การรักษาโรคอ้วน

1. ในกรณีมีค่า BMI มากกว่า 27 Kg/m2 หรือมีโรคแทรกซ้อนที่รุนแรง แพทย์อาจให้ยาช่วยลดน้ำหนัก ซึ่งมีอยู่ 2 กลุ่ม ได้แก่
ยาที่ทำให้รู้สึกอิ่มนานขึ้น
ยาที่ลดการดูดซึมไขมันจากอาหาร
ยาทั้งสองมีผลข้างเคียง และการใช้ยาต้องอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์

2.ในกรณีมีค่า BMI มากกว่า 35 Kg/m2 หรือมีโรคแทรกซ้อนที่รุนแรง อาจรักษาโดยการผ่าตัดให้กระเพาะอาหารเล็กลง ทำให้ผู้ป่วยกินอาหารได้น้อยลงในแต่ละมื้อ รู้สึกอิ่มเร็วขึ้น น้ำหนักจึงลดลง แต่ก็ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารไปตลอดชีวิต

สรุป ในปัจจุบันอัตราคนเป็นโรคอ้วนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสาเหตุของโรคส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมการกิน และขาดการออกกำลังกาย แต่ก็มีปัจจัยอื่น ที่สามารถส่งผลให้เป็นโรคนี้ได้เช่นกัน ในปัจจุบันมีการใช้เกณฑ์ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นตัววัดเบื้องต้นว่ามีภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกินมาตรฐานหรือไม่ โดยค่าน้ำหนักหารด้วยส่วนสูงยกกำลังสอง สำหรับการรักษาโรคอ้วนนั้น ส่วนใหญ่จะเน้นให้ควบคุมอาหาร เลือกประเภทอาหาร และออกกำลังกาย แต่สำหรับผู้ที่มีภาวะอ้วนรุนแรงหรือมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคอ้วน อาจมีการใช้ยาหรือการผ่าตัดร่วมด้วย แต่ทางที่ดีที่สุด ก็คือพยายามควบคุมน้ำหนักตัวด้วยตัวเอง ดังนั้น ในคนอ้วน หรือคนที่รู้ตัวแล้วว่าน้ำหนักกำลังมากเกินไปแล้ว ก็ต้องคอยเฝ้าระวัง ดูแลเรื่องอาหาร และหมั่นออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนักให้ดี อย่าปล่อยให้เกิดปัญหาแล้วค่อยมาแก้ไขทีหลัง