อาหารเพื่อสุขภาพ

การกินอาหารที่มีประโยชน์ก็สามารถทำให้ร่างกายแข็งแรงได้

เลือกรับประทานอาหาร

ประโยชน์ที่ต้องบอกต่อของ “อาหารเพื่อสุขภาพ”

อาหารเพื่อสุขภาพ คือ ก่อนที่เราจะกินอาหารเพื่อสุขภาพเราจำเป็นต้องรู้ก่อนว่าอาหารเพื่อสุขภาพคืออะไร ซึ่งก็คือ อาหารที่มีสารอาหารครบทุกหมวดหมู่ถือว่ามีความจำเป็น และความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาร่างกาย จิตใจ รวมทั้งอารมณ์ การที่เราทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ นั้นจะทำให้เราได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนเมื่อเราได้รับสารอาหารครบถ้วนก็จะส่งผลให้ร่างกายได้รับพลัง แข็งแรงพร้อมที่จะลุยงานต่างๆได้อย่างกระปรี้กระเปร่า ที่สำคัญยังห่างไกลจากโรคร้ายแรงต่างๆ

อาหารเพื่อสุขภาพ มีอะไรบ้าง

อย่างที่กล่าวไว้ว่าอาหารเพื่อสุขภาพคือการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ซึ่งจะประกอบไปด้วย โปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน เกลือแร่ ไขมัน โดยแต่ละหมู่ก็จะมีหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไป เช่น

โปรตีน ประกอบด้วยเนื้อสัตว์ นม ไข่ ถั่วต่างๆ ซึ่งโปรตีนมีหน้าที่สำคัญคือช่วยในการเจริญเติบโต ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
คาร์โบไฮเดรต จะได้แก่ แป้ง ข้าว ขนมปัง เป็นต้น โดยมีหน้าที่ให้พลังงาน
วิตามิน เกลือแร่ จะได้จากผัก ผลไม้ต่าง เพราะในผักมีกากใยและไฟเบอร์ที่จะช่วยในระบบขับถ่าย
ไขมัน จะเป็นจำพวกไขมันที่ได้จากพืชและสัตว์ซึ่งจะช่วยทำให้ร่างกายของเราอบอุ่น
อาหารที่มีประโยชน์ อาทิเช่น

ไข่ไก่ เป็นแหล่งสะสมของโปรตีนคุณภาพสูง ที่ให้พลังงานแต่ไม่ทำให้อ้วน ช่วยบำรุงสายตา
ถั่ว เป็นสารอาหารที่ช่วยในการส่งผ่านออกซิเจนจากปอดไปยังเซลล์ต่างๆของร่างกายและมีไฟเบอร์ช่วยในการขับถ่ายได้ง่ายขึ้นอีกด้วย
ประโยชน์ที่จะได้รับ

อาหารเพื่อสุขภาพนั้นมีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการทำให้สุขภาพแข็งแรง ผิวพรรณเปล่งปลั่ง สดใส มีสุขภาพจิตที่ดี เป็นต้น ซึ่งอาหารเพื่อสุขภาพเหล่านี้จะทำให้ร่างกายของเราพร้อมที่จะทำกิจกรรมในแต่ละวันได้อย่างเต็มที่ และต้านโรคภัยต่างๆได้เป็นอย่างดี

จะเห็นได้ว่าอาหารเพื่อสุขภาพหารับประทานได้ไม่ยาก ดังนั้นการเลือกรับประทานอาหารเราจึงควรเลือกให้เหมาะสมกับร่างกาย ควรกินในปริมาณที่พอเหมาะ แต่ถ้าจะให้ผลดีมากกว่านี้ เราก็จะต้องออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย เพื่อที่เราจะได้มีสุขภาพที่ดี ห่างไกลจากโรคอีกด้วย

10 อาหารเพื่อสุขภาพ ที่ดีที่สุดในโลก

การรับประทาน อาหารเพื่อสุขภาพ ของกลุ่มผู้บริโภคเปลี่ยนไป หลังจากที่มีข่าวโรคที่เกิดจากการกินอาหารผิดวิธี และอาหารบางชนิดที่ก่อเกิดโรค หากไม่ดูแลเรื่องที่มาของอาหาร หรือแม้แต่การกินอาหารตามใจปากก็อาจจะส่งผลต่อสุขภาพได้ อาทิ โรคอ้วน โรคท้องร่วง โรคขาดสารอาหาร ฯลฯ

ปัจจุบันนี้พบว่ากลุ่มผู้บริโภคให้ความสำคัญกับเรื่องของอาหารการกินมากขึ้น และเน้นอาหารเพื่อสุขภาพหรืออาหารประเภทคลีนเป็นหลัก (ซึ่งอาหารคลีนที่เป็นอาหารเพื่อสุขภาพ ตอนนี้ติดเทรนด์ไปแล้ว) เนื่องจากเป็นอาหารที่มีประโยชน์ สะอาด ไม่มีสารพิษ และยังช่วยในส่วนของการควบคุมน้ำหนัก

สำหรับใครที่กำลังสนใจที่รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพทางเราก็อยากจะแนะนำ 10 อาหารเพื่อสุขภาพ ที่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูง ซึ่งประกอบไปด้วย  เลมอน, ผักคะน้า, มันเทศ, อะโวคาโด, บร็อคโคลี่, ถั่ว, ถั่วฝักยาว, ปลาแซลมอน, ปลาซาร์ดีน, ผักโขม

เลมอน

เลมอนมีปริมาณวิตามินซีสูงเส้นใยที่ละลายน้ำได้และสารประกอบพืชที่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย เลมอนอาจช่วยลดน้ำหนักและลดความเสี่ยงของโรคหัวใจโรคโลหิตจางนิ่วในไตปัญหาทางเดินอาหารและมะเร็ง เลมอนไม่เพียง แต่เป็นผลไม้ที่ดีต่อสุขภาพเท่านั้น แต่ยังมีรสชาติและกลิ่นที่ดีอีกด้วย

คุณค่าทางอาหารของเลมอน
  • ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค ป้องกันหวัด
  • เลมอนมีสารที่ช่วยต่อต้านมะเร็งอยู่หลายชนิด
  • ช่วยป้องกันและรักษาโรคเลือดออกตามไรฟันได้
  • มีส่วนช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
  • น้ำเลมอนช่วยบำรุงตับและกระตุ้นให้ตับผลิตน้ำดีได้มากยิ่งขึ้น จึงส่งผลให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้อย่างเป็นปกติตลอดทั้งวัน
  • ช่วยทำความสะอาดลำไส้ กำจัดของเสียที่ตกค้างอยู่ในลำไส้

ผักเคล

ราชินีแห่งผักใบเขียวนี้ได้รับความนิยามมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถึงกับมีผู้ขนานนามเจ้าคะน้าใบหยักนี้ว่า ‘The new beef’ หรือเนื้อรูปแบบใหม่ เพราะความไม่ธรรมดาที่ไม่ได้อัดแน่นสารต้านอนุมูลอิสระเหมือนผักอื่นๆ เท่านั้น แต่ยังเต็มไปด้วยธาตุเหล็กในปริมาณมาก ถึงขนาดที่เนื้อสัตว์ยังสู้ไม่ได้ ยิ่งไปกว่านั้นยังมีแคลเซียมสูงกว่านมวัวถึง 3 เท่า และสูงกว่าผักโขมถึง 14 เท่า อีกทั้งแคลอรีต่ำ มีไฟเบอร์สูง ไม่มีไขมัน

คุณค่าทางอาหารของผักเคล
  • มีแคลเซียม มากกว่า นม ช่วยบำรุงกระดูกเหมาะสำหรับคนแพ้นมวัว
  • วิตามิน K ช่วยสร้างความแข็งแรงของกระดูก
  • วิตามิน C มากกว่าผักโขม 10%
  • มีธาตุเหล็ก มากกว่า เนื้อวัว
  • มีกรดไขมัน Omega 3 ช่วยลดคอเลสเตอรอล
  • แคลอรี่ต่ำ ไขมันต่ำ
  • มีโฟเลต และวิตามินบีช่วยบำรุงสมอง
  • ค่าสารต้านอนุมูลอิสระเทียบเท่าแครนเบอร์รี่ที่ 1,750 ตามค่า ORAC ของ USDA

มันเทศ

มันเทศเป็นพืชที่มีหัวอยู่ใต้ดิน มีรสหวาน มีเนื้อในหลากสีสันตามสายพันธุ์ เช่น สีส้ม สีขาว สีแดง สีเหลือง หรือสีม่วง เป็นต้น ในมันเทศมีเอนไซม์ที่สามารถเปลี่ยนแป้งให้เป็นน้ำตาลได้ โดยมันเทศจะมีรสหวานยิ่งขึ้นเมื่อเก็บไว้เป็นเวลานานหรือนำไปปรุงอาหาร  วิธีประกอบอาหารส่วนใหญ่ที่คนนิยม คือ นำไปต้ม นึ่ง อบ หรือทอดด้วยคุณค่าทางโภชนาการที่หลากหลาย ผู้คนจึงเชื่อว่ามันเทศอาจมีผลดีต่อสุขภาพในหลายด้าน

คุณค่าทางอาหารของมันเทศ
  • รักษาภาวะขาดวิตามิน เอ
  • ป้องกันอาการท้องผูก
  • รักษาโรคเบาหวาน
  • รักษาและป้องกันโรคมะเร็ง
  • ป้องกันภาวะตับอักเสบ

อะโวคาโด

ผลอะโวคาโดอุดมไปด้วยสารอาหารและวิตามินที่มีประโยชน์มากมาย เมื่อทานบ่อยๆ จึงสามารถบำรุงและเสริมสร้างสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงได้ดี แถมยังสามารถป้องกันโรคร้ายบางโรคได้อีกด้วย

คุณค่าทางอาหารของอะโวคาโด
  • ลดความอ้วน
  • เต็มไปด้วยแร่ธาตุและสารอาหารจำเป็น
  • ป้องกันโรคหัวใจ
  • ลดไขมันในเส้นเลือด
  • มีวิตามินหลายชนิด
  • ลดน้ำตาลในเลือด
  • โปรตีนสูง

บร็อคโคลี่

บร็อคโคลี่ เป็นผักที่นิยมรับประทานกันมาก จัดอยู่ในกลุ่มดอกกะหล่ำ มีลักษณะเป็นดอกสีเขียวเข้ม มีรสชาติหวานกรอบ ไม่ขม สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายอย่าง มีรสชาติหวานกรอบ บล็อกโคลี่อุดมไปด้วย วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินบี6 วิตามินบี12 วิตามินดี แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก เบต้าแคโรทีน ลูทีน แคโรทีนอยด์ โฟเลต มีสารซัลโฟราเฟนและสารอินดอลซึ่งมีคุณสมบัติในการต้านมะเร็งได้ นอกจากนี้ยังมีประโยชน์อื่นๆอีกมากมาย

คุณค่าทางอาหารของบล็อกโคลี่
  • บำรุงหัวใจ
  • ช่วยในการบำรุงสายตา
  • ลดการเกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  • ปกป้องผิวจากมะเร็งผิวหนัง
  • ป้องกันการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม

ถั่ว

ถั่ว เป็นแหล่งโปรตีนจากพืชที่คนรักสุขภาพขาดไม่ได้ อุดมไปด้วยโปรตีน ไขมันดี เส้นใยอาหาร และกล่าวกันว่ามีสรรพคุณด้านสุขภาพมากมาย เช่น บำรุงหัวใจ รักษาและป้องกันโรคเบาหวาน ต้านมะเร็ง หรือลดน้ำหนัก ทั้งยังมีราคาถูกเมื่อเทียบกับถั่วชนิดอื่นๆ จึงเป็นอาหารอีกชนิดหนึ่งที่หากินง่ายและได้ประโยชน์ไปในตัว

คุณค่าทางอาหารของบล็อกโคลี่
  • ชะลอความแก่ชรา
  • มีสารต้านอนุมูลอิสระที่ทรงพลัง
  • ช่วยลดความดันโลหิต
  • ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง
  • มีวิตามินบีสูง
  • มีธาตุเหล็กสูง
  • ช่วยควบคุมน้ำหนัก
  • ดีต่อสุขภาพหัวใจ
  • ลดคอเลสเตอรอล
  • ดีกับระบบย่อยอาหาร

ถั่วฝักยาว

ถั่วฝักยาว เป็นพืชตระกูลถั่วชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเป็นไม้เลื้อย นิยมนำมาประกอบอาหารและรับประทานเป็นเครื่องเคียงแบบดิบๆ มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยเฉพาะแคลเซียม โพแทสเซียมและวิตามินซี โดยถั่วฝักยาวสามารถนำมาใช้เพื่อสุขภาพและนำมารับประทาน

คุณค่าทางอาหารของถั่วฝักยาว
  • ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน
  • ป้องกันโรคกระดูกพรุน
  • เพิ่มประสิทธิภาพการย่อยอาหาร
  • ป้องกันโรคมะเร็ง
  • ช่วยให้นอนหลับสบาย
  • ป้องกันภาวะทารกพิการแต่กำเนิด
  • ช่วยบำรุงดวงตา

แซลมอน

ปัจจุบันการรับประทานเนื้อปลาแซลมอนเป็นเรื่องง่าย เพราะไม่ว่าที่ไหนก็มีจำหน่าย จะเดินซุปเปอร์มาร์เก็ตก็เจอปลาแซลมอนหั่นให้เรียบร้อยพร้อมรับประทานหรือจะเดินห้างก็จะเจอร้านอาหารญี่ปุ่นเรียงยาวให้เราเลือก นอกจากความอร่อยของปลาแซลมอนที่หนึบหนับ และหวานแบบธรรมชาติ คุณประโยชน์ของมันก็แจ๋วไม่แพ้กับรสชาติเหมือนกัน

คุณค่าทางอาหารจากปลาแซลมอน
  • ช่วยรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม
  • ช่วยรักษาสุขภาพหัวใจ และระบบหลอดเลือด
  • รักษาสายตา และป้องกันโรคประสาทจอตาเสื่อม
  • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ในเด็กเล็ก
  • อุดมด้วยวิตามินดี ดีต่อร่างกาย
  • ช่วยให้นอนหลับลึก และหลับสนิทตลอดทั้งคือ

ซาร์ดีน

ปลาซาร์ดีนมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย ทั้งสุขภาพร่างกาย สุขภาพจิต ลดการอักเสบ ป้องกันโรคหัวใจ และลดน้ำหนัก ไม่น่าเชื่อว่าปลาตัวเล็กๆ แบบนี้จะมีประโยชน์ดีๆ อยู่เยอะมาก

คุณค่าทางอาหารของปลาซาร์ดีน
  • อุดมไปด้วยธาตุอาหารหลักๆ
  • รักษาระดับน้ำตาลในเลือด
  • เต็มไปด้วยแร่ธาตุและวิตามิน
  • ปลาซาร์ดีนดีต่อกระดูก
  • ลดการอักเสบ
  • การป้องกันโรคหัวใจ
  • ช่วยในเรื่องการลดน้ำหนัก
  • ช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน
  • สุขภาพผิวดี
  • รักษาสุขภาพจิต

ผักโขม

ผักโขมอุดมไปด้วยธาตุเหล็ก และกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย อีกทั้งยังอุดมไปด้วยวิตามินหลายชนิด อาทิ วิตามินซี วิตามินเอ วิตามินบี 2 วิตามินบี 6 และวิตามินเค และยังเป็นผักที่กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนให้กับร่างกายด้วย นอกจากนี้ในผักโขมยังอุดมไปด้วยแคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม และแมงกานีส ซึ่งถ้าร่างกายขาดสารเหล่านี้จะทำให้อ่อนแรง และกำลังในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายจะทำงานได้ไม่เต็มที่

คุณค่าทางอาหารของผักโขม
  • บำรุงสายตา
  • ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน
  • ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็งเต้านม, มะเร็งปอด, มะเร็งกระเพาะอาหาร
  • เสริมสร้างบำรุงกำลัง
  • ช่วยดับพิษในร่างกาย
  • บำรุงครรภ์ และบำรุงนม

10 อาหารเพื่อสุขภาพ ที่ดีที่สุดในโลก

การรับประทาน อาหารเพื่อสุขภาพ ของกลุ่มผู้บริโภคเปลี่ยนไป หลังจากที่มีข่าวโรคที่เกิดจากการกินอาหารผิดวิธี และอาหารบางชนิดที่ก่อเกิดโรค หากไม่ดูแลเรื่องที่มาของอาหาร หรือแม้แต่การกินอาหารตามใจปากก็อาจจะส่งผลต่อสุขภาพได้ อาทิ โรคอ้วน โรคท้องร่วง โรคขาดสารอาหาร ฯลฯ

ปัจจุบันนี้พบว่ากลุ่มผู้บริโภคให้ความสำคัญกับเรื่องของอาหารการกินมากขึ้น และเน้นอาหารเพื่อสุขภาพหรืออาหารประเภทคลีนเป็นหลัก (ซึ่งอาหารคลีนที่เป็นอาหารเพื่อสุขภาพ ตอนนี้ติดเทรนด์ไปแล้ว) เนื่องจากเป็นอาหารที่มีประโยชน์ สะอาด ไม่มีสารพิษ และยังช่วยในส่วนของการควบคุมน้ำหนัก

สำหรับใครที่กำลังสนใจที่รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพทางเราก็อยากจะแนะนำ 10 อาหารเพื่อสุขภาพ ที่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูง ซึ่งประกอบไปด้วย  เลมอน, ผักคะน้า, มันเทศ, อะโวคาโด, บร็อคโคลี่, ถั่ว, ถั่วฝักยาว, ปลาแซลมอน, ปลาซาร์ดีน, ผักโขม

เลมอน

เลมอนมีปริมาณวิตามินซีสูงเส้นใยที่ละลายน้ำได้และสารประกอบพืชที่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย เลมอนอาจช่วยลดน้ำหนักและลดความเสี่ยงของโรคหัวใจโรคโลหิตจางนิ่วในไตปัญหาทางเดินอาหารและมะเร็ง เลมอนไม่เพียง แต่เป็นผลไม้ที่ดีต่อสุขภาพเท่านั้น แต่ยังมีรสชาติและกลิ่นที่ดีอีกด้วย

คุณค่าทางอาหารของเลมอน
  • ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค ป้องกันหวัด
  • เลมอนมีสารที่ช่วยต่อต้านมะเร็งอยู่หลายชนิด
  • ช่วยป้องกันและรักษาโรคเลือดออกตามไรฟันได้
  • มีส่วนช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
  • น้ำเลมอนช่วยบำรุงตับและกระตุ้นให้ตับผลิตน้ำดีได้มากยิ่งขึ้น จึงส่งผลให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้อย่างเป็นปกติตลอดทั้งวัน
  • ช่วยทำความสะอาดลำไส้ กำจัดของเสียที่ตกค้างอยู่ในลำไส้

ผักเคล

ราชินีแห่งผักใบเขียวนี้ได้รับความนิยามมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถึงกับมีผู้ขนานนามเจ้าคะน้าใบหยักนี้ว่า ‘The new beef’ หรือเนื้อรูปแบบใหม่ เพราะความไม่ธรรมดาที่ไม่ได้อัดแน่นสารต้านอนุมูลอิสระเหมือนผักอื่นๆ เท่านั้น แต่ยังเต็มไปด้วยธาตุเหล็กในปริมาณมาก ถึงขนาดที่เนื้อสัตว์ยังสู้ไม่ได้ ยิ่งไปกว่านั้นยังมีแคลเซียมสูงกว่านมวัวถึง 3 เท่า และสูงกว่าผักโขมถึง 14 เท่า อีกทั้งแคลอรีต่ำ มีไฟเบอร์สูง ไม่มีไขมัน

คุณค่าทางอาหารของผักเคล
  • มีแคลเซียม มากกว่า นม ช่วยบำรุงกระดูกเหมาะสำหรับคนแพ้นมวัว
  • วิตามิน K ช่วยสร้างความแข็งแรงของกระดูก
  • วิตามิน C มากกว่าผักโขม 10%
  • มีธาตุเหล็ก มากกว่า เนื้อวัว
  • มีกรดไขมัน Omega 3 ช่วยลดคอเลสเตอรอล
  • แคลอรี่ต่ำ ไขมันต่ำ
  • มีโฟเลต และวิตามินบีช่วยบำรุงสมอง
  • ค่าสารต้านอนุมูลอิสระเทียบเท่าแครนเบอร์รี่ที่ 1,750 ตามค่า ORAC ของ USDA

มันเทศ

มันเทศเป็นพืชที่มีหัวอยู่ใต้ดิน มีรสหวาน มีเนื้อในหลากสีสันตามสายพันธุ์ เช่น สีส้ม สีขาว สีแดง สีเหลือง หรือสีม่วง เป็นต้น ในมันเทศมีเอนไซม์ที่สามารถเปลี่ยนแป้งให้เป็นน้ำตาลได้ โดยมันเทศจะมีรสหวานยิ่งขึ้นเมื่อเก็บไว้เป็นเวลานานหรือนำไปปรุงอาหาร  วิธีประกอบอาหารส่วนใหญ่ที่คนนิยม คือ นำไปต้ม นึ่ง อบ หรือทอดด้วยคุณค่าทางโภชนาการที่หลากหลาย ผู้คนจึงเชื่อว่ามันเทศอาจมีผลดีต่อสุขภาพในหลายด้าน

คุณค่าทางอาหารของมันเทศ
  • รักษาภาวะขาดวิตามิน เอ
  • ป้องกันอาการท้องผูก
  • รักษาโรคเบาหวาน
  • รักษาและป้องกันโรคมะเร็ง
  • ป้องกันภาวะตับอักเสบ

อะโวคาโด

ผลอะโวคาโดอุดมไปด้วยสารอาหารและวิตามินที่มีประโยชน์มากมาย เมื่อทานบ่อยๆ จึงสามารถบำรุงและเสริมสร้างสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงได้ดี แถมยังสามารถป้องกันโรคร้ายบางโรคได้อีกด้วย

คุณค่าทางอาหารของอะโวคาโด
  • ลดความอ้วน
  • เต็มไปด้วยแร่ธาตุและสารอาหารจำเป็น
  • ป้องกันโรคหัวใจ
  • ลดไขมันในเส้นเลือด
  • มีวิตามินหลายชนิด
  • ลดน้ำตาลในเลือด
  • โปรตีนสูง

บร็อคโคลี่

บร็อคโคลี่ เป็นผักที่นิยมรับประทานกันมาก จัดอยู่ในกลุ่มดอกกะหล่ำ มีลักษณะเป็นดอกสีเขียวเข้ม มีรสชาติหวานกรอบ ไม่ขม สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายอย่าง มีรสชาติหวานกรอบ บล็อกโคลี่อุดมไปด้วย วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินบี6 วิตามินบี12 วิตามินดี แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก เบต้าแคโรทีน ลูทีน แคโรทีนอยด์ โฟเลต มีสารซัลโฟราเฟนและสารอินดอลซึ่งมีคุณสมบัติในการต้านมะเร็งได้ นอกจากนี้ยังมีประโยชน์อื่นๆอีกมากมาย

คุณค่าทางอาหารของบล็อกโคลี่
  • บำรุงหัวใจ
  • ช่วยในการบำรุงสายตา
  • ลดการเกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  • ปกป้องผิวจากมะเร็งผิวหนัง
  • ป้องกันการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม

ถั่ว

ถั่ว เป็นแหล่งโปรตีนจากพืชที่คนรักสุขภาพขาดไม่ได้ อุดมไปด้วยโปรตีน ไขมันดี เส้นใยอาหาร และกล่าวกันว่ามีสรรพคุณด้านสุขภาพมากมาย เช่น บำรุงหัวใจ รักษาและป้องกันโรคเบาหวาน ต้านมะเร็ง หรือลดน้ำหนัก ทั้งยังมีราคาถูกเมื่อเทียบกับถั่วชนิดอื่นๆ จึงเป็นอาหารอีกชนิดหนึ่งที่หากินง่ายและได้ประโยชน์ไปในตัว

คุณค่าทางอาหารของบล็อกโคลี่
  • ชะลอความแก่ชรา
  • มีสารต้านอนุมูลอิสระที่ทรงพลัง
  • ช่วยลดความดันโลหิต
  • ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง
  • มีวิตามินบีสูง
  • มีธาตุเหล็กสูง
  • ช่วยควบคุมน้ำหนัก
  • ดีต่อสุขภาพหัวใจ
  • ลดคอเลสเตอรอล
  • ดีกับระบบย่อยอาหาร

ถั่วฝักยาว

ถั่วฝักยาว เป็นพืชตระกูลถั่วชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเป็นไม้เลื้อย นิยมนำมาประกอบอาหารและรับประทานเป็นเครื่องเคียงแบบดิบๆ มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยเฉพาะแคลเซียม โพแทสเซียมและวิตามินซี โดยถั่วฝักยาวสามารถนำมาใช้เพื่อสุขภาพและนำมารับประทาน

คุณค่าทางอาหารของถั่วฝักยาว
  • ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน
  • ป้องกันโรคกระดูกพรุน
  • เพิ่มประสิทธิภาพการย่อยอาหาร
  • ป้องกันโรคมะเร็ง
  • ช่วยให้นอนหลับสบาย
  • ป้องกันภาวะทารกพิการแต่กำเนิด
  • ช่วยบำรุงดวงตา

แซลมอน

ปัจจุบันการรับประทานเนื้อปลาแซลมอนเป็นเรื่องง่าย เพราะไม่ว่าที่ไหนก็มีจำหน่าย จะเดินซุปเปอร์มาร์เก็ตก็เจอปลาแซลมอนหั่นให้เรียบร้อยพร้อมรับประทานหรือจะเดินห้างก็จะเจอร้านอาหารญี่ปุ่นเรียงยาวให้เราเลือก นอกจากความอร่อยของปลาแซลมอนที่หนึบหนับ และหวานแบบธรรมชาติ คุณประโยชน์ของมันก็แจ๋วไม่แพ้กับรสชาติเหมือนกัน

คุณค่าทางอาหารจากปลาแซลมอน
  • ช่วยรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม
  • ช่วยรักษาสุขภาพหัวใจ และระบบหลอดเลือด
  • รักษาสายตา และป้องกันโรคประสาทจอตาเสื่อม
  • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ในเด็กเล็ก
  • อุดมด้วยวิตามินดี ดีต่อร่างกาย
  • ช่วยให้นอนหลับลึก และหลับสนิทตลอดทั้งคือ

ซาร์ดีน

ปลาซาร์ดีนมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย ทั้งสุขภาพร่างกาย สุขภาพจิต ลดการอักเสบ ป้องกันโรคหัวใจ และลดน้ำหนัก ไม่น่าเชื่อว่าปลาตัวเล็กๆ แบบนี้จะมีประโยชน์ดีๆ อยู่เยอะมาก

คุณค่าทางอาหารของปลาซาร์ดีน
  • อุดมไปด้วยธาตุอาหารหลักๆ
  • รักษาระดับน้ำตาลในเลือด
  • เต็มไปด้วยแร่ธาตุและวิตามิน
  • ปลาซาร์ดีนดีต่อกระดูก
  • ลดการอักเสบ
  • การป้องกันโรคหัวใจ
  • ช่วยในเรื่องการลดน้ำหนัก
  • ช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน
  • สุขภาพผิวดี
  • รักษาสุขภาพจิต

ผักโขม

ผักโขมอุดมไปด้วยธาตุเหล็ก และกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย อีกทั้งยังอุดมไปด้วยวิตามินหลายชนิด อาทิ วิตามินซี วิตามินเอ วิตามินบี 2 วิตามินบี 6 และวิตามินเค และยังเป็นผักที่กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนให้กับร่างกายด้วย นอกจากนี้ในผักโขมยังอุดมไปด้วยแคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม และแมงกานีส ซึ่งถ้าร่างกายขาดสารเหล่านี้จะทำให้อ่อนแรง และกำลังในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายจะทำงานได้ไม่เต็มที่

คุณค่าทางอาหารของผักโขม
  • บำรุงสายตา
  • ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน
  • ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็งเต้านม, มะเร็งปอด, มะเร็งกระเพาะอาหาร
  • เสริมสร้างบำรุงกำลัง
  • ช่วยดับพิษในร่างกาย
  • บำรุงครรภ์ และบำรุงนม

9 อาหาร แคลอรี่ต่ำ ที่น่าทานสุดๆ

      อาหาร แคลอรี่ต่ำ กว่า 100 แคลอรี่ อาจจะดูน่าเบื่อเพราะมันจะทำให้คุณไม่สามารถกินขนมขบเคี้ยวอร่อยๆต่างๆได้ตามชอบใจได้ แต่แน่นอนว่าอาหารแคลอรี่ต่ำหลายๆอย่างก็อร่อยและมีประโยชน์ทานได้ไม่ยั้งโดยไม่เพิ่มปริมาณแคลอรี่ให้กับคุณ สามารถนำไปปรับเปลี่ยนให้เป็นเมนูต่างๆได้หลากหลายขึ้นอยู่กับว่าคุณจะสามารถควบคุมแคลอรี่ในอาหารนั้นได้แค่ไหนค่ะ

    1. ไข่
       อาหาร แคลอรี่ต่ำ อย่างไข่มีแคลอรี่เพียง 70-80 แคลอรี่ต่อหนึ่งฟอง แน่นอนไข่เป็นอาหารที่ทำง่ายและมีอยู่เกือบทุกเมนู แต่เน้นการปรุงด้วยวิธีอบ ต้ม นึ่งดีกว่านะคะ ไม่เช่นนั้นอาหารแคลอรี่ต่ำจะกลายเป็นอาหารเพิ่มความอ้วน เปลี่ยนจากไข่ดาว ไข่เจียวมาเป็นไข่ลวก ไข่ต้ม ไข่ตุ๋น สารพัดไข่ซึ่งมันให้คุณได้รับแคลอรี่ไม่เกิน 100 แคลอรี่แน่นอน

    2. มันเทศ
      มันเทศเป็นอาหาร แคลอรี่ต่ำ ที่เหมาะจะนำมาเป็นขนมขบเคี้ยวที่ดี เพราะมันเทศมีแคลอรี่เพียง 55 แคลอรี่ ทั้งยังไม่มีน้ำมันและไม่ทำให้คุณต้องกังวลเกี่ยวกับการจำกัดจำนวนแคลอรี่

    3. ถั่วเหลือง
      ถั่วเหลืองคั่วกรอบเป็นอะไรที่อร่อยมาก และข่าวดีก็คือถั่วเหลืองนับเป็นอาหารแคลอรี่ต่ำ ที่มีแคลอรี่ต่ำกว่า 100 แคลอรี่ ถั่วเหลือง 3 ช้อนโต๊ะจะมีปริมาณเพียงแค่ 80 แคลอรี่เท่านั้น คุณจึงสามารถเพลิดเพลินกับมันได้อย่างน่าพอใจทีเดียว

    4. แตงโม
      อาหาร แคลอรี่ต่ำ เช่น แตงโมช่วยให้คุณรู้สึกสดชื่น มีกำลังอยากจะทำสิ่งต่อไป แตงโมเป็นผลไม้ที่เหมาะมากกับฤดูร้อน คุณไม่ต้องกังวลกับการหม่ำแตงโมให้สดชื่นทุกวัน เพราะแตงโมให้แคลอรี่เพียง 90 แคลอรี่เท่านั้น

    5. บลูเบอร์รี่
      หากอาหารที่คุณทานเข้าไปไม่ค่อยจะมีประโยชน์สักเท่าไหร่แถมแคลอรี่ยังมหาศาล ลองหันมาหาอาหารว่างที่กินแล้วสดชื่นและเป็นอาหารแคลอรี่ต่ำอย่างบลูเบอร์รี่ เพราะมันให้พลังงานแค่ 85 แคลอรี่ และยังอุดมสมบูรณ์ด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ วิตามิน เกลือแร่ และบรรดาสิ่งดีๆที่ ร่างกายของคุณต้องการจริงๆ คุณสามารถทานบลูเบอร์รี่สดเป็นอาหารว่างยามบ่าย หรือนำมาผสมกับโยเกิร์ตและซีเรียลของคุณเป็นอาหารเช้าเพื่อสุขภาพของคุณเอง

    6. ลูกพีช
      อาหาร แคลอรี่ต่ำ ได้แก่ พีชขนาดกลางหนึ่งลูกได้รับ 40 แคลอรี่ หมายความว่าคุณสามารถทานผลไม้ได้โดยไม่ทำลายขีดจำกัดของแคลอรี่ 100 แคลอรี่ คุณสามารถแบ่งครึ่งซึ่งมีประมาณ 20 แคลอรี่ใส่ไว้ในเครื่องปั่น แล้วเทโยเกิร์ต 6 ออนซ์ (อีก 80 แคลอรี่) และปั่นรวมกัน คุณก็จะได้ทานอาหารแคลอรี่ต่ำกว่า 100 เป็นของว่าง!

    7. Oyster Crackers
      หากคุณชื่นชอบคุกกี้หรือแครกเกอร์ อาหาร แคลอรี่ต่ำ อย่าง Oyster Crackers เป็นอาหารแคลอรี่ต่ำที่จะทำให้คุณสามารถเพลิดเพลินกับการทานกับเพื่อนได้ โดยที่ไม่ต้องกลัวว่าจะเกินขีดจำกัด เพราะว่าแคร๊กเกอร์ชนิดนี้มีเพียงแค่ 60 แคลอรี่เท่านั้น

    8. ขนมเจลาติน
      ขนมเจลาตินเป็น อาหาร แคลอรี่ต่ำ ที่น่าแปลกใจ เพราะมีแคลอรี่อยู่ในระดับ 10 ถึง 30 แคลอรี่ต่อถ้วยซึ่งก็ขึ้นอยู่กับรส แต่ขนมเจลาตินอาจจะดูเป็นของหวานเกินไป หรืออาจจะทำให้คุณรู้สึกไม่ดี อาจจะต้องมีน้ำแข็งเพื่อทำให้อร่อยยิ่งขึ้นก็ได้

    9. หัวไชเท้า
      หัวไชเท้าฟังดูไม่ค่อยน่าทานเท่าไหร่ แต่มันเป็นอาหารแคลอรี่ต่ำที่ให้แคลอรี่เพียงแค่ 14 แคลอรี่เท่านั้น หัวไชเทาเป็นแหล่งอาหารที่ดีของวิตามิน แคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัสทองแดงและเหล็ก ซึ่งหมายความว่าคุณควรจะมีสารอาหารเหล่านี้ในร่างกายแม้ว่าคุณไม่ได้ใส่ใจที่จะทานก็ตาม

        คุณอยากทานอาหาร แคลอรี่ต่ำ อร่อยๆเหล่านี้แล้วหรือยังคะ นอกจากแคลอรี่ต่ำแล้วยังมีประโยชน์มากมาย ที่นี้ก็ปรับเปลี่ยนเมนูอาหารเพื่อใส่เจ้าพวกนี้เป็นส่วนประกอบ แต่อย่าลืมหาอย่างอื่นทานควบคู่ไปด้วย เช่น พวกคาร์โบไฮเดรต มันอาจไม่ได้เป็นอาหารแคลอรี่ต่ำ แต่คุณก็จำเป็นต้องรับประทานเพื่อทำให้สุขภาพคุณแข็งแรงด้วยการรับอาหารครบทุกหมู่

แจกคู่มือคุมอาหารแบบง่าย ทำได้จริง สำหรับคนไม่มีเวลา เลือกเป็น หุ่นก็เป๊ะได้ !

วิธีลดน้ำหนักด้วยการควบคุมอาหาร ไม่ต้องทำอาหารเอง ! ไม่ซื้ออาหารคลีน ! เน้นหาง่าย สะดวก ทำได้จริง จะเป็นนักศึกษา หรือชาวออฟฟิศที่ไม่มีเวลา ก็มีหุ่นดีได้
การจะลดน้ำหนักได้สำเร็จนอกจากออกกำลังกายแล้ว สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือ การควบคุมอาหารนะคะ ถ้าเลือกกินอาหารที่เป็นมิตรกับน้ำหนักตัวก็จะช่วยให้เราลดความอ้วนได้ แต่ทว่าหลายคนมีภารกิจรัดตัว ทั้งเรียนเยอะ ทำงานหนักจนแทบไม่มีเวลาจะทำอาหารกินเอง ได้แต่ซื้ออาหารนอกบ้านมากิน หุ่นก็เลยอวบเอา ๆ สุดท้ายความตั้งใจที่จะลดความอ้วนเลยต้องล้มเลิกไปอย่างน่าเสียดาย

อ๊ะ…แต่ขอบอกว่าจริง ๆ แล้วต่อให้เราไม่ได้ทำอาหารกินเอง หรือกินอาหารคลีนเหมือนคนอื่น ๆ เราก็ยังเลือกกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพเองได้ง่าย ๆ แม้จะกินร้านอาหารตามสั่งนี่แหละ อย่างที่คุณภัทร สมาชิกหมายเลข 4084617 จากเว็บไซต์พันทิปดอทคอม แนะนำคู่มือคุมอาหารแบบง่าย ๆ ทำได้จริง สำหรับมือใหม่/หนุ่มสาวออฟฟิศ/นักศึกษา/คนไม่มีเวลา การันตีได้ชัดเจนเลยว่า แค่เลือกเป็น หุ่นก็เป๊ะได้จริง ๆ นะ !

  1. ควบคุมปริมาณอาหาร - อย่าให้มากเกินไป ! (กินอาหารที่ดีแต่กินเยอะ ก็อ้วนอยู่ดี >>แคลอรีที่เกินส่วนหนึ่งจะถูกเอาไปเก็บเป็นไขมันสะสม) - อย่าให้น้อยเกินไป ! (กินน้อยเกิน ระบบเผาผลาญ ผอมลงไวจริง แต่สุดท้ายจะโยโย่ สุขภาพเสีย) (ในส่วนนี้คือถ้าจะลงลึกขึ้นอยากให้ทุกคนลองเข้าเว็บนะคะ อะไรก็ได้หาจากกูเกิล เพื่อที่จะทำการหาค่า TDEE และ BMR ของตัวเอง)
    – TDEE (Total Daily Energy Expenditure) คือค่าของพลังงานที่ใช้ทั้งหมดในแต่ละวัน
    – BMR (Basal Metabolic Rate) คือการเผาผลาญขั้นต่ำที่ต้องการใช้ในชีวิตแต่ละวัน อารมณ์ประมาณว่านอนนิ่ง ๆ ก็ต้องพลังงานเท่านี้)
  2. สารอาหารต้องครบถ้วน *เน้นโปรตีนและผัก-ผลไม้ ลดแป้งและน้ำตาล งดไขมันเลว - กิน Macronutrients ให้ครบ (คาร์บ/โปรตีน/ไขมัน) ** สิ่งที่ห้ามทำ งดแป้ง งดไขมัน ไม่เอานะคะ นึกถึงความสมดุลเข้าไว้ ถ้างดไปร่างกายเราจะขาด ** เราไม่งดแต่ใช้ลด ! สำหรับคนที่ลดน้ำหนักอยู่ภัทรให้โฟกัสที่สัดส่วน โปรตีน 45-50% คาร์บ 25% ไขมัน 25% - ผักและผลไม้อย่าให้ขาด ** ผักและผลไม้ช่วยให้เราอิ่มในแคลอรีที่น้อย + วิตามิน เกลือแร่มากมาย ** ระวังเรื่องผลไม้ ควรเลือกที่น้ำตาลน้อยเข้าไว้ ** ไฟเบอร์ช่วยเรื่องระบบขับถ่ายและยังช่วยในเรื่องลดการดูดซึมน้ำตาล/ไขมัน ไม่ให้มันเร็วเกินไป)
  3. ใช้รูปแบบการกินเสริมเพื่อลดไขมันมากขึ้น (เช่น IF (Intermittent Fasting)/Ketogenic Diet) >> อันนี้เป็น Option เสริมจะทำหรือไม่ก็ได้นะคะ ภัทรเองก็เลือกใช้วิธี IF อยู่ซึ่งในกระทู้ถัดไปภัทรจะมาบอกวิธีการทำ IF

อกไก่ กับประโยชน์ต่อสุขภาพ

อกไก่เป็นเนื้อสัตว์ที่ให้พลังงานสูง อุดมไปด้วยโปรตีนจำนวนมาก แต่มีไขมันน้อย จึงพบอาหารชนิดนี้ได้ในอาหารเพื่อสุขภาพหลากหลายเมนู โดยคนเชื่อว่าการบริโภคอกไก่อาจช่วยลดและควบคุมน้ำหนัก อีกทั้งอาจเสริมสมรรถภาพระหว่างการออกกำลังกายได้ด้วย

เนื้ออกไก่ที่ไม่มีหนังปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 120 แคลอรี่ และให้โปรตีนสูงถึง 22.50 กรัม ในขณะที่มีไขมันเพียง 2.62 กรัมเท่านั้น อีกทั้งยังปราศจากน้ำตาลและประกอบไปด้วยสารโภชนาการที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากมายอย่างแคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม โซเดียม และวิตามินเอ โดยในปัจจุบันมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์บางส่วนได้พิสูจน์คุณประโยชน์ต่าง ๆ ของอกไก่ไว้ ดังต่อไปนี้

ช่วยลดน้ำหนัก การบริโภคอาหารที่มีไขมันน้อยอย่างอกไก่อาจช่วยลดหรือรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ ซึ่งมีงานค้นคว้าที่พบว่าอกไก่อาจเป็นส่วนประกอบสำคัญอย่างหนึ่งในเมนูลดน้ำหนักได้ โดยอีกงานวิจัยหนึ่งก็ค้นพบว่าการบริโภคโปรตีนจากเนื้อไก่ในปริมาณ 200 กรัม 4 ครั้ง/สัปดาห์ อาจช่วยลดระดับไขมันในร่างกายและช่วยให้น้ำหนักตัวลดลงได้อย่างมีนัยสำคัญด้วย

แม้อกไก่อาจช่วยลดน้ำหนักได้ แต่งานวิจัยข้างต้นก็เป็นเพียงการศึกษาจากกลุ่มทดลองขนาดเล็กเท่านั้น จึงไม่สามารถสรุปประสิทธิผลของอกไก่ในด้านนี้ได้อย่างชัดเจน ดังนั้น ควรศึกษาเพิ่มเติมโดยขยายกลุ่มทดลองให้ใหญ่ขึ้น เพื่อนำหลักฐานที่ได้มายืนยันสมมติฐานดังกล่าวต่อไป

เสริมสมรรถภาพการออกกำลังกาย การออกกำลังกายทำให้สุขภาพแข็งแรง แต่ก็อาจทำให้ร่างกายรู้สึกเหนื่อยหรือหมดแรง และส่งผลให้กล้ามเนื้อล้าได้เช่นกัน ซึ่งในอกไก่มีโปรตีนที่อาจช่วยสร้างความแข็งแรงแก่ร่างกาย บำรุงกล้ามเนื้อ ช่วยไม่ให้กล้ามเนื้อล้าง่ายจนเกินไป และอาจเสริมสมรรถภาพในการออกกำลังกายให้ดีขึ้นด้วย

มีงานวิจัยหนึ่งให้หนูทดลองบริโภคสารสกัดจากอกไก่ปริมาณ 500 หรือ 2,000 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน เป็นเวลา 90 วัน แล้วพบว่าอกไก่ไม่ทำให้เกิดพิษต่อร่างกายเมื่อรับประทานในรูปแบบของอาหาร อีกทั้งยังเป็นแหล่งของสารแอนเซอรีน (Anserine) และสารคาร์โนซีน (Carnosine) ที่อาจเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยมีงานวิจัยหนึ่งพบว่า สารสกัดจากอกไก่อาจช่วยเพิ่มความเข้มข้นของสารแอนเซอรีนและสารคาร์โนซีนในกล้ามเนื้อ ขณะที่งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งพบว่าสารเหล่านี้อาจช่วยฟื้นฟูอาการเหนื่อยระหว่างออกกำลังกายโดยลดการสะสมกรดแลคติกในกล้ามเนื้อ ยับยั้งสารไฮโดรเจนไอออนในกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นระหว่างการออกกำลังกายอย่างหนัก และยับยั้งการลดระดับ pH ในเซลล์กล้ามเนื้อที่เป็นสาเหตุทำให้กล้ามเนื้อล้าได้

อย่างไรก็ตาม งานวิจัยในด้านนี้ส่วนใหญ่เป็นเพียงการทดลองในสัตว์เท่านั้น ทำให้ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนเพียงพอ จึงควรศึกษาค้นคว้าในมนุษย์เพิ่มเติม เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ชัดเจนและเป็นประโยชน์ต่อไปในอนาคต

บริโภคอกไก่อย่างไรให้ปลอดภัย ?

แม้มีงานวิจัยที่เผยว่าอกไก่อาจไม่ทำให้เกิดพิษหรือเป็นอันตรายใด ๆ ต่อสุขภาพหากบริโภคในรูปแบบของอาหาร แต่ในปัจจุบันยังไม่มีงานค้นคว้าใดสามารถระบุปริมาณที่เหมาะสมในการบริโภคอกไก่ได้อย่างชัดเจน ด้านกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขประเทศไทยยังเผยอีกว่า เนื้อไก่สดอาจปนเปื้อนเชื้อโรคต่าง ๆ และมีสารพิษตกค้างที่เป็นอันตรายได้ ดังนั้น ผู้บริโภคจึงควรเลือกซื้อและรับประทานอกไก่อย่างระมัดระวังในปริมาณที่เหมาะสมเสมอ

ส่วนเชื้อโรคหรือสารเคมีต่าง ๆ ที่อาจปนเปื้อนในอกไก่ และทำให้ผู้บริโภคเสี่ยงเกิดการเจ็บป่วยได้ มีดังนี้

  • สารบอแรกซ์ เป็นสารก่อมะเร็งร้ายแรงอีกชนิดหนึ่งที่ผู้ผลิตอาหารนิยมนำมาใช้ เพราะทำให้อาหารมีลักษณะยืดหยุ่น กรอบ และอร่อย ซึ่งอาจเจือปนอยู่ในเนื้อไก่หรือไก่บด
  • สารฟอร์มาลีน ถูกนำมาใช้เพื่อคงความสดของเนื้อไก่ แต่หากรับประทานเป็นระยะเวลานานอาจเสี่ยงเป็นหมัน โรคตับ ไตเสื่อม และโรคมะเร็งได้ โดยอาจพบสารนี้ได้ทั้งในเนื้อไก่สดและเนื้อไก่แปรรูป
  • เชื้อแบคทีเรีย เช่น เชื้อซาลโมเนลลา (Salmonella) และเชื้ออีโคไล (E. coli) ที่เป็นสาเหตุของภาวะอาหารเป็นพิษ ซึ่งอาจเจือปนอยู่ในเนื้อไก่สดหรือเนื้อไก่แช่แข็ง
  • เชื้อไวรัส เนื่องจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่บางสายพันธุ์ เช่น H5N1 และ H7N9 เป็นไวรัสที่พบในสัตว์ปีกอย่างไก่ ซึ่งเชื้อดังกล่าวอาจตกค้างอยู่ในเนื้อไก่ดิบ และหากรับประทานเข้าไปก็อาจทำให้ติดเชื้อจนเป็นโรคไข้หวัดนกได้

ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยในการรับประทานอกไก่ ผู้บริโภคอาจปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังต่อไปนี้

  • เลือกซื้อจากร้านค้าที่สะอาดได้มาตรฐาน หรือร้านที่มีการรับรองคุณภาพจากกรมปศุสัตว์
  • เลือกอกไก่ที่ถูกเก็บรักษาด้วยความเย็น เพราะความเย็นช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย และเลือกซื้อเนื้อไก่ที่มีสีธรรมชาติ เนื้อไม่คล้ำ ไม่มีจุดเลือดออก ไม่มีรอยฟกช้ำ และไม่มีกลิ่นเหม็นหืน
  • เก็บเนื้อไก่ที่ซื้อมาใส่ตู้เย็นทันที โดยเก็บไว้ในช่องธรรมดาที่อุณหภูมิต่ำกว่า 4.4 องศาเซลเซียสสำหรับใช้ประกอบอาหารภายใน 1-2 วัน หรือเก็บในช่องแช่แข็งที่อุณหภูมิ -17.8 องศาเซลเซียส หากต้องการเก็บไว้ในระยะยาว
  • หากมั่นใจว่าแหล่งที่มาและการขนส่งเนื้อไก่สะอาดปลอดภัยดี ไม่แนะนำให้ล้างทำความสะอาดอกไก่ด้วยน้ำเปล่าก่อนปรุงอาหาร เพราะอาจทำให้เชื้อต่าง ๆ แพร่กระจายออกไปได้ เช่น เข้าสู่มือ เสื้อผ้า พื้นที่ปรุงอาหาร หรืออุปกรณ์ทำครัวอื่น ๆ เป็นต้น เพราะการใช้ความร้อนปรุงอาหารจะฆ่าเชื้อโรคเหล่านั้นได้อยู่แล้ว
  • ปรุงอกไก่ให้สุกดีเสมอ เพราะการปรุงสุกจะช่วยฆ่าเชื้อต่าง ๆ ได้ โดยอาจปรุงอกไก่จนสุกในระดับที่แตกต่างกันตามวิธีทำอาหาร เช่น อบอกไก่อาจใช้ความร้อนประมาณ 177 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 20-30 นาที ต้มหรือตุ๋นอกไก่นาน 25-30 นาที หรือปิ้งย่างอกไก่นาน 6-8 นาที/ด้าน เป็นต้น

อาหารเพื่อสุขภาพ

องค์การอนามัยโรคได้นิยามเรื่องอาหารสุขภาพว่า การรับประทานอาหารที่ไม่มีคุณภาพ ร่วมกับการไม่ออกกำลังกายจะเป็นบ่อเกิดโรคเรื้อรัง องค์การอนามัยโลกได้แนะนำอาหารสุขภาพดังนี้

  • รับประทานอาหารที่สมดุลและมีน้ำหนักที่ปรกติ
  • ให้ลดอาหารไขมัน และหลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัว Saturated fat,Transfatty acid
  • ให้รับประทานอาหารพวกผัก ผลไม้ ธัญพืขเพิ่มมากขึ้น
  • ลดอาหารที่มีน้ำตาล
  • ลดอาหารเค็ม

สำหรับ National Health Service (NHS)ของประเทศอังกฤษได้นิยามอาหารสุขภาพไว้ว่า มีสองปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงได้แก่

  • รับประทานอาหารที่ให้พลังงานสมดุลกับพลังงานที่ใช้
  • รับประทานอาหารที่มีความหลากหลาย

วัฒนธรรมต่างประเทศ

NHSจึงได้กำหนดแนวทางอาหารสุขภาพไว้ดังนี้

  • ทุกท่านต้องรู้จักจานอาหารสุขภาพซึ่งมีอาหารทั้งหมด 5 หมู่
  • ในจานอาหารสุขภาพจะบอกเราว่าควรจะรับประทานอาหารให้มีสัดส่วนอย่างไร

สำหรับสมาคมโรคหัวใจประเทศอเมริกาได้กำหนดอาหารสุขภาพไว้ดังนี้

  1. รับประทานผักและผลไม้เพิ่มโดยตั้งเป้าให้รับผักและผลไม้วันละ 4-5ส่วนทุกวัน
  2. ให้รับประทานธัญพืชเพิ่มEat more whole-grain foods.เนื่องจากผักและผลไม้มีไขมันต่ำ ใยอาหารสูงได้แก่  Whole-grain foods include whole-wheat bread, rye bread, brown rice and whole-grain cereal.
  3. ให้ใช้น้ำมัน olive, canola, corn or safflower oil สำหรับปรุงอาหารและจำกัดจำนวนที่ใช้
  4. รับประทานไก่ ปลา ถั่วมากกว่าเนื้อแดง เนื่องจากไก่ที่ไม่มีหนัง ปลา ถั่วจะมีปริมาณไขมันน้อยกว่าเนื้อแดง.
  5. อ่านฉลากก่อนซื้อหรือรับประทานทุกครั้งเพื่อเลือกอาหารที่มีคุณภาพ

10 เมนูอาหารเพื่อสุขภาพที่ควรทาน

อาหารคือจุดเริ่มต้นของการดูแลสุขภาพ

ปัจจุบันใครต่อใครก็ต่างสนใจในการดูแลสุขภาพกันมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย รวมถึงการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อการบำบัด รักษา ป้องกันโรค เพื่อความสวยงาม เพื่อการลด หรือเพิ่มน้ำหนักจนกลายเป็นกระแสการรับประทานเพื่อสุขภาพกันอย่างแพร่หลาย และวันนี้เรามีเมนูเพื่อสุขภาพดี ๆ มาแบ่งปันกันค่ะ

1.แกงเขียวหวานไก่

เมนูแบบไทยๆ ที่จะรับประทานกับข้าวสวยร้อนๆ หรือจะทานคู่กับขนมจีนก็อร่อยไม่แพ้กันด้วยเครื่องแกงและเครื่องเทศจากสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการป้องกันและรักษาโรค พริกในเครื่องแกงก็มี กรดแคปไซซิน กับเบต้าแคโรทีน ช่วยบำรุงสายตาแถมด้วยผักที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ ส่วนเนื้อไก่ก็ยังอุดมไปด้วยโปรตีน และมีวิตามินบีช่วยบำรุงสมองอีกด้วย

2.ขนมปังทูน่า

เมนูประยุกต์ รับประทานเป็นมื้อเช้าอุดมไปด้วยโปรตีนจากไข่และทูน่าที่ใช้ไข่ขาวซึ่งให้แคลอรี่ต่ำแล้วใส่ทูน่าลงไปแทนที่ไข่แดง รับประทานคู่กับขนมปังโฮลวีทและผักสดตามใจชอบ อร่อยแบบคลีนๆ ไม่ต้องปรุงแต่งรสชาติ รับรองว่าดีต่อสุขภาพอย่างแน่นอนค่ะ

3.ก๋วยเตี๋ยวลุยสวน

เมนูที่ใช้สารพัดผักเป็นเครื่องปรุง ทานกับแป้งห่อก๋วยเตี๋ยวแบบพอดีคำเสิร์ฟกับน้ำจิ้มลุยสวนรสเด็ด ในการรับประทาน อาจจะเปลี่ยนจากเส้นก๋วยเตี๋ยวเป็นวุ้นเส้น ส่วนของไส้จะใช้เนื้อปลาทูน่าหรือเนื้อหมูสับได้ตามใจชอบเลยค่ะ นอกจากนี้ในส่วนของแผ่นห่อ เปลี่ยนจากแผ่นห่อแป้งเป็นห่อจากผักเพื่อให้ได้แคลอรี่ที่ต่ำสำหรับคนที่ต้องการลดน้ำหนักแถมยังได้ ประโยชน์จากสารอาหารมากขึ้น

4.สลัดอกไก่

มาที่เมนูสลัดกันบ้าง ขึ้นชื่อว่าสลัดแล้วย่อมดีต่อสุขภาพแน่นอนค่ะโดยเฉพาะผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักแล้วพลาดไม่ได้เลยล่ะค่ะ เมนูนี้เน้นผักต่างๆ ซึ่งมีรสชาติดีให้ความหวานและกรอบมีวิตามินสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งวิตามินเอและวิตามินซี อีกทั้งยังมีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูงนำมาผสมกับผักสลัดตามชอบเสริมโปรตีนด้วยอกไก่ไขมันต่ำราดด้วยน้ำสลัดไขมันต่ำใครอยากสุขภาพดีต้องจัดเลยค่ะ

5.ส้มตำ ไก่ย่าง

อาหารรสแซบถูกปากของใครหลายคน ไม่ว่าจะเป็นมะละกอที่มีสรรพคุณช่วยล้างพิษในลำไส้ มะเขือเทศช่วยบำรุงผิวพรรณรับประทานคู่กับไก่ย่างเพื่อเสริมโปรตีนให้สุขภาพแข็งแรงนอกจากรสชาติจะอร่อยเด็ดแล้วยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพ และยังเป็นสุดยอดของอาหารต้านชราอีกด้วย

6.สุกี้ผักรวม

เมนูผักรวมนี้ ให้ไฟเบอร์จากธรรมชาติพร้อมวิตามินและแร่ธาตุจะเป็นสุกี้น้ำหรือแห้งรับประทานพร้อมน้ำจิ้มรสเด็ด หรือจะเพิ่มโปรตีนจาก เนื้อหมู หรือซีฟู้ดก็ได้ตามใจชอบเลยค่ะรับรองเลยค่ะว่าเมนูจานนี้จะช่วยเสริมสร้างสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงแถมให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งอ่อนเยาว์ได้อย่างแน่นอน

7.ข้าวยำ

เมนูข้าวแซบๆ อาหารจานเดียวเพื่อสุขภาพดีด้วยสรรพคุณของสมุนไพรที่อัดแน่นอยู่ในจาน  รับประทานกับผักหลากชนิด ไม่ว่าจะเป็น ข้าวยำปักษ์ใต้ ข้าวยำสมุนไพร ข้าวยำเกาหลี และเมนูข้าวยำอื่นๆ นอกจากจะกินอร่อยแล้ว ล้วนมีผลดีต่อสุขภาพ แถมยังช่วยให้ขับถ่ายดีเยี่ยมเลยทีเดียว

8.เต้าหู้นึ่งซอสโชยุ

มาที่เมนูสไตล์ญี่ปุ่นกันบ้าง เต้าหู้จากถั่วเหลืองเนื้อนุ่มที่อุดมไปด้วยโปรตีนย่อยง่ายชูรสด้วยซีอิ๊วญี่ปุ่น ซอสโชยุผสมน้ำมันงาและน้ำตาลทราย โรยหน้าด้วยไช้เท้าขูดตามด้วยต้นหอมญี่ปุ่นซอยวางลงบนเต้าหู้แล้วนำไปนึ่งก็จะได้เต้าหู้นึ่งซอสโชยุหอมๆ จะรับประทานคู่กับข้าวหมูทอดทงคัตสึหรือข้าวสวยญี่ปุ่นร้อนๆ ก็อร่อยเด็ด

9.ผัดไท

เมนูขึ้นชื่อที่ดังไปทั่วโลกที่ได้โปรตีนเพียบทั้งจากเต้าหู้ เนื้อสัตว์ ไข่และถั่วเสิร์ฟพร้อมผักสดอย่าง กุยช่าย ถั่วงอก ใบบัวบก หรือหัวปลี ซึ่งเต็มไปด้วยวิตามินแร่ธาตุและสารพฤกษฮอร์โมนที่ช่วยลดไขมันและป้องกันมะเร็งได้อีกด้วย สำหรับใครที่ต้องการลดความอ้วนก็ลดปริมาณของเส้นลงหรืออาจจะเปลี่ยนเป็นใช้วุ้นเส้นผัดแทนก็ได้ค่ะ

10.แกงเลียงกุ้งสด

อาหารไทยขึ้นชื่อที่อุดมไปด้วยสารพัดผัก ที่มีสรรพคุณทางยาเพียบ ไม่ว่าจะเป็น บวบ ฟักกทอง หัวปลี น้ำเต้าอ่อน ตำลึง ข้าวโพดอ่อน เห็ดฟาง เป็นต้นและผักที่ขาดไม่ได้ซึ่งเป็นเอกลักษณ์นั่นคือใบแมงลัก ซึ่งทำให้แกงเลียงมีกลิ่นหอมโดยในใบแมงลักนี้มีสารเบต้าแคโรทีนป้องกันโรคมะเร็งโรคหัวใจขาดเลือดและยังมีสรรพคุณช่วยเรียกน้ำนมให้กับคุณแม่เพิ่งคลอดอีกด้วย

จาก 10 เมนูอาหารเพื่อสุขภาพที่เรานำมาฝากกันวันนี้ คงจะมีเมนูที่ถูกใจกันอยู่บ้างนะคะ หากใครที่กำลังมองหาเมนูเพื่อสุขภาพอร่อยๆ กันอยู่ลองนำไปทำดูก็ได้ค่ะ ทั้งง่ายและอร่อยอีกด้วย

ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี

  1. กินอาหารครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย และหมั่นดูแลนํ้าหนักตัว ไม่กินอาหารชนิดเดียวกันซ้ำๆ แต่เลือกชนิดต่างๆ หมุนเวียนกันไปในแต่ละวัน เพื่อให้ได้สารอาหารครบ

ถ้วน เกณฑ์นํ้าหนักตัวที่เหมาะสมใช้ค่าดัชนีมวลกาย หรือ BMI (Body Mass Index) เป็นตัวชี้วัด ซึ่งจะบอกให้ทราบว่าคนๆ นั้นผอมไป หรืออ้วนไป หรือน้ำหนักกำลังพอดี

2. กินข้าวเป็นอาหารหลัก สลับกับอาหารประเภทแป้ง เป็นบางมื้อ อาหารในหมวดนี้ ได้แก่ ข้าว ขนมปัง ก๋วยเตี๋ยว แป้ง และเมล็ดธัญพืช เป็นหมวดที่มีสัดส่วนการรับประทาน

มากที่สุด ในแต่ละวัน เพราะเป็นแหล่งที่ให้พลังงาน ปริมาณที่แนะนำในแต่ละวันคือ ข้าว-แป้ง 6-11 ทัพพี ข้าวที่บริโภคควรเป็นข้าวซ้อมมือ เพราะได้วิตามิน แร่ธาตุ ตลอดจนใย

อาหาร สำหรับอาหารที่ทำจากแป้ง เช่น ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน หรือขนมปัง รับประทานเป็นบางมื้อ แต่ต้องระวังถ้าบริโภคมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ แป้งจะเปลี่ยนเป็นไขมันเก็บไว้ตาม

ส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทำให้เกิดโรคอ้วนได้

3. กินพืชผักให้มากและกินผลไม้เป็นประจำ ผักและผลไม้อุดมไปด้วยเส้นใยอาหาร และเป็นแหล่งวิตามินและเกลือแร่ต่างๆ เช่น วิตามินบี 2 และบี 6 กรดโฟลิก แมกนีเซียม ทองแดงและโพแทสเซียม โพแทสเซียมช่วยลดความดัน แคลเซียมป้องกันโรคกระดูกพรุน ธาตุเหล็กป้องกันโรคโลหิตจาง ผักที่มีเหล็กสูง เช่น ถั่วฝักยาว ใบแมงลัก ใบกะเพรา พริกหวาน คึ่นข่าย ผักกูด ผักแว่น ขมิ้นขาว ผักที่มีแคลเซียมสูง เช่น ชะพลู ใบยอ ผักคะน้า ผักกะเฉด ตำลึง ถั่วลันเตา ผักกาดเขียว ใบแมงลัก ดอกโสน ยอดแค ยอดสะเดา พริกไทยอ่อน ใบย่านาง มะเขือพวง ผักผลไม้ที่มีสีเหลืองและสีส้ม เช่น แครอท ฟักทอง มะเขือเทศเหลือง ส้ม มะม่วงสุก มะละกอ สับปะรด จะมีวิตามินที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น เบต้าแคโรทีน หรือ วิตามินเอ ซี อี ซึ่งจะช่วยชะลอความเสื่อมของร่างกายและผิวพรรณโดยเฉพาะในผู้สูงอายุ นอกจากนี้ยังอาจ ช่วยป้องกันโรคหัวใจ โรคต้อกระจก โรคข้อเสื่อม เพิ่มภูมิต้านทานและป้องกันโรค ผักสีนํ้าเงิน-ม่วง เช่น กะหลํ่าปลีสีม่วง องุ่นม่วง มะเขือม่วง มีสารไฟโตเค็มมิคอลหรือพฤกษเคมี ซึ่งช่วยบำรุงสายตา ผักผลไม้สีแดง เช่น มะเขือเทศแดง หัวบีท แตงโม แอปเปิ้ลแดง สตรอเบอรี่ เชอรี่ อาจช่วยป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากและป้องกันเกล็ดเลือดแข็งตัว ผักผลไม้ที่มีสีขาว เช่น กระเทียมจะช่วยรักษาระดับของไขมัน

4. กินปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ และ ถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ ปลาเป็นแหล่งอาหาร โปรตีนที่ดี ย่อยง่าย มีไขมันต่ำ มีฟอสฟอรัสสูง ในปลาทะเลทุกชนิดมีสารไอโอดีน ปลาทะเล น้ำลึกมีกรดโอเมก้า 3 ซึ่งช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดได้ การกินเนื้อสัตว์ไม่ติดมันจะช่วยลดปริมาณไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลเป็นการป้องกันโรคหัวใจ ผู้สูงอายุที่มีภาวะโภชนาการปกติสามารถกินไข่สัปดาห์ละ 3 ฟอง ควรกินไข่ที่สุกในปัจจุบันมีไข่โอเมก้า 3 และไข่ DHA ออก วางหน่าย ไข่โอเมท้า 3 มีคุณสมบัติช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์และลดการเกาะตัวของเกร็ดเลือด สำหรับไข่ DHA คือไข่ที่มีปริมาณกรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิก (docosahexaenoc acid )ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็นที่เป็นส่วนประกอบของเซลล์สมอง ถั่วเมล็ดแห้ง เช่น ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วดำ ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วเมล็ดแห้ง ได้แก่ เต้าหู้ เต้าเจี้ยว นํ้านม ถั่วเหลือง และอาหารที่ทำจากถั่วเป็นแหล่งของโปรตีน เหล็ก กรดโฟลิก วิตามินอี และใยอาหาร สูงถั่วเหลืองจะมีสารไอโซเฟลโวนส์ที่ช่วยป้องกันมะเร็งเด้านม โปรตีนถั่วเหลืองยังให้ผลในการช่วยลดคอเลสเตอรอลเมื่อรับประทานในปริมาณมากพอ

5. ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย เช่น นม โยเกิร์ต ประกอบด้วยแร่ธาตุที่สำคัญ คือ แคลเซียมและฟอสฟอรัส ซึ่งช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง นอกจากนี้แคลเซียมยังช่วยป้องกันโรค

กระดูกพรุน ความดันโลหิตสูง และมะเร็งในลำไส้ใหญ่ สำหรับผู้สูงอายุควรเลือก ผลิตภัณฑ์นมพร่องมันเนย หรือนมขาดไขมัน ควรดื่มนมวันละ 1-2 แก้ว ควบคู่ไปกับการออกกำลังกาย

6. กินอาหารที่มีไขมันแต่พอควร บนยอดสูงสุดของธงโภชนาการแสดงถึงอาหารที่มี ไขมันในธรรมชาติและไขมันที่เติมลงในอาหารซึ่งต้องกินในปริมาณที่น้อย แต่ต้องเพียงพอ ถ้ากินไขมันน้อยไปก็จะได้พลังงานและกรดไขมันจำเป็นไม่เพียงพอ แต่ถ้ากินมากไปโดยเฉพาะไขมัน ตัวที่ได้จากเนื้อสัตว์ หนังสัตว์ ทำให้มีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด เสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน และโรคที่มีผลมาจากโรคอ้วน เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น 7. หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสหวานจัด และเค็มจัด อาหารรสหวานจัด นํ้าอัดลม ลูกอมเป็นอาหารที่ให้แต่พลังงาน แต่ไม่ให้สารอาหารที่เป็นประโยชน์ พลังงานที่ได้จากนํ้าตาล ส่วนเกินจะเปลี่ยนไปอยู่ในรูปของไขมัน และไปสะสมตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทำให้เกิด โรคอ้วน นอกจากนี้การบริโภคนํ้าตาลมากเกินไปทำให้เกิดการสร้างไขมันชนิดไตรกลีเซอไรด์ เพิ่มขึ้นอีกด้วย ไม่ควรบริโภคนํ้าตาลเกินวันละ 40-45 กรัม หรือมากกว่า 3 ช้อนโต๊ะต่อวัน อาหาร รสเค็มจัด เช่น อาหารแปรรูป อาหารกระป๋อง อาหารหมักดอง เครื่องปรุงรสต่างๆ นํ้าปลา ผงชูรส ผงฟู ซึ่งประกอบด้วยเกลือโซเดียมจะมีผลต่อการเกิดความดันโลหิตสูง ซึ่งจะยิ่งมีความเสี่ยงสูงขึ้นเมื่อมีอายุเกิน 40 ปี ขึ้นไป ใช้เครื่องเทศต่างๆ ในการปรุงอาหารแทน เช่น ตะไคร้ ใบมะกรูด ใบกะเพรา กระเทียม มะนาว 8. กินอาหารที่สะอาด ปราศจากการปนเปื้อน ควรเลือกกินอาหารที่สด สะอาด ผลิตจากแหล่งที่เชื่อถือได้ มีเครื่องหมายรับรองคุณภาพ ควรเลือกอาหารจากร้านจำหน่ายอาหาร

หรือแผงลอยที่ถูกสุขลักษณะ ควรปลูกผักเองหรือเลือกผักปลอดสารพิษ ควรล้างเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ ในนํ้าไหลหลายครั้ง หรือแช่ผักในน้ำที่ผสมนํ้าส้มสายชู (นํ้า 5 ลิตร ต่อนํ้าส้มสายชู

1 ช้อนโต๊ะ)

  1. งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การดื่มมากไปจะทำอันตรายต่อตับ เพิ่ม ความดันโลหิต เส้นเลือดในสมองแตก กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอ ทำลายสมอง และนำไปสู่มะเร็งชนิด

ต่างๆเช่น โรคมะเร็งของหลอดอาหาร นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เพราะแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง โดยจะไปกดสมอง ศูนย์ควบคุมสติสัมปชัญญะ และ

ศูนย์หัวใจ ทำให้ขาดสติ เสียการทรงตัว สมรรถภาพการทำงานลดน้อยลง ถ้าหากงดดื่มได้ จะเป็นผลดีต่อสุขภาพ

มาหาคำตอบ อยากมีสุขภาพดี ต้องกินแต่ อาหารคลีน เท่านั้นหรือเปล่า?

ในยุคที่คนหันมาดูแลตัวเองแบบนี้ ไม่ใช้การออกกำลังกายเท่านั้นที่ผู้คนให้ความสำคัญ แต่การเลือกรับประทานอาหารก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ที่สามารถส่งผลให้เรารูปร่างและสุขภาพดีขึ้นอีกด้วย โดยอาหารที่กำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มคนรักสุขภาพ หรือ คนที่กำลังควบคุมน้ำหนักนั่นก็คือ อาหารคลีน วันนี้เราจะพามาหาคำตอบกันว่า แท้จริงแล้วอาหารคลีนนั้น ใช่อาหารสำหรับคนลดความอ้วนหรือไม่…?

อาหารคลีน (Clean Food) คือ อาหารที่ไม่ผ่านการปรุงแต่งด้วยสารเคมีต่างๆ หรือผ่านการแปรรูปน้อยที่สุด อาหารเหล่านี้จะเป็นอาหารที่สดสะอาด เน้นธรรมชาติของอาหารนั้นเป็นหลัก ไม่ผ่านกระบวนการหมักดอง หรือปรุงรสใดๆ มากจนเกินไป เช่น เค็มจัด หวานจัด หรือ มัน เป็นต้น อย่างไรก็ตามในบางครั้งการปรุงแต่งอาหารที่ถูกต้องเหมาะสม เช่น สุกพอดี ไม่ใส่เครื่องปรุงมากเกินไป ก็ไม่ได้เป็นภัยอัตรายต่อร่างกายเช่นกัน ดังนั้นถ้าประชาชนรับประทานอาหารตามปกติถูกต้องตามหลักโภชนาการ โดยไม่ปรุงแต่ง หวาน มัน เค็ม มากเกินไป ก็สามารถมีสุขภาพที่แข็งแรงได้

การรับประทานอาหารแบบคลีน คือ การรับประทานอาหาร 5 หมู่ ในสัดส่วนที่เหมาะสม คือต้องมีทั้งคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ผัก ผลไม้ และไขมัน ในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ไม่ใช่การเน้นรับประทานทานผักเยอะๆ แต่เพียงอย่างเดียว

โดยสรุปอาหารคลีนเป็นอาหารที่ถูกหลักโภชนาการประเภทหนึ่ง ซึ่งมีสรรพคุณที่ดีสำหรับคนที่อ้วน เนื่องจากไม่ผ่านการปรุงแต่งเติมไขมัน ความหวาน ความเค็ม เพราะอาหารคลีนส่วนใหญ่จะใช้วัตถุดิบที่คงเดิมจากธรรมชาติ ไม่ผ่านการปรุงแต่งสังเคราะห์ หรือหากจะมีการปรุงแต่งก็มีการปรุงแต่งที่น้อยถึงน้อยที่สุด ซึ่งจะมีผลดีต่อคนที่ต้องการลดน้ำหนัก ลดความอ้วน ลดไขมัน และคนที่ใส่ใจกับสุขภาพของตนเอง

ขั้นตอนการเริ่มรับประทานอาหารคลีน

  1. ดื่มน้ำสะอาด แทนการดื่มเครื่องดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม
  2. ค่อยๆ ลดอาหารหมัก ดอง กึ่งสำเร็จรูป และรับประทานอาหารที่สดใหม่แทน
  3. เปลี่ยนรสชาติอาหาร สำหรับผู้ที่รับประทานอาหารรสจัดให้ลองค่อยๆ ลดปริมาณเครื่องปรุง
  4. รับประทานผัก ผลไม้ให้มากขึ้น
  5. อ่านฉลากทุกครั้ง เพื่อเปรียบเทียบในการเลือกอาหาร โดยเลือกที่มีส่วนผสมน้อยที่สุด ผ่านกรรมวิธีน้อยที่สุด และหลีกเลี่ยงกลิ่น สี รส ปรุงแต่ง หรือพวกที่มีปริมาณโซเดียมมาก

สิ่งสำคัญสำหรับท่านที่เริ่มต้นการกินอาหารคลีน

ต้องค่อยเป็นค่อยไป อย่าถึงกับตัดขาดอาหารบางประเภทที่คุณโปรดปราน เพียงแค่ลดปริมาณให้น้อยลงไปเรื่อยๆ จนคุณเริ่มคุ้นชินกับอาหารประเภทคลีน เพราะการลดอาหารปกติอย่างฉับพลัน เพื่อจะเปลี่ยนไปทานอาหารเพื่อสุขภาพแบบทันที มันอาจจะมีผลเสียย้อนกลับมาอย่างเช่น รู้สึกไม่มีแรง หิวง่าย และมีอาการหงุดหงิดตลอดเวลา ทำให้การใช้ชีวิตคุณแย่ลง ซึ่งไม่ใช่การรับประทานเพื่อสุขภาพแน่นอน

นอกจากการรับประทานอาหารคลีนแล้ว ก็อย่าลืมออกกำลังกายควบคู่กันไปด้วยนะคะ รวมถึงรู้จักควบคุมอารมณ์ ไม่เครียดจนเกินไป รับรองว่าคุณจะมีสุขภาพกายและใจที่ดีขึ้นอย่างแน่นอนค่า