่ยนความคิดถึงไปในทิศทางบวก เช่น คิดถึงช่วงเวลาที่ดี ๆ คิดถึงภาพความสุขและรอยยิ้มของคนที่จากไป ให้เป็นความทรงจำที่ดี ๆ และพยายามดำเนินชีวิตของตัวเองอย่างปกติ

6. หมั่นฝึกสมาธิ

ในกรณีที่รู้สึกแย่ในขั้นที่กินไม่ได้นอนไม่หลับ ให้หมั่นนั่งสมาธิ ฝึกจิตใจให้สงบ และเรียกคืนสติให้กับตัวเอง

7. ปฐมพยาบาลเบื้องต้น

สำหรับคนที่มีอาการเสียใจหนักมากจนเป็นลมล้มพับ หรือรู้สึกเหมือนจะล้ม ให้หายใจลึก ๆ ช้า ๆ พยายามอย่าตื่นตระหนก พาตัวเองออกมาอยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก ดื่มน้ำเย็น และหาผ้าเย็นมาเช็ดเนื้อเช็ดตัว พร้อมทั้งดมยาดมด้วย ซึ่งการปฐมพยาบาลดังกล่าวนี้สามารถนำไปใช้ดูแลผู้อื่นที่มีอาการเศร้าโศกเสียใจจนคุมสติและร่างกายไม่อยู่ได้ด้วย

4 แนวโน้มพลิกโฉมการดูแลสุขภาพของ AEC

บทความจากนิตยสาร CAT MAGAZINE ฉบับที่ 44 ประจำเดือนเมษายน-มิถุนายน กล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า แม้ในภาวะที่เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจในภูมิภาคจะไม่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินธุรกิจมากนัก แต่มีธุรกิจอยู่กลุ่มหนึ่งที่ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องในย่าน AEC นั่นก็คือ “ธุรกิจด้านการดูแลสุขภาพ” อย่างไรก็ตาม การดูแลสุขภาพทั้งในประเทศไทยเองและในย่าน AEC ก็พบกับความท้าทายต่างๆ มากมาย การยกระดับการดูแลสุขภาพนั้นต้องอาศัยปัจจัยหลายๆ ด้านทำงานร่วมกัน

แนวโน้มต่างๆ 4 ด้านที่เป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งจะเข้ามามีบทบาทต่อการพัฒนาการให้บริการและดูแลสุขภาพในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้มีอะไรบ้าง มาลองดูกัน

1. Smart Health หัวใจสำคัญของการเป็นสมาร์ตเนชั่น

การดูแลสุขภาพอย่างชาญฉลาด หรือ Smart Health เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการสร้างสมาร์ตเนชั่น (Smart Nation) ของสิงคโปร์ ซึ่งจะเห็นได้จากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของกระบวนการด้านการดูแลสุขภาพและข้อมูลดิจิทัลที่มีปริมาณมหาศาลเกิดขึ้นจากแพทย์และผู้ป่วยในสิงคโปร์รัฐบาลได้คาดการณ์ว่าในปี 2563 ค่าใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพจะเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าคิดเป็น 12 พันล้านเหรียญสิงค์โปร์ ซึ่งก่อให้เกิดความท้าทายตามมาอย่างต่อเนื่องในเรื่องการให้บริการด้านการดูแลสุขภาพที่มีคุณภาพสูงขึ้นในราคาไม่แพง แต่จะทำเช่นนั้นได้ การดูแลสุขภาพอย่างชาญฉลาดก็ถือเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง

ในปี 2559 ผู้บริโภคจะกลายเป็นผู้ริเริ่มร้องขอบริการที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพเพิ่มมากขึ้นโดยอาศัยสมาร์ตแอปบนอุปกรณ์พกพา และพอร์ทัลบริการด้านการดูแลสุขภาพผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวจะช่วยอุดช่องว่างระหว่างผู้ให้การดูแล/แพทย์กับผู้ป่วย ทำให้พวกเขาติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์กันได้อย่างราบรื่น และบ่อยขึ้นข้อมูลที่ชาญฉลาดจะเป็นอีกหนึ่งแนวโน้มด้านการดูแลสุขภาพที่กำลังเติบโตในปี 2559 โดยมุ่งเน้นไปที่การเก็บรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทำให้สามารถรักษาเป็นรายบุคคล และปรับปรุงการดูแลสุขภาพโดยรวมของประชากรทั้งหมดได้

2. การดูแลสุขภาพอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญ

ข้อมูลจากเว็บไซต์ thetechrevolutionist.com ระบุว่าประมาณร้อยละ 75 ของค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ตลอดช่วงชีวิตของแต่ละคนจะถูกใช้ไปในช่วง 6 เดือนสุดท้ายก่อนเสียชีวิตสำหรับในประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่สายไปแล้ว และสิ้นเปลืองเกินไป อย่างไรก็ตามด้วยเงื่อนไขของการใช้ชีวิตที่ดีขึ้น และความก้าวหน้าทางการแพทย์ทำให้เราสามารถจะมีชีวิตอยู่ถึงอายุ 80 ปี หรือมากกว่านั้น

3. การดูแลสุขภาพแบบดิจิทัลได้รับความไว้วางใจเพิ่มขึ้น

การดูแลสุขภาพผ่านเทคโนโลยีจะสร้างประโยชน์ต่างๆ ให้แก่ประชากรในย่าน AEC มากยิ่งขึ้น ปัจจุบันอุปกรณ์ Wearable และ Smart Devices ต่างๆ ได้ถูกนำไปใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ก็มาพร้อมกับแอปพลิเคชันด้านการดูแลสุขภาพที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกันด้วยอุปกรณ์และแอปพลิเคชันเหล่านี้ ข้อมูลสุขภาพและการรักษา จะถูกแปรเปลี่ยนไปสู่ข้อมูลดิจิทัล อันส่งผลให้ประชากรในย่าน AEC เข้าถึงและได้รับบริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพมากขึ้น

นวัตกรรมดิจิทัลอื่นๆ ด้านการดูแลสุขภาพ เช่น EMRs การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ การดูแลสุขภาพ/การแพทย์จากระยะไกล เป็นการเริ่มต้นรูปแบบใหม่ของ Digital Workflow สำหรับมืออาชีพด้านการดูแลสุขภาพและผลักดันให้มีการดูแลผ่านระบบดิจิทัลมากขึ้น ความเชื่อมั่นของผู้ป่วยที่มีต่อการดูแลสุขภาพผ่านระบบดิจิทัลเหล่านี้ก็จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน

นอกจากนี้บริษัทต่างๆ จะมีการนำอุปกรณ์ด้านสุขภาพแบบดิจิทัลมาใช้งานกันมากขึ้นเพือ่ ติดตามสขุ ภาพของพนักงาน บริษัทวิจยั ทางการตลาดชั้นนำของโลกอย่างการ์ทเนอร์ คาดการณ์ว่าในปี 2561 จะมีคนมากถึง 2 ล้านคนต้องสวมอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพหรือการออกกำลังกายเพราะเป็นส่วนหนึ่งของเงื่อนไขในการจ้างงาน

4. มีการทำงานร่วมกันเพิ่มขึ้น

ในปี 2559 เราจะได้เห็นการทำงานร่วมกันข้ามหน่วยงานที่แตกต่างกันเพิ่มมากขึ้นเพื่อร่วมกันเสริมสร้างประสบการณ์ที่ดีในการดูแลสุขภาพแก่ผู้ป่วย ยกตัวอย่างเช่นผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ และบริษัทที่ให้บริการรถรับส่งผู้ป่วยทำงานร่วมกันเพื่อทำให้การมาพบแพทย์มีความสะดวกมากขึ้น หรือการเป็นพันธมิตรระหว่างบริษัทเทคโนโลยีกับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพเพื่อเปิดบริการอิเล็กทรอนิกส์ (e-Services) รวมถึงการเก็บรวบรวม และการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น

การนำนวัตกรรมต่างๆ มาใช้ในการให้บริการสุขภาพทั้งในปัจจุบันและอนาคตในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้จะมีปริมาณและความหลากหลายขึ้น ได้เห็นถึงการจับมือเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์เพื่อรับมือกับความต้องการผลิตภัณฑ์และบริการด้านการดูแลสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้นในปีนี้การเป็นพันธมิตรกันของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน จะกลายเป็นบรรทัดฐานสำหรับการดูแลสุขภาพของพวกเราต่อไป

4 แนวโน้มพลิกโฉมการดูแลสุขภาพของ AEC

วิธีดูแลสุขภาพ

8 วันกับการดูแลสุขภาพจิตให้ดี ฝ่าวิกฤตโควิด

ในสถานการณ์โควิด-19 นอกจาการดูแลสุขภาพกายให้แข็งแรงแล้ว สิ่งที่ควรให้ความสำคัญในการดูแลอีกอย่างคือ จิตใจ ให้แข็งแรงด้วย เพราะหลายคนเสพข่าวหรือเล่นโซเชียล  ที่อาจจะมีข้อมูลไม่จริงหรือข่าวปลอมแอบแฝงอยู่ หรือบางคนได้รับผลกระทบจากเรื่องงาน หรือการเดินทางไปพื้นที่เสี่ยงแล้วต้องโดนกักตัวอยู่บ้าน 14 วัน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตแตกต่างจากเมื่อก่อน รวมไปถึงผู้ที่ได้รับเชื้อโควิด-19 ที่กำลังรับการรักษา สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อจิตใจอย่างยิ่ง 

เมื่อไม่นานนี้ กรมสุขภาพจิต ก็ได้เปิดตัวโปรแกรม “หลักสูตรการดูแลจิตใจในวิกฤตโควิด-19” หลักสูตรการเรียนรู้ด้วยตัวเองระยะสั้น 8 วัน ที่มุ่งเน้นความรู้ความเข้าใจและฝึกทักษะที่จะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจในการดูแลตนเอง โดยมีการพัฒนาให้เหมาะสมกับสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ผ่านสื่อ Online Learning ทั้งในระบบ Audio และระบบ Motiongraphics 

โดยหลักสูตรการดูแลจิตใจในวิกฤตโควิด-19 มีกลุ่มเป้าหมาย 4 กลุ่มหลัก คือ 1.ผู้ที่สงสัยว่าอาจติดเชื้อและต้องกักตนเองอยู่ในบ้าน 14 วันรวมทั้งผู้ที่ต้องอยู่บ้านเพราะมาตรการควบคุมโรค 2. ผู้ป่วยcovid-19 ที่อาการไม่รุนแรงทั้งที่รักษาอยู่ในโรงพยาบาลและทีมแพทย์ให้ รักษาตนเอง โดยกักตนเองในบ้าน 14 วัน 3. ผู้ป่วยcovid-19 ที่อาการรุนแรง เช่น หายใจลำบากจำเป็นต้องได้รับการรักษาใน โรงพยาบาลแต่ยังทำกิจกรรมต่างๆ ได้ 4. ผู้ป่วยcovid-19 หลังจากที่อาการรุนแรงมากจนต้องรับการรักษาใน ICU แล้วเมื่อพ้นจาก ช่วงอาการรุนแรงก็ยังต้องฟื้นฟูอยู่ในโรงพยาบาล 5. เจ้าหน้าที่ที่มีความเครียดจากภาระงานและความเสี่ยงที่เพิ่มอย่างมาก

ซึ่งในระยะเวลาของการกักตัวหรือการทำงานหนักในระยะเวลา 2 สัปดาห์ อาจจะทำให้เกิดความว้าวุ่นทางจิตใจ เช่น กังวล เครียด เหงา ท้อแท้ ที่จะเป็นผลเสียต่อจิตใจ และมีผลกระทบต่อสุขภาพกาย และจะส่งผลต่อการสร้าง ภูมิคุ้มกันของร่างกาย  ดังนั้นการดูแลจิตใจให้เข้มแข็งจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยในโปรแกรมการดูแลจิตใจในวิกฤตโควิด-19 นี้ ได้ออกแบบจัดทำในรูปแบบของการฝึกฝนด้วยตนเองเพื่อให้เหมาะกับสถานการณ์ที่เราจะต้องแยกตัว ไม่ให้เชื้อไวรัสไปติดผู้อื่น โดยออกแบบเป็นกิจกรรมประจำวันๆ ละ 20-30 นาทีที่สามารถทำได้ตามเวลาที่เหมาะสมของแต่ละ คน เช่น หลังอาหารเช้า หลัง ก่อนนอน ควรให้เป็นเวลาที่แน่นอนและทำสม่ำเสมอ เพราะบทเรียนจะทำให้จิตใจของเรามั่นคงมากขึ้นตามลำดับ 

โดยเน้นการฝึกสติเป็นหลัก ผ่านการทำสมาธิการรู้ลมหายใจ ซึ่งในการฝึกพื้นฐานจะอยู่ในช่วง 7 วันแรก ตั้งแต่วันที่ 8 จะเป็นการฝึกทุกวันให้เป็นวิถีชีวิต ผ่านวิดีโอ ที่มีภาพตัวละครที่สื่อสารให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น รวมไปถึงการอธิบายวิธีการต่างๆและระยะเวลาในการปฏิบัติอย่างชัดเจน
วันที่ 1 เป็นการฝึกสมาธิ ช่วยลดความว้าวุ่นใจจากโรคโควิด-19 โดยจะใช้การรู้ลมหายใจ เพราะเป็นภาวะที่สมองทำงานน้อยที่สุด ทำให้จิตได้พักได้ดีกว่า มี 3 ขั้นตอนคือ 1.ฝึกหยุดความคิด 2.ฝึกจัดการกับความคิดต่างๆ 3.รักษาความต่อเนื่องในการนั่งสมาธิให้ยาวขึ้น ซึ่งจะช่วยลดความว้าวุ่นและความเครียดที่สะสมจากจิตใต้สำนึก นำไปสู่ความสงบ 

วันที่ 2 ฝึกสติพื้นฐาน ช่วยให้ทำกิจต่างๆโดยไม่รับและแพร่เชื้อโควิด-19 ที่เริ่มต้นด้วยการทำสมาธิ 5 นาที เพื่อผ่อนคลาย เพราะการรู้ลมหายใจจะทำให้ความคิดหยุดลง และมีความคิดจากจิตใต้สำนึกบ้าง เมื่อรับรู้แล้วก็กลับมารู้ลมหายใจอีกครั้งไปเรื่อยๆประมาณ 3 นาที หรือฟัง การหยิบจับ การเดินอย่างมีสติ แต่เมื่อออกจากสมาธิก็จะช่วยให้ทำงานและฝึกสติได้ดีขึ้น แต่ช่วงเวลาหลังจากนั้นในชีวิตจริงก็จะเริ่มมีการสะสมความเครียดใหม่ จากการดำเนินชีวิต การฟังสิ่งต่างๆ ที่อาจจะส่งผลกับอารมณ์และความรู้สึก ดังนั้นการฝึกสมาธิให้มีสติจึงสำคัญ หรือจะทำด้วยการเคลื่อนไหวและการออกกำลังกาย ก็ได้เช่นกัน

วันที่ 3 สติในการกิน เพราะการกินเป็นพฤติกรรมที่ซับซ้อน มากกว่าแค่การตอบสนองความต้องการของร่างกาย โดยเฉพาะคนที่มีความเครียดทำให้กินไม่ลง หรือกินอย่างรวดเร็วจนอิ่ม เหมือนกับการระบายความเครียดซึ่งมีผลโดยตรงกับน้ำหนักตัว ดังนั้นต้องมีสติในการกิน คือ 1.สติก่อนกิน เพื่อกะปริมาณในการกินอาหารมื้อนั้นๆ ต่อเพศและวัย 2.สติระหว่างกิน ที่ต้องรับรู้จังหวะการกิน ไม่ทำกิจกรรมอย่างอื่น และ 3.สติหยุดกิน ดื่มน้ำให้รู้สึกพออิ่ม ไม่ให้อิ่มเกินไป ซึ่งวิธีนี้จะทำให้เราไม่ทานเร็วและทานอาหารในปริมาณและชนิดที่เหมาะสม 

วันที่ 4 สติควบคุมอารมณ์ช่วยจัดการกับอารมณ์ ลบที่เกิดขึ้น โดยการรู้ลมหายใจมากๆ ผ่านการฝึก อาทิ ในการยืนท่าที่ไม่ชอบ ซึ่งจะทำให้รู้สึกเจ็บและไม่ชอบ ดังนั้นการรู้ลมหายใจมากๆ จะทำให้รู้สึกเจ็บน้อยลง และทำให้จิตสงบ ที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันในการระงับอารมณ์หรือความรู้สึกที่ไม่ชอบ หรือการฝึกซ้อมรำลึกเหตุการณ์ยุ่งยากใจ เพื่อฝึกดูการเปลี่ยนแปลงและปล่อยวาง

วันที่ 5  สติใคร่ครวญ เราได้อะไรจากวิกฤติ เปลี่ยนความคิดลบเป็นความคิดบวก เพราะความคิดเกิดขึ้นตลอดเวลาในขณะที่เราตื่น นำไปสู่อารมณ์และพฤติกรรมในการตอบโต้ อย่างโรคโควิด-19 ที่เราอาจจะมีความคิดเป็นไปในทิศทางที่เป็นลบ ดังนั้นวิธีในการมีสติคือ การติดป้ายความคิดลบและการรู้ลมหายใจ นึกถึงความคิดในทิศทางบวก เพื่อจิตได้ปล่อยว่าง และเผชิญกับสิ่งต่างๆได้ดีขึ้น

วันที่ 6 สติสื่อสาร ช่วยให้สื่อใจถึงใจกับคนใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน ที่ทำงาน หรือในที่ชุมชน ที่เราจะเป็นทั้งผู้รับและผู้ส่งสารในขณะเดียวกัน ผ่านคำพูดหรือท่าทาง ยิ่งในช่วงโควิด-19 ที่เราอาจจะอยากสื่อสารกับคนใกล้ชิด แต่ในบางครั้งกลายเป็นโต้เถียงกัน  ซึ่งการใช้สติในการสื่อสารจะทำให้เราพูดหรือใช้อารมณ์ในการพูดได้ดีขึ้น 

วันที่ 7 สติเมตตาให้อภัย ช่วยให้ใจเปิดกว้าง แม้ในยามวิกฤติ อาจจะเริ่มจากการฝึกรำลึกถึงเหตุการณ์ที่ยุ่งยากใจที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา จากนั้นก็ปล่อยว่าง แล้วส่งความเมตตาและอภัย จะทำให้สมองจิตใจของเราดีขึ้น มีภูมิคุ้มกันเมื่อเจอเหตุการณ์จริงก็จะช่วยให้เรามีสติ รู้จักที่จะเมตตาและให้อภัย

วันที่ 8 สติเป็นวิถี สร้างความเข้มแข็งในจิตใจเรา และเป็นพลังใจให้ผู้อื่น ซึ่งเราอาจจะมีความเครียดทั้งเหตุการณ์จากภายนอก หรือความเครียดในครอบครัว โรคโควิด-19 ก้เป็นสาเหตุที่ซ้ำเติมเข้าไปกับเรื่องอื่นๆ เป็นผลให้เกิดภาวะของทุกข์ทางใจได้ ดังนั้นการปรับทุกข์ คือการใช้สติที่เราได้เรียนรู้มา เพื่อสติในการปล่อยวาง และไม่เป็นทุกข์กับสิ่งเหล่านั้น และฝึกต่อเนื่องในทุกวันๆ เพื่อการดำเนินชีวิตอย่างมีสติ ปลดปล่อยความทุกข์ในจิตใจ 

อย่างไรก็ตามผู้สนใจสามารถ เข้าร่วมโปรแกรมหลักสูตรการดูแลจิตใจในวิกฤตโควิด-19  ได้ที่ Website กรมสุขภาพจิต https://www.dmh.go.th/covid19/ และ Website ห้องสมุดกรมสุขภาพจิต https://www.thaidmh-elibrary.org/videocovid19 รวมไปถึงช่องทาง YouTube และ Facebook ของกรมสุขภาพจิต

5 สิ่งที่ควรรู้ ในการดูแลสุนัขสูงวัยให้แข็งแรงและมีสุขภาพดี

การนับอายุของน้องหมานั้นต่างกับคน บางครั้งเราจึงลืมไปว่าน้องหมาที่เราเลี้ยงอยู่ตอนนี้เขามีอายุแท้จริงเท่าไหร่ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับเจ้าของทั้งหลายที่ควรจะใส่ใจเมื่อสุนัขเริ่มมีอายุมากขึ้น

วันนี้เรามีสิ่งที่เจ้าของสามารถใช้เป็นแนวทางเพื่อดูแลสุนัขสูงวัยของเราให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีมาฝากค่ะ

1. ให้อาหารที่มีคุณค่าที่ดี สารอาหารที่ดีมีความสำคัญกับสุนัขทุกช่วงวัย โดยเฉพาะสุนัขสูงวัยซึ่งจะช่วยให้พวกเขาแข็งแรง ร่าเริง มีชีวิตชีวา คุณอาจจะลองขอคำปรึกษาจากสัตวแพทย์เพื่อเลือกประเภทอาหารที่เหมาะกับสุนัขของคุณไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อ ส่วนประกอบของอาหาร หรือสูตรเฉพาะกับสายพันธุ์ เป็นต้น

2. หมั่นพาเจ้าตูบไปออกกำลังกาย แม้ว่าสุนัขสูงวัยจะเชื่องช้าลงแต่การได้ออกกำลังกายก็ยังถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสุขภาพพวกเขาทั้งด้านร่างกายและจิตใจ โดยอาจจะพาเข้าเดินออกกำลังกายหรือว่ายน้ำก็ได้

3. คอยดูแลให้น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ การที่สุนัขสูงวัยมีน้ำหนักเกินจะมีผลกับสุขภาพของพวกเขา ซึ่งรวมถึงข้อต่อและอวัยวะภายในด้วย ซึ่งหากสุนัขของคุณจำเป็นต้องลดน้ำหนัก ลองขอคำแนะนำจากสัตวแพทย์ถึงแผนการลดน้ำหนักและออกกำลังกายให้สุนัขของคุณ

4. ตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ สำหรับสุนัขสูงวัยแล้วควรได้รับการตรวจสุขภาพอย่างน้อยทุกๆ 6 เดือน และสามารถพาไปพบสัตวแพทย์เมื่อน้องหมามีอาการป่วยหรือปัญหาสุขภาพอื่นๆ นอกเหนือจากนั้นได้เช่นกัน นอกจากนี้สุนัขแต่ละสายพันธุ์ก็มีความเสี่ยงต่อโรคไม่เหมือนกัน ซึ่งคุณเองก็ควรขอคำแนะนำจากแพทย์ในการดูแลได้ เพราะการตรวจพบแต่เนิ่นๆ ก็จะดีต่อการรักษามากกว่า

5. อย่าละเลยสุขภาพฟันของสุนัข การดูแลสุขภาพฟันให้กับสุนัขตลอดช่วงวัยของเขานั้นเป็นสิ่งสำคัญ ยิ่งสุนัขสูงวัยด้วยแล้วการไม่เอาใจใส่สุขภาพฟันให้กับพวกเขาถือเป็นดั่งภัยเงียบเพราะคราบหินปูนสามารถก่อให้เกิดโรคเหงือกอักเสบ ที่เป็นเหตุให้เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่กระแสเลือด และสร้างความเสียหายต่ออวัยวะของสุนัขได้ วิธีที่ดีที่สุดในการรักษาสุขภาพฟันให้เจ้าตูบสูงวัยคือคงสภาพฟันให้สมบูรณ์ แปรงฟันให้เขา และไปตรวจสุขภาพช่องปากเป็นประจำทุกปี สุนัขสูงวัยก็เหมือนกับคน ที่เมื่ออายุมากขึ้นก็ต้องการการดูแลเอาใจใส่ที่มากขึ้น ทั้งนี้หากเราให้ความใส่ใจคอยดูแลสุขภาพกายใจให้เขาแข็งแรง ร่าเริง ก็จะทำให้เจ้าตูบสูงวัยแสนรักของเรามีความสุขได้ไม่ยากเลย

วิธีการดูแลสุขภาพของตัวคุณและคนที่คุณรัก โดยการออกกำลังกายและรับประทานอาหาร

 ปัจจุบันสังคมไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรกรรมไปสู่สังคมอุตสาหกรรม การใช้ชีวิตของคนเปลี่ยนไปทั้งในแง่การใช้แรงงานทำงานมาใช้สมองนั่งโต๊ะทำงาน การใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบทำให้เกิดความเครียด ขาดการออกกำลังกาย ขาดการรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ ขาดความสนใจต่อสุขภาพตัวทำให้เกิดโรคต่างๆซึ่งเกิดจากการไม่ดูแลตัวเองให้ดีเช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง โรคมะเร็งซึ่งโรคเหล่านี้สามารถป้องกัน หรือลดอุบัติการณ์ได้โดยการที่เราใส่ใจดูแลตัวเอง เพียงใช้เวลาวันละประมาณ 1 ชั่วโมงก็สามารถทำให้สุขภาพดีขึ้น    1.รู้จักประมาณตน การประมาณตนในการออกกำลังกายแต่พอควร จะช่วยให้ร่างกายเผาผลาญอาหารและพลังงานส่วนเกินได้ดี   2.เลือกเวลาออกกำลังกาย เวลาเช้าตรู่และตอนเย็นเหมาะที่สุดในการออกกำลังกายมากกว่าตอนกลางวัน ซึ่งจะทำให้เหนื่อยเร็วและได้ปริมาณน้อย บางรายอาจหน้ามืดเป็นลมก็มี ทั้งนี้ควรเป็นเวลาเดียวกันทุกวัน เพราะจะส่งผลดีต่อการปรับตัวของร่างกาย  3.จิตใจต้องพร้อม ควรทำจิตใจให้ปลอดโปร่ง หากมีเรื่องไม่สบายใจ ก็ไม่ควรออกกำลังกาย เพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย     4.ความสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะออกกำลังกายให้สุขภาพแข็งแรงหรือลดน้ำหนัก แต่จะได้ผลแค่ไหนขึ้นกับปริมาณ และความหนักเบาของการออกกำลังกายด้วย

การดูแลสุขภาพเพื่อให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง ต้องรู้จักการกินอาหารเป็นสิ่งสำคัญ รองลงมาคือการออกกำลังกาย ด้วยเหตุนี้ทางกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และสถาบันวิจัยโภชนาการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางด้านอาหารและโภชนาการ จึงได้จัดทำ “ข้อปฏิบัติในการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี 9 ข้อ หรือโภชนบัญญัติ 9 ประการ” เพื่อเผยแพร่ให้ใช้ยึดเป็นแนวทางในการกินอาหารให้หถูกต้องตามหลักโภชนาการ

โภชนบัญญัติ 9 ประการ ประกอบด้วย

    1. กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากกลายและหมั่นดูแลน้ำหนักตัว เพื่อให้สารอาหารที่ ร่างกายต้องการอย่างครคบถ้วนและมีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานไม่อ้วนหรือผอมเกินไป

    2. กินข้าวเป็นหลักสลับกับอาหารแป้งในบางมื้อ เลือกกินข้าวกล้องแทนข้าวขาวและได้คุณค่าและใยอาหารมากกว่า

    3. กินผักให้มาก และกินผลไม้ประจำ กินผักและผลไม้ทุกมื้อ จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคและต้านโรคมะเร็งได้

    4. กินปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ และถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ ปลาเป็นโปรตีนคุณภาพดี และย่อยง่าย เป็นอาหารที่หาง่าย ถั่วเมล็ดแห้งเป็นโปรตีนจากพืชที่ใช้แทนเนื้อสัตว์ได้

    5. ดื่มนมให้เหมาะสมกับวัย นมช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง เด็กควรดื่มนมวันละ 1-2 แก้ว ผู้ใหญ่ควรดื่มนมพร่องมันเนย วันละ 1-2 แก้ว

    6. กินอาหารที่มีไขมันแต่พอควร กินอาหารประเภททอด ผัด หรือแกงกะทิ แต่พอควร เลือกกินอาหาร ประเภท ต้ม นึ่ง ย่าง (ที่ไม่ไหม้เกรียม) แกงไม่ใส่กะทะเป็นประจำ

    7. หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสจัด หวานจัด เค็มจัด กินหวานมากเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และหลอดเลือด กินเค็มจัดเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง

    8. กินอาหารที่สะอาดปราศจากการปนเปื้อน อาหารที่ไม่สุกและปนเปื้อนเชื้อโรคและสารเคมี เช่น สารบอแร็กซ์ สารเร่งสี สารกันเชื้อรา สารฟอกขาว สารฆ่าแมลง ฟอร์มาลิน ทำให้เกิดโรคได้

    9. งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะทำให้มีความเสียงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคตับแข็ง โรคมะเร็งในหลอดอาหาร และโรคร้ายอีกมาก

วิธีการดูแลสุขภาพของตัวคุณและคนที่คุณรัก โดยการออกกำลังกายและรับประทานอาหาร

วิธีการดูแลสุขภาพ